เล่มที่ 18
การเลี้ยงหมู
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การเลี้ยงและการดูแลหมูในระยะต่างๆ

            การเลี้ยงหมูจะประสบความสำเร็จ ถ้าเอาใจใส่เรื่องการเลี้ยง และการดูแลหมูอย่างถูกต้อง แม้ผู้เลี้ยงจะมีหมูพันธุ์ดีก็ตาม แต่ถ้าละเลยในสิ่งเหล่านี้แล้ว ปัญหาต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น พ่อหมูผสมไม่เก่ง ผสมติดน้อย แม่หมูคลอดลูกยาก ลูกหมูป่วยเป็นโรคท้องเสีย และมีอัตราการตายสูง เป็นต้น

การเลี้ยงและการดูแลหมูพ่อพันธุ์

            หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ได้ดี ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีขนาดและอายุที่พอเหมาะ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำเชื้อที่มีคุณภาพดีพอเพียง มีผลทำให้การผสมติดสูง และได้จำนวนลูกมากเป็นปกติ แม้ว่าหมูตัวผู้สามารถผลิตอสุจิได้บ้างแล้ว เมื่อมีอายุย่างเข้า ๔ เดือนก็ตาม แต่จำนวนน้ำเชื้อ และอสุจิที่ผลิตได้ จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อหมูมีอายุมากขึ้น ดังนั้น หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ ควรมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่จะผสมกับแม่หมูที่มีขนาดปกติได้ โดยปกติมักใช้ผสมพันธุ์ ได้เมื่อมีอายุราว ๘ เดือน และมีน้ำหนักประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลกรัม สำหรับหมูพ่อพันธุ์ต่างประเทศ ควรมีน้ำหนักราว ๑๑๕ กิโลกรัม

            การเลี้ยงหมูพ่อพันธุ์ ปกติให้อาหารวันละมื้อ พ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วน ควรให้ออกกำลังบ้าง หรือลดอาหาร และให้อาหารหยาบมากขึ้น

            หมูพ่อพันธุ์ถ้าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากผู้เลี้ยง จะสามารถใช้งานได้หลายปี โดยไม่มีข้อบกพร่อง แม้จะใช้ผสมพันธุ์วันละสองครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่ควรใช้งานมากเกินไป เพราะการผสมบ่อยๆ หรือติดๆ กัน จะทำให้จำนวนอสุจิลดน้อยลง และอาจมีอสุจิตัวอ่อนที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้นหลังจากฤดูผสมพันธุ์ ควรจะให้ตัวผู้ได้พักผ่อน และออกกำลังกาย โดยปล่อยในทุ่งหญ้า

การเลี้ยงและการดูแลหมูแม่พันธุ์

            หมูสาวเจริญเติบโตในลักษณะเช่นเดียวกันกับหมูหนุ่ม เมื่อมีอายุมากขึ้น ปริมาณของไข่ที่ตกจากรังไข่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณลูกที่คลอดมีจำนวนมาก จนกระทั่งแม่หมูมีอายุประมาณ ๑๕ เดือน ปริมาณไข่ที่ตกก็จะคงที่ โดยปกติจะผสมพันธุ์หมูสาว เมื่อมีอายุได้ราว ๗-๘ เดือน หรือน้ำหนักราว ๑๑๐-๑๑๕ กิโลกรัม (สำหรับหมูพันธุ์พื้นเมืองประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของหมูพันธุ์พื้นเมืองด้วย) การผสมพันธุ์แม่หมูที่มีขนาดเล็ก หรือมีอายุน้อยอยู่ จะทำให้อายุการใช้งานของแม่หมูตัวนั้นสั้นลง และจำนวนลูกที่ได้ก็น้อยด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการตกไข่จากรังไข่มีน้อย

            การผสมพันธุ์แม่หมู ควรกะเวลาให้พอดี กับระยะการตกไข่ เพราะจะทำให้ได้ผลดีกว่าการผสมในเวลาอื่น แม่หมูส่วนใหญ่จะกลับเป็นสัด อีกภายใน ๓-๗ วัน หลังการหย่านม แม่หมู แสดงการเป็นสัดนานประมาณ ๔๘-๗๒ ชั่วโมง (หมูสาวนานประมาณ ๓๖-๖๐ ชั่วโมง) การตกไข่เกิดขึ้นประมาณช่วงกลางๆ ของการเป็นสัด แต่ไข่จะไม่ตกพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด การผสมหมูสาว หรือแม่หม ูควรผสมซ้ำ หรือผสมครั้งที่สอง โดยทิ้งระยะให้ห่างจากครั้งที่หนึ่งประมาณ ๑๒ ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ปกติการผสมพันธุ์หมูมักทำในตอนเช้าและเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน ไม่ควรผสมพันธุ์หมูขณะที่ป่วย หรือหลังการฉีดวัคซีนใหม่ๆ วิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้การผสมพันธุ์ได้ผลดีขึ้น และเพิ่มลูกต่อครอกให้มากขึ้น

            ข้อแนะนำระหว่างการผสมพันธุ์หมูคือ ควรให้อาหารแม่หมู และหมูสาวให้มากขึ้น เนื่องด้วยเหตุผลสองประการคือ

ประการแรก

            เนื่องจากแม่หมูผสมพันธุ์ครั้งใหม่หลังการหย่านมในช่วงเวลาสั้น หมูยังอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ

ประการที่สอง

            เนื่องจากระหว่างการให้นม แม่หมูส่วนใหญ่สูญเสียน้ำหนักไปมาก การให้อาหารเพิ่มขึ้น จะช่วยให้แม่หมูอยู่ในสภาพที่เหมาะสำหรับการให้นมครั้งต่อไป

การผสมพันธุ์ของหมู

การเลี้ยงและการดูแลแม่หมูระหว่างการอุ้มท้อง

            หมูตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ หรือผสมไม่ได้ผล จะกลับเป็นสัดอีกระหว่างทุกๆ ๑๘-๒๔ วัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ ๒๑ วัน แต่ถ้าผสมได้ผล ก็จะไม่กลับเป็นสัดอีกเลย ตลอดการอุ้มท้อง เมื่อหมูตัวเมียได้รับการผสมแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มมากขึ้นอีก การเลี้ยงดูในช่วงนี้ควรปฏิบัติดังนี้

๑. การจัดคอกสำหรับแม่หมู

            ระยะที่แม่หมูอุ้มท้องควรแยกมาเลี้ยงในคอกขังเดี่ยว เพราะนอกจากจะควบคุมการให้อาหารได้แล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทกับหมูตัวอื่น ซึ่งอาจทำให้แม่หมูแท้งลูกได้

๒. การให้อาหาร

            ๒.๑ ช่วงอุ้มท้องระยะต้น ตั้งแต่เริ่มผสมพันธุ์จนถึงอุ้มท้องได้ ๘๔ วัน ในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารมากนัก เพราะลูกในท้องเติบโตช้ามาก ควรให้กินประมาณตัวละ ๑.๕-๑.๘ กิโลกรัมต่อวัน ก็พอเพียงแล้ว สำหรับหมูพันธุ์พื้นเมือง ก็ต้องลดลงตามส่วน ๒.๒ ช่วงอุ้มท้องระยะหลัง (อุ้มท้อง ๘๔-๑๐๔ วัน) ในช่วงนี้ลูกหมูในท้อง มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก ต้องการอาหารมาก จำเป็นต้องเพิ่มอาหารให้แก่แม่หมู เป็นวันละ ๒.๕-๓ กิโลกรัมต่อวัน (ประมาณร้อยละ ๒.๕ ของ น้ำหนักตัว) ๓. ตรวจการตั้งท้อง หลังจากวันผสมพันธุ์ประมาณ ๒๑ วัน และ ๔๒ วัน ควรตรวจดูการเป็นสัดของหมูตัวเมีย หากหมูไม่แสดงอาการเป็นสัด ก็อาจกล่าวได้ว่า หมูผสมติดและตั้งท้อง แต่ถ้าหมูแสดงอาการเป็นสัดอีก ก็ให้ผสมพันธุ์หมูตัวนั้นใหม่ หมูตัวใดผสมแล้ว ยังไม่ตั้งท้องติดต่อกัน ๓ ครั้ง ให้คัดหมูตัวนั้นออกจากฝูง เพื่อจำหน่ายต่อไป ๔. อุณหภูมิ ภายในโรงเรือนควรรักษาอุณหภูมิให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากประเทศเราเป็นประเทศเมืองร้อน แล
มท้องระยะต้น ตั้งแต่เริ่มผสมพันธุ์จนถึงอุ้มท้องได้ ๘๔ วัน ในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารมากนัก เพราะลูกในท้องเติบโตช้ามาก ควรให้กินประมาณตัวละ ๑.๕-๑.๘ กิโลกรัมต่อวัน ก็พอเพียงแล้ว สำหรับหมูพันธุ์พื้นเมือง ก็ต้องลดลงตามส่วน



            ๒.๒ ช่วงอุ้มท้องระยะหลัง (อุ้มท้อง ๘๔-๑๐๔ วัน) ในช่วงนี้ลูกหมูในท้อง มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก ต้องการอาหารมาก จำเป็นต้องเพิ่มอาหารให้แก่แม่หมู เป็นวันละ ๒.๕-๓ กิโลกรัมต่อวัน (ประมาณร้อยละ ๒.๕ ของ น้ำหนักตัว)



๓. ตรวจการตั้งท้อง



            หลังจากวันผสมพันธุ์ประมาณ ๒๑ วัน และ ๔๒ วัน ควรตรวจดูการเป็นสัดของหมูตัวเมีย หากหมูไม่แสดงอาการเป็นสัด ก็อาจกล่าวได้ว่า หมูผสมติดและตั้งท้อง แต่ถ้าหมูแสดงอาการเป็นสัดอีก ก็ให้ผสมพันธุ์หมูตัวนั้นใหม่ หมูตัวใดผสมแล้ว ยังไม่ตั้งท้องติดต่อกัน ๓ ครั้ง ให้คัดหมูตัวนั้นออกจากฝูง เพื่อจำหน่ายต่อไป



๔. อุณหภูมิ



            ภายในโรงเรือนควรรักษาอุณหภูมิให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากประเทศเราเป็นประเทศเมืองร้อน แล


            ๒.๒ ช่วงอุ้มท้องระยะหลัง (อุ้มท้อง ๘๔-๑๐๔ วัน) ในช่วงนี้ลูกหมูในท้อง มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก ต้องการอาหารมาก จำเป็นต้องเพิ่มอาหารให้แก่แม่หมู เป็นวันละ ๒.๕-๓ กิโลกรัมต่อวัน (ประมาณร้อยละ ๒.๕ ของ น้ำหนักตัว)

๓. ตรวจการตั้งท้อง

            หลังจากวันผสมพันธุ์ประมาณ ๒๑ วัน และ ๔๒ วัน ควรตรวจดูการเป็นสัดของหมูตัวเมีย หากหมูไม่แสดงอาการเป็นสัด ก็อาจกล่าวได้ว่า หมูผสมติดและตั้งท้อง แต่ถ้าหมูแสดงอาการเป็นสัดอีก ก็ให้ผสมพันธุ์หมูตัวนั้นใหม่ หมูตัวใดผสมแล้ว ยังไม่ตั้งท้องติดต่อกัน ๓ ครั้ง ให้คัดหมูตัวนั้นออกจากฝูง เพื่อจำหน่ายต่อไป

๔. อุณหภูมิ

            ภายในโรงเรือนควรรักษาอุณหภูมิให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากประเทศเราเป็นประเทศเมืองร้อน และจากผลการวิจัยปรากฏว่า หากให้หมูอยู่ในที่ร้อนอบอ้าวติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้หมูให้ลูกน้อยตัว นอกจากนี้ความต้องการผสมพันธุ์ และจำนวนเชื้ออสุจิของพ่อหมู ก็ลดลงไปด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับหมูในช่วงนี้คือ ระหว่าง ๑๖-๑๙ องศาเซลเซียส

การพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณคอกคลอด
วัสดุและอุปกรณ์เพื่อใช้คลอดของแม่หมู
๑. อุปกรณ์ทำคลอด

วัสดุและอุปกรณ์เพื่อใช้คลอดของแม่หมู
๒. ฟางข้าวให้ความอบอุ่น

การเลี้ยงดูแม่หมูก่อนคลอด ระหว่างคลอด และระหว่างการให้นม

ช่วงระยะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และ ระยะ ๒-๓ วัน ของการให้นม เป็นช่วงที่มีความสำคัญมากช่วงหนึ่งของการเลี้ยงดูหมู ถ้าการเลี้ยงดูในระหว่างช่วงนี้ไม่ดีพอ ก็จะสูญเสียลูกหมูไป โดยไม่จำเป็น

การเลี้ยงดูแม่หมูก่อนคลอด

ควรปฏิบัติ ดังนี้

            ๑. การทำความสะอาดคอกคลอด ควรทำความสะอาดไว้ล่วงหน้าให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำแม่หมูเข้าคอกคลอด ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หรือนานกว่านี้ก็ได้ เพื่อลดโอกาสที่โรคและพยาธิจะ เกิดขึ้นให้มีได้น้อยที่สุด ซึ่งโรคและพยาธินี้จะ ติดต่อถึงลูกได้มาก เนื่องจากลูกหมูพยายามหา ทางไปกินนมจากแม่ภายหลังที่คลอดได้ไม่กี่นาที ลูกหมูจึงอาจติดโรคและพยาธิเหล่านี้ได้จากคอก ที่สกปรก การทำความสะอาดคอกคลอด จะใช้ผงซักฟอก หรือโซดาไฟล้างก็ได้ แล้วใช้น้ำสะอาดล้างให้ทั่วอีกครั้ง เมื่อคอกแห้งแล้ว จึงใช้ยาฆ่าเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ เจือจางตามคำแนะนำ แล้วพ่นให้ทั่วบริเวณคอก

            ๒. การถ่ายพยาธิแม่หมู ก่อนถึงกำหนดคลอด ๗-๑๔ วัน ควรถ่ายพยาธิแม่หมู โดยเฉพาะหมูที่เลี้ยงแบบปล่อยลงแปลง หรือเลี้ยงในคอกที่มีพื้นเป็นดิน วิธีการใช้ยาถ่ายพยาธิให้ดูจากฉลากที่ติดมากับยาชนิดนั้นๆ

            ๓. การทำความสะอาดแม่หมู ปกติทั้งแม่หมู และหมูสาว จะอุ้มท้องนานประมาณ ๑๑๔ วัน เมื่ออุ้มท้องได้ ๑๐๙ วัน ควรย้ายหมูเหล่านั้นไป ยังคอกคลอด อาบน้ำด้วยสบู่ ใช้แปรงที่มีขนแข็ง ถูให้ทั่วบริเวณร่างกาย โดยเฉพาะตามพื้นท้อง ลำตัว และบริเวณเต้านม วิธีนี้จะกำจัดไข่พยาธิ และสิ่งสกปรกที่ติดมากับตัวหมูออกไป

            ๔. การให้อาหารและน้ำแม่หมู อาหารที่ให้แม่หมูในช่วงก่อนคลอดนี้ ควรจะเป็นอาหาร ช่วยระบายอย่างอ่อนๆ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการท้องผูกของแม่หมู ช่วงนี้ผู้เลี้ยงอาจเพิ่มอาหารที่มีเยื่อใยสูงลงในอาหารแม่หมูได้ รำข้าว หรือจะให้หญ้าสด เช่น หญ้าขน ก็ได้

การดูแลแม่หมูระหว่างคลอด

ควรปฏิบัติดังนี้

            ๑. การจัดเตรียมวัดสุรองพื้นสำหรับลูกหมู ควรจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า ก่อนแม่หมูจะคลอดหนึ่งวัน หรือสองวัน วัดสุที่รองพื้นที่ควรจัดเตรียมไว้ ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือกระสอบที่สะอาดและแห้ง วัสดุรองพื้นช่วยป้องกันขาและเต้านมของลูกหมู ที่เพิ่งคลอด ไม่ให้ได้รับอันตรายจากพื้นคอกที่หยาบ แข็ง และยังช่วยให้ความอบอุ่นแก่ลูกหมูอีกด้วย

            ๒. การจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฐมพยาบาลลูกหมูที่คลอดออกมา เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไว้ระหว่างหมูกำลังคลอด มีดังนี้

            ๒.๑ ผ้าแห้งที่สะอาด ๒-๓ ผืน สำหรับเช็ดตัวลูกหมูที่คลอดออกมาใหม่ๆ
            ๒.๒ คีม สำหรับตัดเขี้ยวและหางลูกหมู
            ๒.๓ ด้ายผูกสายสะดือ

            ๓. การให้อาหารแม่หมู ถ้าเป็นไปได้ช่วงก่อนคลอด ๑๒ ชั่วโมง และหลังคลอดอีก ๑๒ ชั่วโมง ไม่ต้องให้อาหารเลย นอกจากน้ำสะอาดอย่างเดียว

            ๔. การช่วยเหลือลูกหมู เมื่อคลอด ลูกหมูเมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ ควรจะช่วยทำความสะอาด เช็ดร่างกายลูกหมูให้แห้ง ด้วยผ้าแห้งที่สะอาด เอาเยื่อบางๆ ที่ห่อหุ้มตัวลูกหมูออก โดยเฉพาะเยื่อที่หุ้มส่วนจมูกและปาก ควรเช็ด และล้วงเสมหะออกจากปากเสียก่อนโดยเร็ว หลังคลอดไม่ควรขังลูกหมูไว้ ควรปล่อยให้กินนมได้เลย น้ำนมแม่เมื่อแรกคลอด (colostrum) นี้ มีประโยชน์ต่อลูกหมูมาก และจะมีอยู่เพียง ๒-๓ วันหลังคลอดเท่านั้น

การเลี้ยงดูแม่หมูระหว่างการให้นม

ควร ปฏิบัติดังนี้

            ๑. ควรให้อาหารเดิมแก่แม่หมู (อาหารที่ให้แม่หมูตอนใกล้คลอด) ภายหลังคลอดต่อไปอีก ประมาณ ๓ - ๕ วัน จึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่

            ๒. อาหารสูตรใหม่ที่ให้แก่แม่หมูระหว่างการให้น้ำนม ควรมีโปรตีน และพลังงาน ไม่น้อยกว่าในอาหารสำหรับแม่หมูระหว่างการอุ้มท้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม

            ๓. การให้อาหารควรเริ่มให้แต่น้อย วันถัดไปค่อยเพิ่มจำนวนอาหารที่ให้กินมากขึ้นไปเรื่อยๆ เท่าที่แม่หมูจะสามารถกินได้ เช่น แม่หมูมีลูก ๑๐ ตัว อาหารที่ให้แม่หมูกินเต็มที่ประมาณ ๕ กิโลกรัม

            ๔. การเพิ่มอาหารให้แม่หมูกินเร็วเกินไป อาจทำให้ลูกหมูเกิดขี้ขาวได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ผู้เลี้ยงควรลดจำนวนอาหารที่ให้หมูลง


การใช้หลอดไฟในการให้ความอบอุ่นแก่ลูกหมูเกิดใหม่

ใช้ยาฆ่าเชื้อเช็ดสายสะดือที่ตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ