เล่มที่ 5
พันธุ์ไม้ป่า
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
พันธุ์ไม้มีพิษ

            ในป่าธรรมชาตินั้นมีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่เป็นอันตรายขึ้นปะปนอยู่ พันธุ์ไม้ที่เป็นพิษนั้นแยกออกเป็นพวกๆ ได้ดังนี้

๑. พวกที่ใบเป็นพิษ

            พันธุ์ไม้ชนิดนี้ตามใบจะมีขน เมื่อไปถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ได้แก่

            ตำแย (Laportia bulbifera) ไม้ล้มลุก ใบ ขอบจักฟันเลื่อย ขึ้นตามป่าดิบ

            หานไก่ (Laportea interrupta) ไม้ล้มลุก ใบขอบจักลึก ขึ้นตามป่าดิบ

            กะลังตังช้าง (Dendrocnide crenulata) ไม้ ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบขอบจัก ขึ้น ตามป่าดิบชื้น

            สามแก้ว (Dendrocnide stimulans) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๖-๑๐ เมตร ก้านใบสีม่วง ใบขอบ เรียบขึ้นตามป่าดิบชื้น

            หานช้างร้อง (Dendrocnide basirostris) ไม้ ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบขอบจัก ขึ้นตาม ป่าดิบแล้ง

            หานกวาง (Cnesmone javanica) ไม้เถา เลื้อย ลำต้นเป็นขน ขึ้นตามป่าดิบแล้ง

๒. พวกที่เมล็ดเป็นพิษ

            พันธุ์ไม้พวกนี้ถ้าไปรับประทานเมล็ดเข้า จะทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียน และถึงแก่ความตายได้ ได้แก่
ต้นแสลงใจ
ต้นแสลงใจ
            แสลงใจ หรือ แสงเบื่อ (Strychnos mux-vo- mica) ไม้ต้นสูง ๖-๑๐ เมตร ดอกสีขาว ผลกลมสุก สีเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง
            ขมิ้นเครือ (Anamirta cocculus) ไม้เถา เลื้อยเนื้อแข็ง ใบค่อนข้างกลม ก้านใบยาว ขึ้น ตามป่าดิบแล้ง

            ขี้กาแดง (Trichosanthes bracteata) ไม้เถา เลื้อยพันตามต้นไม้ต่างๆ ดอกสีขาว ผลกลมสุกสี แดง ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง

            กระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminti- cus และ H. kurzii) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ ดอกสีขาว ผลสีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบ

๓. พวกที่ผลมีขนเป็นพิษ

ได้แก่
            หมามุ่ย ไม้เถาในสกุลมิวคูนา (Mucuna) ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อห้อย ผลเป็นฟักและมีขน สีน้ำตาล เมื่อถูกผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน ชอบ ขึ้นตามที่กว้างว่างเปล่าทั่วไป พันธุ์ไม้จำพวกนี้มี อยู่หลายชนิด ได้แก่ หมามุ่ย (Mucuna pruriens) และ หมามุ่ยใหญ่ (M. monosperma)ดอกหมามุ่ย
ดอกหมามุ่ย
            หมามุ่ยช้าง (Dysoxylon urens) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๘-๑๐ เมตร ดอกสีขาวนวล ออกเป็น ช่อยาวระดิน ผลสีน้ำตาล มีขนสีเหลือง เมื่อถูก ผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน ขึ้นตามป่าดิบชื้น

            ช้างแหก (Neesia altissimea) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบขนาดใหญ่ ดอกสี ขาวนวล ผลสีม่วงน้ำตาล ผิวมีหนามเป็นตุ่มและ มี ๕ พู คล้ายผลทุเรียน แก่จัดแยกออกเป็น ๕ เสี่ยง ภายในผลมีขนแข็งสีเหลือง เมื่อถูกผิวหนังทำให้ เกิดอาการคัน ขึ้นตามป่าดิบชื้น

๔. พวกที่มีน้ำยางเป็นพิษ

ได้แก่

            ตาตุ่มทะเล (Excoecaria agalloche) ไม้ยืน ต้นผลัดใบ ดอกเล็กสีขาว ผลกลมเป็นสามพู น้ำ ยางสีขาว เข้าตาทำให้ตาบอด รับประทานทำให้ท้อง ร่วง ขึ้นตามป่าชายเลน

            ตังตาบอด (Excoecaria oppositifolia) ไม้ ยืนต้นไม่ผลัดใบ ดอกสีเขียวๆ ขาวๆ ผลกลมเป็น ๓ พู ยางสีขาว เข้าตาทำให้ตาบอด ถูกเนื้ออ่อนๆ ทำให้เกิดเป็นแผลเปื่อยได้

            ตังกวม (Sapium insigne) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่องลึก ดอก สีเขียว น้ำยางสีขาว เข้าตาทำให้ตาบอด

            รักหลวง (Melanorrhoea usitata) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ ดอกสีขาว ผลมีปีกสีแดงสด น้ำยางใสถูก อากาศเปลี่ยนเป็นสีดำ ถูกผิวหนังทำให้เปื่อยพอง

            แกนมอ (Rhus succedanea) ไม้ยืนต้น ผลัด ใบ เปลือกแตกเป็นสะเก็ดใหญ่และเผยอออกทาง ด้านล่าง ดอกสีขาว ผลกลมสุกสีดำ ยางใสถูก อากาศเปลี่ยนเป็นสีดำ ถูกผิวหนังทำให้เปื่อยพอง ขึ้นตามป่าดิบเขา พันธุ์ไม้สกุลรุส (Rhus) นี้น้ำยาง เป็นพิษทุกชนิด
ต้นหลางตาง หรือนางปรน
ต้นหลางตาง หรือนางปรน
            หลางตาง หรือ นางปรน (Campnosperma auriculata) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ดอกสีขาว ผลสุก สีดำ ยางไม้ใสเป็นพิษต่อผิวหนัง ขึ้นตามป่าดิบชื้น ทางภาคใต้
            ยางน่อง (Antiaris toxicaria) ไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ๓๐-๔๐ เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทาเรียบ ดอกสีเขียวๆ เหลืองๆ น้ำยางสีขาวเ ป็นพิษต่อผิว หนัง ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ชาวป่านิยมใช้ยางผสมสาร มีพิษอื่นๆ อาบลูกดอกสำหรับใช้ล่าสัตว์

พลูช้าง (Vanilla siamensis) ไม้เถาอวบน้ำ ดอกสีขาว น้ำในเถามีพิษทำให้เกิดอาการคันตาม ผิวหนัง