การเก็บหวายนั้น ปกติทำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแดดพอ ที่จะตากหวายให้แห้งในเวลาอันควร มิฉะนั้นแล้วอาจ เกิดรา ทำให้หวายเสื่อมคุณภาพ หวายที่ทำออก จำหน่ายในตลาด มีทั้งหวายกลมและหวายซีก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้
เถาวัลย์และปอ
เป็นผลิตผลจากป่าที่นำมาใช้เป็นเครื่องผูกมัด หรืองานจักสาน แต่ก่อนมา เถาวัลย์และปอมีความสำคัญในการก่อสร้างบ้านเรือน ผูกร่างร้าน และมัดสิ่งของ เถาวัลย์บางชนิดมีความแข็งแรงและทนทาน นำมาตีเกลียวเป็นเชือกผูกล่ามสัตว์ ตากแดดฝนได้ทนทานถาวร เถาที่มีคุณภาพดี มักเป็นเถาที่เลื้อย หรือเกี่ยวพันอยู่ในที่ร่ม ไม่มีใบ เถาวัลย์ซึ่งอยู่ในที่แจ้ง มักไม่ทอดยาวและเปราะ เช่นเดียวกับส่วนของเถาที่ได้รับแสงสว่างมีใบ และมีลำต้นเขียว
ปอ
หมายถึง ใยเปลือกชั้นในๆ ของไม้หลายชนิด ซึ่งสามารถลอกเปลือกได้เป็นแถบยาวๆ และเหนียว ไม้ทีให้เปลือกในลักษณะเช่นนี้ มักเรียกว่าปอไปด้วย เช่น ปอแดง ปอเลียง ปอหูช้าง ฯลฯ ปอใช้ในงานผูกมัด เป็นส่วนใหญ่ มีบางชนิดใช้ในงานจักสานได้สวยงาม
เวลานี้แม้ว่าเถาวัลย์และปอจะมีใช้ไม่แพร่หลาย ในบ้านเมือง แต่ก็ยังมีความสำคัญต่อชีวิตคนในชนบท อยู่ไม่น้อย
ใบลาน
ได้จากยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่บานของต้นลาน ซึ่งมีลักษณะต้น ใบ ใกล้เคียงกับต้นตาล ผิดกับต้นตาลตรงที่ว่า ดอกลานเป็นช่อใหญ่พุ่งสูงขี้นไป และเมื่อใดออกดอกออกผลแล้ว ลานต้นนั้นจะตาย ในปีหนึ่งๆ ลานจะแตกใบใหม่ประมาณ ๕-๗ ใบ การตัดยอดจึงต้องแบ่งตัด ปล่อยให้ส่วนที่เหลือเจริญเป็นใบที่สมบูรณ์ เพื่อทำหน้าที่ปรุงอาหารหล่อเลี้ยงลำต้นบ้าง ยอดที่ตัดแล้ว ต้องนำมาคลี่และตากให้แห้งโดยเร็ว มิฉะนั้นจะขึ้นรา ทำให้เสื่อมคุณภาพเหมือนกัน จากนั้นจึงจะตัดแต่ง หรือจักให้ได้ขนาดที่จะนำไปใช้งานจักสาน หรือพิมพ์เขียนหนังสือต่อไป
แม้ว่าบัดนี้การพิมพ์ การเขียนหนังสือเราใช้ กระดาษ แต่ในสมัยโบราณ การพิมพ์การเขียนส่วนใหญ่ ใช้ใบลาน พระไตรปิฎกในพุทธศาสนาซึ่งมีการจารึก ลงเป็นอักษรครั้งแรกที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ นั้น ใช้บันทึกลงในใบลาน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไม ปัจจุบันนี้ เวลาพระเทศน์พระธรรมเทศนาจึงยังต้องทำ เสมือนอ่านข้อความจากมัดใบลาน ไม่ใช้หนังสือ
น้ำมันยาง
มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของชาติไทยมาแต่โบราณ เมื่อใช้ผสมกับผงชันก็ใช้ยาเรือ หรือเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้ไผ่ ให้กลายเป็นภาชนะที่กักเก็บ หรือตักน้ำได้เป็นอย่างดี ที่พระร่วงสามารถเนรมิตชะลอมตักน้ำส่งส่วยขอมได้ตามเรื่องเล่าต่อๆ กันมา ก็เชื่อว่า ได้น้ำมันยางเป็นอุปกรณ์สำคัญ อนึ่ง กากน้ำมันซึ่งเป็นตะกอนเหนียวนั้น นำมาคลุกกับไม้ผุ หรือเปลือกไม้ทำเป็นไต้ ใช้เป็นคบเพลิงเดินทางในเวลาค่ำคืน หรือใช้ก่อไฟในที่ยังต้องใช้ฟืนและถ่านอยู่
น้ำมันยางเจาะได้จากไม้สกุลยางหลายชนิด รวม ทั้งไม้ที่เรียกว่า สะแบง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเจาะเป็นหลุมลึกลงไปในเนื้อไม้ตอนโคนๆ ต้น ที่ก้นหลุมทำให้เป็นเป็นแอ่ง เพื่อเป็นที่พักน้ำมันไปในตัว การเผาหลุมที่เจาะจะช่วยให้น้ำมันออกมากและเร็วขึ้น จากนั้นก็คอยมาเก็บตักเอาน้ำมันเป็นระยะๆ น้ำมันที่ได้ อาจนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องแปรรูปอีก
ยางสน
ได้จากไม้พวกสนเขา เก็บหาได้โดยการเจาะลำต้นเช่นเดียวกับไม้ยาง แต่มักใช้วิธีติดรางลิ้นรองยางให้ไหลมาเก็บที่ภาชนะรองรับ ทำการเก็บทุกๆ ระยะ ๗ วัน พร้อมกับเจาะไม้ให้สูงขึ้นไปทีละน้อยๆ ตามปกติสนให้ยางมากที่ สุดในฤดูร้อน
การกลั่นน้ำมันสน
ยางสนที่ได้ต้องนำมากลั่นเสียก่อน แยกได้เป็น ชันสนและน้ำมันสนยางที่เก็บมาใหม่ๆ จะได้ชัน ประมาณร้อยละ ๗๒ น้ำมันร้อยละ ๑๙ ที่เหลือเป็นกาก และน้ำมันสนมีสรรพคุณทางยา ใช้นวดแก้ขัดยอก เมื่อยขบ และเป็นตัวทำลายที่ดี ใช้ในอุตสาหกรรม ต่างๆ ชันสนใช้เป็นยากันซึมในอุตสาหกรรมกระดาษ และใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลาย ชนิดที่น่าสังเกต คือ บรรดาเครื่องดนตรีประเภท เครื่องสายที่ต้องใช้คันชัก รวมทั้งดนตรีไทยและสากล ต้องอาศัยชันสนเป็นสื่อในการเสียดสี ถ้าไม่มีชันสน แล้ว เครื่องดนตรีเหล่านี้จะไม่มีเสียง
การเก็บหายางเยลูตง
ยางเยลูตง
ได้จากไม้เยลูตง หรือตีนเป็ดแดง โดยการสับ หรือกรีดเปลือกทำนองเดียวกับยางพารา คุณสมบัติในการแข็งตัวก็เหมือนยางพารา ปกติเมื่อได้แท่งยางแล้ว จะเก็บรักษาไว้โดยแช่ในน้ำ ส่งจำหน่ายต่อไปได้ ยางชนิดนี้มีความสำคัญใน การนำไปใช้ทำหมากฝรั่ง
ต้นตีนเป็ดแดงมีขึ้นมากในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ ของประเทศไทย ปัจจุบันป่าเหล่านี้ถูกจัดเป็นนิคม สร้างตนเอง ต้นไม้ถูกทำลายสูญหายไปมาก ไม่ค่อยมี คนยึดถือทำเป็นอาชีพอีกต่อไป
ไม้กวาด
น้ำมันมักมื่อ
ได้จากเมล็ดมักมื่อ หรืออาจเรียกในท้องที่ที่แตกต่างกันไปว่า ทะลอก หรือมะพอก โดยนำมาสกัดดัวยการบีบ น้ำมันมักเมื่อได้ชื่อว่ามีคุณภาพสูงสำหรับการผสมสี และมีส่วนช่วยให้สีแห้งช้า ไม่แตกระแหงเมื่อทา
ต้นมะพอกเป็นไม้ป่าขึ้นทั่วๆ ไปในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบขึ้นในป่ามักมีลำต้นสูง เรือนยอดเล็ก แต่ที่ขึ้นตามหัวไร่ปลายนา มีต้นเป็นพุ่ม งาม และให้ผลดกเป็นพวง ผลหนึ่งๆ ให้เมล็ดหลายเมล็ด ซึ่งมีเส้นใยหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย ชาวบ้านได้อาศัยเก็บ จำหน่ายเป็นรายได้พิเศษอย่างหนึ่ง
ผึ้ง
น้ำผึ้งและขี้ผึ้ง
เป็นผลิตผลของแมลงจำพวกผึ้ง ผึ้งเป็นแมลงที่อยู่กันเป็นนิคมใหญ่ อาศัยกินเกสร และน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก จึงต้องมีการสะสมอาหารไว้กินในยามขาดแคลน รังผึ้งทำด้วยเยื่อไม้ที่ย่อยเป็นโครงสร้าง แล้วบุด้วยสารที่ขับจากตัวผึ้ง ซึ่งเรียกว่า ขี้ผึ้ง ทำให้รังเป็นที่เก็บของเหลว และกันน้ำได้ การเก็บหาน้ำผึ้ง จะต้องทำในเวลาที่ผึ้งอุดมสมบูรณ์ ในการนี้ ต้องกำจัดตัวผึ้งจึงจะได้น้ำหวานมา ตัวอ่อนของผึ้งที่ยังอยู่ในรัง ชาวบ้านนิยมรับประทาน ดังนั้น มนุษย์จึงเป็นศัตรูสำคัญอย่างหนึ่งของแมลงพวกนี้
ส่วนขี้ผึ้ง เรามักจะเก็บจากรังร้างซึ่งนิคมผึ้งได้ อพยพหนีไปแล้ว วิธีสกัดขี้ผึ้งจากรังผึ้งนำรังผึ้ง มาต้ม ในน้ำเดือด ขี้ผึ้งจะแยกตัวลอยขึ้นมาและจับเป็นก้อนแข็ง เมื่อเย็นลง ส่วนโครงสร้างของรังไม่มีคุณค่าก็แยกทิ้ง ไป เราใช้ขี้ผึ้งมาทำเป็นเทียนไข และอื่นๆ ได้
ครั่ง
ครั่ง
เป็นผลิตผลจากแมลงอีกอย่างหนึ่ง แมลงครั่งอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้เป็นอาหาร เนื่องจากตัวเล็ก และบอบบาง จึงสร้างรังไว้อาศัย และคุ้มภัยจากศัตรู โดยขับน้ำครั่งออกมาห่อหุ้มตัวไว้ อาศัยรังเป็นที่วางไข่ และอยู่ในรังนั้นจนตลอดชีวิต หลังจากที่แมลงครั่งตัวแม่ฟักเป็นตัวออกหากิน และสร้างรังวางไข่ ประมาณ ๖ เดือน ไข่ในรังใหม่จะเจริญ และฟักตัวออกไปหากิน และสร้างรังใหม่ของมันต่อไปได้ รังที่ครั่งทิ้งไปแล้วนี้ คนเก็บมากะเทาะแยกออกจากิ่งไม้ จำหน่ายเป็นสินค้าต่อไปได้
ไม้ที่ครั่งชอบกินเป็นอาหารมีหลายชนิด เช่น ก้ามปู ถั่วแระ พะยูง พุทรา ฯลฯ แต่ที่นิยมใช้ในการ เพาะเลี้ยงครั่งอย่างสำคัญ ได้แก่ ก้ามปู กิ่งไม้ ก้ามปูที่ เหมาะแก่การเลี้ยงครั่งต้องมีอายุประมาณ ๒ ปี เมื่อ ปล่อยครั่งแล้วก็ไม่มีกิจที่จะต้องระวังรักษามาก แม้ว่า ครั่งจะแก่และออกตัวอ่อนปีละ ๒ ครั้ง แต่ในทางปฏิบัติ จะทำการปล่อยและเก็บกันเพียงปีละครั้งในตอนต้น ฤดูหนาว
ครั่งใช้ในการทำเชลแล็กทาไม้ ทำแผ่นเสียง ครั่งประทับตราและอื่นๆ