กรุงเทพมหานคร คือ ราชธานี (เมืองหลวง) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นบนฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้มีพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลาย่ำรุ่ง ๔๕ นาที (๐๖.๔๕ น.) เมืองใหม่นี้พระราชทานนามว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศนมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" (ถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนเป็น "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯลฯ")
| ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตรงข้ามกับโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย |
ปรากฏหลักฐานตามประวัติศาสตร์ว่า เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ นี้อาณาเขตของกรุงเทพฯ ยังมิได้กว้างขวางเหมือนทุกวันนี้ คงมีพื้นที่เพียงเฉพาะในเขตกำแพงเมืองเท่านั้น กล่าวคือ มีกำแพงเมืองยาวประมาร ๗ กิโลมตร ทางด้านทิศตะวันออกเลียบตามแนวคูเมือง แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางลำพูมาทุลุออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านทิศใต้ตรงปากคลองใกล้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเรียกว่า คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง
ส่วนทางด้านตะวันตกนั้น คงใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมือง แต่มิได้สร้างกำแพงเมืองเหมือนทางด้านตะวันออก รายรอบบริเวณกำแพงเมือง และริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น มีป้อมอยู่ถึง ๑๔ ป้อม เพื่อป้องกันข้าศึก พร้อมทั้งมีประตูเมืองขนาดใหญ่รวม ๑๖ ประตู และประตูเมืองขนาดเล็กสำหรับเป็นทางผ่านเข้าออกของประชาชนที่เรียกกันว่า ช่องกุด อีก ๔๗ ประตู ซึ่งทุกวันนี้ป้อม และแนวกำแพงเมืองถูก |