ทรงกลมท้องฟ้า | |
ในปัจจุบัน เราทราบว่า ดาวฤกษ์ต่างๆ เป็นก้อนก๊าซทรงกลมมหึมา ซึ่งร้อนจัด กระจายกันอยู่ในเวหาอันกว้างใหญ่ บ้างก็ลอยอยู่โดดเดี่ยว บ้างก็จับกลุ่มกัน ตั้งแต่สองดวงขึ้นไป จนถึงขึ้นเป็นกระจุก มีสมาชิกนับหมื่นแสนอยู่ร่วมกันเป็นระบบใหญ่ โดยแรงดึงดูดต่อกันตามธรรมชาติ ดังนั้น แนวคิดที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ท้องฟ้าเป็นทรงกลมใหญ่ และดาวฤกษ์เป็นจุดสว่างติดอยู่คงที่กับผิวภายในของทรงกลมนี้ จึงเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ซึ่งได้อุบัติขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ ก็มีประโยชน์มากมายในการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เพราะเป็นรากฐานของการกำหนดตำแหน่งดวงดาว ที่เราสังเกตเห็นได้บนท้องฟ้า ในปัจจุบันแนวคิดนี้จึงยังคงใช้กันอยู่ ทรงกลมใหญ่นี้มีชื่อเรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (celestial sphere) และมีสมบัติ ดังที่เรากำหนดให้ต่อไปนี้ | |
๑. ทรงกลมท้องฟ้ามีเส้นรัศมียาวมาก ประมาณตามแบบคณิตศาสตร์ ได้ว่า รัศมีของ ทรงกลมท้องฟ้าเป็นอินฟินิตี (infinity) ๖. ระยะทางระหว่างวัตถุสองชิ้น (เช่น ดาวสองดวง) บนพื้นผิวทรงกลมท้องฟ้า วัดโดย การวัดมุมซึ่งเส้นรัศมีจากจุดศูนย์กลาง (ตำแหน่งของผู้สังเกตการณ์) ไปยังจุดทั้งสอง กระทำต่อกัน ตัวอย่าง เช่น ระยะระหว่างดาวดูพี (Dubhe) กับดาวเมรัค (Merak) เท่ากับ ๕° หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ตามที่ปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้า เท่ากับ ๑/๒ ° เป็นต้น (ดูภาพ) |