พันธุ์ปลูกทุเรียนของประเทศไทย
พันธุ์ปลูกทุเรียนของประเทศไทยจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
กลุ่มกบ
มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน ๓ ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มกบ มี ๔๖ พันธุ์ ได้แก่
๑. กบแม่เฒ่า ๒. กบเล็บเหยี่ยว
๓. กบตาขำ ๔. กบพิกุล
๕. กบวัดกล้วย ๖. กบชายน้ำ
๗. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) ๘. กบสุวรรณ
๙. กบเจ้าคุณ ๑๐. กบตาท้วม (กบดำ)
๑๑. กบตาปุ่น ๑๒. กบหน้าศาล
๑๓. กบจำปา (กบแข้งสิงห์) ๑๔. กบเบา
๑๕. กบรัศมี ๑๖. กบตาโห้
๑๗. กบตาแจ่ม ๑๘. กบทองคำ
๑๙. กบสีนาค ๒๐. กบทองก้อน
๒๑. กบไว ๒๒. กบงู
๒๓. กบตาเฒ่า ๒๔. กบชมพู
๒๕. กบพลเทพ ๒๖. กบพวง
๒๗. กบวัดเพลง ๒๘. กบก้านเหลือง
๒๙. กบตานวล ๓๐. กบตามาก
๓๑. กบทองเพ็ง ๓๒. กบราชเนตร
๓๓. กบแก้ว ๓๔. กบตานุช
๓๕. กบตามิตร ๓๖. กลีบสมุทร
๓๗. กบตาแม้น ๓๘. การะเกด
๓๙. กบซ่อนกลิ่น ๔๐. กบตาเป็น
๔๑. กบทองดี ๔๒. กบธีระ
๔๓. กบมังกร ๔๔. กบลำเจียก
๔๕. กบหลังวิหาร ๔๖. กบหัวล้าน
กลุ่มลวง
มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน ๒ ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มลวงมี ๑๒ พันธุ์ ได้แก่
๑. ลวง
๒. ลวงทอง
๓. ลวงมะรุม
๔. ชะนี
๕. ชะนีกิ่งม้วน
๖. ชมพูศรี
๗. ย่ำมะหวาด
๘. สายหยุด
๙. ชะนีก้านยาว
๑๐. ชะนีน้ำตาลทราย
๑๑. มดแดง
๑๒. สีเทา
กลุ่มก้านยาว
มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มก้านยาวมี ๘ พันธุ์ ได้แก่
๑. ก้านยาว
๒. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ)
๓. ก้านยาวสีนาค
๔. ก้านยาวพวง
๕. ก้านยาวใบด่าง
๖. ทองสุก
๗. ชมภูบาน
๘. ต้นใหญ่
กลุ่มกำปั่น
มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มกำปั่นมี ๑๓ พันธุ์ ได้แก่
๑. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว)
๒. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม)
๓. กำปั่นแดง
๔. กำปั่นตาแพ
๕. กำปั่นพวง
๖. ชายมะไฟ
๗. ปิ่นทอง
๘. เม็ดในกำปั่น
๙. เห-รา
๑๐. หมอนเดิม
๑๑. หมอนทอง
๑๒. กำปั่นบางสีทอง
๑๓. ลุงเกตุ
กลุ่มทองย้อย
มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มทองย้อยมี ๑๔ พันธุ์ ได้แก่
๑. ทองย้อยเดิม
๒. ทองย้อยฉัตร
๓. ฉัตร
๔. ฉัตรสีนาค
๕. ฉัตรสีทอง
๖. พวงฉัตร
๗. ทองใหม่
๘. นมสวรรค์
๙. ทับทิม
๑๐. ธรณีไหว
๑๑. นกหยิบ
๑๒. แดงรัศมี
๑๓. อีอึ่ง
๑๔. อีทุย
กลุ่มเบ็ดเตล็ด
ทุเรียนที่จัดอยู่ใน กลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน ๕ กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบ จะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี ๘๑ พันธุ์ ได้แก่
๑. กะเทยเนื้อขาว
๒. กะเทยเนื้อแดง
๓. กะเทยเนื้อเหลือง
๔. กระดุมทอง
๕. กระดุมสีนาค
๖. กระโปรงทอง
๗. กระปุกทอง (กระปุกทองดี)
๘. ก้อนทอง
๙. เขียวตำลึง
๑๐. ขุนทอง
๑๑. จอกลอย
๑๒. ชายมังคุด
๑๓. แดงช่างเขียน
๑๔. แดงตาน้อย
๑๕. แดงตาเผื่อน
๑๖. แดงสาวน้อย
๑๗. ดาวกระจาย
๑๘. ตะพาบน้ำ
๑๙. ตะโก (ทองแดง)
๒๐. ตุ้มทอง
๒๑. ทศพิณ
๒๒. ทองคำตาพรวด
๒๓. ทองม้วน
๒๔. ทองคำ
๒๕. นกกระจิบ
๒๖. บาตรทองคำ (อีบาตร)
๒๗. บางขุนนนท์
๒๘. เป็ดถบ
๒๙. ฝอยทอง
๓๐. พวงมาลัย
๓๑. พวงมณี
๓๒. เม็ดในยายปราง
๓๓. เม็ดในบางขุนนนท์
๓๔. ยินดี
๓๕. ลำเจียก
๓๖. สีทอง
๓๗. สีไพร
๓๘. สาวชมเห็ด
๓๙. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง)
๔๐. หางสิงห์
๔๑. เหรียญทอง
๔๒. ไอ้เข้
๔๓. อินทรชิต
๔๔. อีล่า
๔๕. อีลีบ
๔๖. อียักษ์
๔๗. อีหนัก
๔๘. ตอสามเส้า
๔๙. ทอง นพคุณ
๕๐. ทองหยอด
๕๑. ทองหยิบ
๕๒. นมสด
๕๓. เนื้อหนา
๕๔.โบราณ
๕๕. ฟักข้าว
๕๖. พื้นเมืองเกาะช้าง
๕๗. มะนาว
๕๘. เม็ดในกระดุม
๕๙. เม็ดในก้านยาว
๖๐. เม็ดในลวง
๖๑. เมล็ดพงษ์พันธุ์
๖๒. เมล็ดเผียน
๖๓. เมล็ดลับแล
๖๔. เมล็ดสม
๖๕. เมล็ดอารีย์
๖๖. ย่ามแม่วาด
๖๗. ลวงเพาะเมล็ด
๖๘. ลุงไหล
๖๙. ลูกหนัก
๗๐. สาเก
๗๑. สาวใหญ่
๗๒. หมอนข้าง
๗๓. หมอนละอองฟ้า
๗๔. หลงลับแล
๗๕. ห้าลูกไม่ถึงผัว
๗๖. เหมราช
๗๗. เหลืองทอง
๗๘. อีงอน
๗๙. ไอ้เม่น
๘๐. ไอ้ใหม่
๘๑. กะเทยขั้วสั้น