เล่มที่ 17
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาล
การบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาล

กิจกรรมของอาสาสมัครหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของวชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กทม. เพื่อบริการชุมชนผู้สูงอายุ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมของอาสาสมัครหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของวชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กทม. เพื่อบริการชุมชนผู้สูงอายุ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมของอาสาสมัครหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของวชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กทม. เพื่อบริการชุมชนผู้สูงอายุ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สวนสาธารณะเบญจสิริ บริเวณกรมอุตุนิยมวิทยาเดิม
สวนสาธารณะเบญจสิริ บริเวณกรมอุตุนิยมวิทยาเดิม

สวนสาธารณะเบญจสิริ บริเวณกรมอุตุนิยมวิทยาเดิม
สวนสาธารณะเบญจสิริ บริเวณกรมอุตุนิยมวิทยาเดิม 
การแก้ไขปัญหา

๑. ภาวะมลพิษ


ก. อากาศเสีย

            การแก้ไขปัญหาอากาศเสีย ปัจจุบันเน้นการแก้ปัญหาควันดำ และอากาศเสียจากรถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐาน สำหรับควันดำที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซล และค่ามาตรฐานสำหรับก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ไว้สำหรับควบคุมแลไม่ให้รถยนต์ปล่อยอากาศเสียเหล่านั้นเกินมาตรฐาน โดยมีกรมตำรวจและกรมการขนส่งทางบก เป็นหน่วยงานควบคุม

            การแก้ไขปัญหาให้ได้ผลอย่างจริงจังก็ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน โดยจะต้องมีความตื่นตัว และเข้าใจในปัญหา ที่เกี่ยวกับอากาศเสีย ตลอดจนทราบถึงวิธีการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เช่น ดูแลรักษา เครื่องยนต์ของรถยนต์ประเภทต่างๆ ให้อยู่ใน สภาพดี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอากาศเสียแล้ว ยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย สำหรับโรงงาน อุตสาหกรรม ก็ต้องเห็นใจผู้อาศัยข้างเคียงโดย ไม่ปล่อยอากาศเสียที่มีปริมาณความเข้มข้น ของสารมลพิษสูงเกินมาตรฐานที่กำหนดโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การปลูก ต้นไม้จะช่วยในการกรองอากาศเสียได้ ดังนั้น จึงควรร่วมมือกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใน เขตเมืองด้วย

ข. น้ำเสีย

            ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาที่แก้ไขได้หากทุกคนร่วมมือกัน โดยการไม่ลักลอบปล่อยน้ำทิ้งที่ไม่มีการบำบัด หรือลดความสกปรกของน้ำทิ้ง หรือลักลอบปล่อยสิ่งปฏิกูล หรือทิ้งมูลฝอยลงในแม่น้ำ คู คลอง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรการหลายมาตรการในอันที่จะแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เช่น การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในลำน้ำต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้ประโยชน์ ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องไปถึงการกำหนดชนิดและจำนวนของกิจการที่ตั้งอยู่บนสองข้างฝั่งลำน้ำด้วย การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร เพื่อควบคุมดูแลไม่ให้อาคาร ๑๒ ประเภท ได้แก่ อาคารชุด โรงแรม หอพัก สถานอาบอบนวด สถานพยาบาล บ้านจัดสรร โรงเรียน อาคารที่ทำการราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าตลาด ภัตตาคารหรือร้านอาหาร และแพปลาระบายน้ำทิ้งที่มีค่าเกินมาตรฐานลงสู่แหล่งน้ำโดยมีกระทรวงมหาดไทย และหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานควบคุม รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานลักษณะน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม ไว้สำหรับควบคุมไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำทิ้งเกินค่ามาตรฐานด้วย โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานควบคุม

ค. มูลฝอย

            มูลฝอยที่เกิดขึ้น จะต้องได้รับการเก็บขนออกไปจากชุมชน และนำไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังกล่าว โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องให้บริการเก็บและกำจัดมูลฝอยให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน และจะต้องมีงบประมาณ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการให้บริการ ตลอดจนจะต้องเตรียมจัดหาที่ดินสำหรับกำจัดมูลฝอยสำรองไว้ในอนาคตด้วย เนื่องจากที่ดินจะใช้กำจัดมูลฝอยนับวันจะยิ่งหาได้ยากมากขึ้น นอกจากนี้ประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือช่วยกันรักษาความสะอาดของชุมชนด้วย เช่น ไม่ทิ้งมูลฝอยลงบนถนน ทางเดินเท้า หรือในแม่น้ำ ลำคลอง หรือที่ว่างต่าง ๆ ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของบ้านเรือนและบริเวณรอบ ๆ บ้านให้สะอาด อย่าปล่อยให้สกปรกรกรุงรังช่วยกันลดปริมาณมูลฝอยที่จะต้องทิ้งออกมาโดยรู้จักใช้สิ่งของอย่างประหยัด ใช้สินค้าที่มีคุณภาพทนทาน รู้จักนำของเหลือใช้มาใช้ให้เป็นประโยชน์อีก เช่น ขวด กระดาษ พลาสติก ตลอดจนให้ความร่วมมือเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยแก่ท้องถิ่น เพื่อนำรายได้ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของบริการให้ดีขึ้น

๒. ปัญหาทางสังคม

ก. ชุมชนแออัด

            สำหรับปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งมักเกิดขึ้นในเมืองมากกว่าในชนบทนั้น หน่วยราชการหลักที่รับผิดชอบ คือ การเคหะแห่งชาติ และองค์กรท้องถิ่น (เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานครองค์กรรับผิดชอบได้แก่ กรุงเทพมหานคร) โดยการปรับปรุงทั้งในด้านกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ได้แก่ การปรับปรุงทางด้านสาธารณูปโภค เช่น ทางเท้า ทางระบายน้ำ ไฟฟ้า ประปา การจัดการขยะมูลฝอย การปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน การป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งมีโครงการต่าง ๆ เช่น การฝึกอาชีพ โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และส่งเสริมให้ประชาชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเพื่อทำหน้าที่แทนผู้อาศัยในชุมชน ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน และเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชน นอกจากนั้นการเคหะแห่งชาติยังมีการดำเนินงานในด้านความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน เช่น ขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินในการทำสัญญา ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนที่การเคหะแห่งชาติเข้าไปปรับปรุง ได้อยู่อาศัยต่อไปอย่างน้อย ๕ ปี เร่งรัดการออกฎหมายเกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติปรับปรุงชุมชนแออัด เป็นต้น

            นอกจากการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด โดยวิธีปรับปรุงทางด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นในที่ดินเดิมแล้ว ยังมีโครงการจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ สำหรับชุมชนแออัดที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยจากที่เดิม เช่น กรณีเพลิง ไหม้ ถูกไล่ที่ ถูกเวนคืนที่ดิน เป็นต้น จึงเห็น ได้ว่า การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดให้ได้ผลอย่าง จริงจัง จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

ข. การขาดแคลนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เพื่อการนันทนาการ

            ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในเขตเมืองนั้น กรุงเทพมหานครนับว่าประสบปัญหารุนแรงที่สุด อันเนื่องมาจากเป็นศูนย์กลางของประเทศในทุกๆ ด้าน เช่น การบริหารประเทศ การพาณิชย์ การศึกษา เป็นต้น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้พื้นที่ดังกล่าวที่มีอยู่เดิมคงสภาพไว้ให้มากที่สุด เช่น การเข้าไปดำเนินการในตำบลบางกะเจ้า และอีก ๕ ตำบลใกล้เคียงเนื้อที่ประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เป็นพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุด และการเพิ่มจำนวนพื้นที่ดังกล่าว รัฐมีนโยบายหากเป็นการย้ายอาคารสถานที่ออกไปจากที่ดินของรัฐ รัฐก็จะปรับปรุงบริเวณเดิมนั้นให้เป็นพื้นที่สีเขียว ดังตัวอย่างของบริเวณหน้าวัดราชนัดดาราม โดยรื้ออาคารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย แล้วปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวให้มีสวนสาธารณะรวมอยู่ด้วย สำหรับโครงการต่อๆไป เช่น บริเวณกรมอุตนิยมวิทยา ถนนสุขุมวิท เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ถนนมหาไชยบริเวณโรงงานยาสูบ บริเวณโดยรอยป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ซึ่งมีโครงการจะย้ายออกไปแล้วจัดบริเวณให้เป็นสวนสาธารณะ ทำให้ประชาชนได้มีพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อยใจเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคเอกชนนั้น หากคำนึงถึงเรื่องนี้ก็สามารถจัดพื้นที่ให้โล่งว่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

            สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้น รัฐมีแนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียว และนันทนาการทั่วทั้งประเทศ ในรูปของการจัดตั้งองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที่สีเขียวฯ และสนับสนุน โครงการทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผลต่อพื้นที่สีเขียว และพื้นที่นันทนาการของชุมชน

ค. แผ่นดินทรุด น้ำท่วม

            ปัญหาแผ่นดินทรุดเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไขโดยรีบด่วน ดังนั้น ประชาชนจึงควรให้ความร่วมมือกับทางราชการ โดยการใช้น้ำบาดาลอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาลอย่างเคร่งครัด ขณะนี้ได้มีการกำหนดมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาแผ่นดินทรุดในบริเวณเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร และเขตบางเขน เขตพระโขนง เขตบางกะปิ เขตพระประแดง และเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยให้ยกเลิกใช้พื้นดินสูงดังกล่าว และให้มีการลดการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่อื่นๆ ลงด้วย ซึ่งตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล กำหนดให้ผู้ที่จะทำ การเจาะน้ำบาดาล หรือใช้น้ำบาดาล หรือระบายน้ำลงในบ่อบาดาลจะต้องได้ รับอนุญาตจากรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม เสียก่อน ตลอดจนมีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้น้ำบาดาลด้วย
การปลูกป่าชายเลนเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม
การปลูกป่าชายเลนเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม
๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตชนบท

๑. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

            เมื่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ มีสาเหตุหลักมาจากการกระทำของมนุษย์ การแก้ไขปัญหาจึงไม่เพียงพอ แต่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน ถึงเรื่องความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาให้คงอยู่ถาวรเพื่อลูกหลานเท่านั้น หากรัฐยังต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มเนื้อที่ป่า ทั้งป่าไม้และป่าชายเลน โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และวางแนวทางยับยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรเหล่านั้น เช่น การจัดหาที่ทำกินให้ราษฎรในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม การป้องกันมิให้การทำนากุ้งมาทำลายพื้นที่ป่าชายเลน การป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษอันเกิดจากสารเคมี และจากการระบายน้ำโสโครกจากแหล่งชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ โดยมิได้ผ่านการบำบัดเสียก่อน ตลอดจนต้องให้มีการบังคับใช้มาตรการที่เด็ดขาด และมีประสิทธิภาพ ในการที่จะป้องกันการบุกรุก ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

๒. มลพิษทางด้านสารพิษทางการเกษตร

            ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านสารพิษทางการเกษตรนั้น รัฐได้ดำเนินผลให้สารพิษหลายชนิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถนำมาใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องผ่านการควบคุมจากทางการ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขการประกาศควบคุมวัตถุมีพิษเสียใหม่ โดยให้นำมาขอขึ้นทะเบียนจากทางการเสียก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรงก็มีการจัดฝึกอบรมการใช้สารพิษอย่างถูกต้องและปลอดภัย การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสารพิษแก่ประชาชนในรูปของสื่อต่าง ๆ เช่น สารคดีโทรทัศน์ โดยหวังว่าเมื่อประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว จะเป็นการช่วยลดมลพิษ ที่เกิดจากสารพิษทางการเกษตรได้อีกทางหนึ่งด้วย