เล่มที่ 18
ภาษาและอักษรไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
อักษรไทยอื่นๆ

            ในสมัยอยุธยา มีการเรียนการสอนภาษาไทย ดังเห็นได้จากมีตำราสอนอ่านและเขียนภาษาไทยเกิดขึ้น ชื่อว่า จินดามณี คนไทยนิยม แต่งโคลงกลอน (และแต่งตำราต่างๆ) ในยุคโน้นคนมีโอกาสเขียนหนังสือ การเขียน คงแพร่หลายมากกว่ายุคสุโขทัย และเป็นการเขียนด้วยมือ ตัวหนังสือจึงพัฒนาเปลี่ยนไปมาก และมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวเขียนในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของการเขียนตัวอักษรเท่านั้น ส่วนระบบการเขียนยังคงเดิม

นอกจากอักษรไทยที่สืบทอดมาจากสุโขทัยที่กล่าวมาแล้ว ในเมืองไทย ยังมีตัวอักษรพื้นเมืองอื่นๆ ที่รู้จักกันอีกคือ ตัวอักษรฝัก ขาม และตัวอักษรพื้นเมืองล้านนา ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ใช้เขียนอ่านในชีวิตประจำวันแล้ว

            ตัวอักษรที่เราใช้เขียนในราชการ ในโรงเรียน และในการสื่อสารทั่วๆ ไป ในปัจจุบันเป็นตัวเขียนมีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากลายสือไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น ที่เราได้เห็นในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จาก "การจารึก" บนแผ่นศิลา มาสู่การเขียนด้วยมือ และในปัจจุบันนอกจากการเขียนแล้ว เรายัง "พิมพ์" ภาษาไทยด้วยพิมพ์ดีด และด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย รูปร่างลักษณะของตัวหนังสือไทยได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา และเทคโนโลยีของแต่ละยุค เช่นเดียวกับคนไทยที่เปลี่ยนลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ไปตามกาลเวลา และสภาพแวดล้อม