การปรับปรุงคุณภาพไม้ แต่ก่อนมา ตลาดไม้เมืองไทยรู้จักไม้อยู่เพียงไม่กี่ชนิด ที่สำคัญก็มีสัก ประดู่ แดง เต็ง รัง ตะเคียน เคี่ยม และหลุมพอ ไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่ง่ายต่อการเลื่อย ผ่า และไสกบตกแต่ง มีความแข็งแรงและทนทานตามธรรมชาติสูง หดตัวไม่มาก จึงไม่ค่อยแตกร้าว หรือบิดงอ เกิดความเสียหายในสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ไม้สอยโดยทั่วๆ ไป ดังนั้น ความจำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพไม้ให้ดีขึ้น จึงไม่ค่อยมี หากมีผู้คิดริเริ่มดำเนินการขึ้นบ้างก็มักขาดการสนับสนุน เนื่องจาก คนไม่ไว้ใจในประสิทธิภาพ และไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อันเนื่องมาจากการปรับปรุงนั้น แต่บัดนี้ ปริมาณไม้ที่ตลาดต้องการมีมากขึ้น ในขณะที่ไม้ดีมีค่าจากป่ามีน้อยลง จำเป็นต้องใช้ไม้ที่มีคุณสมบัติรองๆ ลงไป การปรับปรุงคุณภาพไม้จึงค่อยมีความสำคัญขึ้นมา
การปรับปรุงคุณภาพไม้นั้น เราอาจทำได้ทั้งในด้านสี ความแข็งแรง การหด การพองตัว รวมถึงความทนทาน การย้อมสี เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งทำไม้ที่มีสีจาง เช่น กระพี้ไม้ มีสีสวยงามขึ้นได้อย่างกว้างขวาง น้ำยาอาบไม้บางอย่าง ก็มีผลทำให้ไม้มีสีสวยงามขึ้นได้ไม่น้อย ปัญหานี้ได้มีการศึกษา และปฏิบัติกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย | |||
แปลงทดลองความทนทานตามธรรมชาติของไม้ ที่สถานีวนกรรมเขาช่องจังหวัดตรัง | การอัดพลาสติก เป็นวิธีที่ทำให้ความแข็งแรง และทนทานของไม้ดีขึ้นได้ วิธีการ คือ เราอัดสารที่เป็นพลาสติกเข้าไปในไม้ตั้งแต่เมื่อสารนั้นยังอยู่ในสภาพของของเหลว แล้วจึงทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก ซึ่งเป็นของแข็งในภายหลัง ทั้งนี้อาจทำได้ โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมี หรือฉายรังสี ไม้ที่อัดพลาสติกแล้ว อาจไสกบตกแต่งได้อย่างไม้ธรรมดา | ||
การอัดไม้ด้วยความร้อน ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็ก เข้าและคงรูปอยู่ได้ภายหลังการอัด วิธีนี้ทำให้เราสามารถปรับปรุงไม้ที่เบาๆ ให้เป็นไม้หนักขึ้นได้ ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้นได้ ตามส่วน การอัดไม้ให้มีความถ่วงจำเพาะ ๑.๒-๑.๓ (เปรียบเทียบกับความถ่วงจำเพาะของไม้แท้ๆ ๑.๕๔) สามารถทำได้โดยง่าย | |||
สภาพแวดล้อมและตัวการทำอันตรายไม้ ๑. ในร่ม ๒. กลางแจ้ง ๓. ที่ชื้นแฉะ ๔. ในน้ำ ๔.๑ ในน้ำจืด ๔.๒ ในน้ำเค็ม ๕. ในดิน ๕.๑ ในดินลึก ๕.๒ ในดินใต้ระดับน้ำ | |||
การอบหรือนึ่งไม้ที่อุณหภูมิสูงๆ ทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภท ซึ่งดูดคายน้ำได้มากสลายตัว จึงมีผลทำให้การพอง และหดตัวของไม้ลดลงไปด้วย จัดได้ว่าเป็นวิธีปรับปรุงคุณภาพไม้วิธีหนึ่ง การอบหรือผึ่ง เป็นวิธีทำให้ไม้แห้ง ได้ความชื้นสมดุลกับความชื้นในอากาศเสียก่อน เพื่อป้องกันการหดตัวของไม้ในภายหลังได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำได้ไม่ยาก และในปริมาณครั้งละมากๆ ในการอบ หรือผึ่งต้องกองไม้ให้โปร่ง ทำให้อากาศในกองไม้ถ่ายเทได้สะดวก การผึ่ง (ผึ่งในอากาศ) ปกติไม้แห้งช้า ต้องเสียเวลานาน เวลาใดอากาศแห้ง ไม้ก็แห้งเร็ว ถ้าอากาศชื้นดังเช่นในฤดูฝน ไม้ก็แห้งช้า เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จึงได้มีการคิดเตาอบขึ้นใช้ ในเตาอบเราอาจบังคับควบคุมให้อากาศร้อนเย็น แห้ง หรือชื้นได้ ตามที่ต้องการ จึงสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็ว เท่าที่จะไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัวไม่เท่ากันดังกล่าวมาแล้ว การกองไม้ โดยกองให้กองไม้นั้นโปร่งไม่ชิดกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดราที่ทำให้ไม้เสียสี และทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของไม้ที่เป็นกระพี้ หรือไม้ที่ไม่ทนทานโดยทั่วๆ ไป หากกองชิดกันในระยะที่แปรรูปออกมาสดๆ เพียงวันสองวัน จะเกิดราขึ้นเต็ม บางทีทำให้ไม้ติดกันเป็นตับ ถ้าไม่แยกผึ่งให้ทันท่วงที อาจเสียหายถึงกับใช้การไม่ได้ตลอดไป |
การแช่น้ำ ถ้าแช่น้ำเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้สารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีในไม้ สลายตัวไป ภายหลังเมื่อนำไม้ มาใช้งาน แม้จะมีส่วนที่เป็นกระพี้ติดอยู่ด้วย ก็จะไม่มีมอดเข้ารบกวน | ไม้อาบน้ำยาก่อนนำเข้าอบ (ภาพถ่ายเป็นภาพภายในเครื่องอาบน้ำยา) |
การอาบน้ำยา ทำให้ไม้มีประสิทธิภาพในด้านความทนทานสูงขึ้นได้อย่างกว้างขวาง สามารถทนทานต่อรา มอด ปลวก รวมทั้งเพรียงในทะเล ทั้งนี้เพราะน้ำยานั้น มีหลายประเภท ทั้งที่เป็นพวกน้ำมัน เช่น ครีโอโสต และพวกเกลือละลายน้ำ เช่น เกลือของ สารหนู ทองแดง ปริมาณที่อาบ อาจบังคับให้มากน้อยตามความจำเป็น และตามสภาพที่จะนำไปใช้งาน โดยวิธีทา จุ่ม แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไป ด้วยแรงอัดสูง |
ไม้แช่น้ำยา | วิธีอัดน้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เมื่อนำไม้เข้าท่อปิดฝาสนิทแล้ว ต้องดูดอากาศในไม้ และในท่อออกเสียก่อน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป และเพิ่มความกดของอากาศในหม้อให้สูงขึ้น ถึงระดับที่ต้องการ รักษาความกดดัน ที่ระดับนั้นไว้ชั่วระยะหนึ่ง แล้วจึงลดความดัน และเปิดท่อนำไม้ออกมาได้ |
ไม้ที่อาบน้ำยาแล้วนี้ จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ ธรรมชาติถึงเท่าตัวหรือหลายๆ เท่า เช่น ไม้ปออีเก้ง ที่กล่าวว่าทนทานไม่เกิน ๖ เดือนนั้น เมื่ออาบน้ำยาแล้ว ทนทานได้ถึง ๑๓ ปี |