เล่มที่ 17
ปอแก้วปอกระเจา
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ใบปอแก้ว
ใบปอแก้ว

ปอคิวบาใบแฉก
ปอคิวบาใบแฉก
ลัญลักษณะทางพฤกษศาสตร์ปอแก้วและปอคิวบา

            ปอแก้ว และปอคิวบามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกัน ตรงที่รูปร่าง หรือขนาดเท่านั้น ส่วนอื่นๆ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากดังนี้

๑. ระบบราก

            มีรากแก้วหยั่งลงไปในดิน ลึกประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร

๒. ลำต้น


            สูงเรียวตั้งตรง ๓-๔ เมตร ไม่แตกกิ่ง มีสีเขียว สีม่วงแดง มีสีเขียวปน แดง มีทั้งผิวเรียบ หรือมีหนาม

๓. ใบ


            เกิดสลับกันบนลำต้น สำหรับปอแก้วเป็นใบชนิดใบประกอบ (palmately com- pound) ใบหนึ่งๆ มีลักษณะแยกเป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ ส่วนปอคิวบาเป็นใบชนิดใบเดี่ยว และใบประกอบ อาจจะพบทั้งสองชนิดบนต้นเดียวกัน ขอบใบของปอแก้ว และปอคิวบา มีหยักคล้ายฟันเลื่อย

๔. ดอก


            เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก ๕ อัน สีเหลืองที่ฐานดอกมีสีม่วงและออกดอกในช่วงวันสั้น เป็นพืชผสมตัวเอง

๕. ฝัก


            มีลักษณะกลม ปอคิวบาจะมีขนมาก มีเมล็ด ๒๐-๕๐ เมล็ดต่อฝัก

๖. คุณภาพเส้นใย


            ปอคิวบาจะให้คุณภาพ เส้นใยดีกว่าปอแก้ว ปอทั้งสองชนิดนี้ ในต้นหนึ่งๆ จะให้ปริมาณเส้นใย ประมาณร้อยละ ๔-๖

๗. สภาพพื้นที่


            ปอคิวบามีความทนต่อความแห้งแล้งได้น้อยกว่าปอแก้ว แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำขัง และทนต่อการระบาดของโรคและแมลงได้น้อยกว่าปอแก้ว

๘. อายุการเก็บเกี่ยว


            เมื่อปอออกดอก ประมาณร้อยละ ๕๐ ของลำต้น (๑๕๐-๑๖๐ วัน)