เล่มที่ 6
ตรรกวิทยา
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)

ประพจน์เดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนั้น แยกพิจารณาความเป็นจริง หรือ ความเป็นเท็จได้ดังนี้

            1. ประพจน์ที่เกิดขึ้นเป็นคู่ปฏิเสธของประพจน์เดิม ประพจน์ชนิดนี้เกิด ขึ้นได้ด้วยการเติมคำ "ไม่"

ซึ่งเขียนแทนด้วย สัญลักษณ์ " ~ " ข้างหน้าประพจน์ เดิม เช่น

ก แทน มีทุเรียนอยู่ในกระจาด
~ ก แทน ไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่าง กัน 2 กรณี ดังนี้


กรณีที่ 1

ก เป็นจริง เนื่องจากมีทุเรียนอยู่ในกระจาดจริงๆ ดังนั้น ~ ก เป็นเท็จ


กรณีที่ 2

ก เป็นเท็จ (เนื่องจากไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด) ดังนั้น ~ ก เป็นจริง
สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นจริง ~ ก จะเป็นเท็จ กรณีที่ ก เป็นเท็จ ~ ก จะเป็นจริง

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

~ ก
กรณีที่ 1จริงเท็จ
กรณีที่ 2เท็จจริง

            2. ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "และ"

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ " ^ "  ประพจน์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้ โดยการ นำเอาประพจน์มาเชื่อมกันด้วย ""และ" เช่น

ก แทน "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"   
ข แทน "มีมั่งคุดอยู่ในกระจาด"

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "และ" คือ "มีทุเรียน และมังคุดอยู่ในกระจาด" เขียนแทนด้วย "ก ^ ข" จะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตก ต่างกัน 4 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1

ก เป็นจริง ข เป็นจริง
ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นจริง


กรณีที่ 1

กรณีที่ 2

ก เป็นจริง ข เป็นเท็จ
ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ


กรณีที่ 2

กรณีที่ 3

ก เป็นเท็จ ข เป็นจริง
ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ


กรณีที่ 3

กรณีที่ 4

ก เป็นเท็จ ข เป็นเท็จ
ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ


กรณีที่ 4

สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นจริง ข เป็นจริง ประพจน์ ก ู ข เป็นจริง กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ ก ู^ ข เป็นเท็จ

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

ก ^ู ข
กรณีที่ 1จริงจริงจริง
กรณีที่ 2จริงเท็จเท็จ
กรณีที่ 3เท็จจริงเท็จ
กรณีที่ 4เท็จเท็จเท็จ

            3. ประพจน์ที่เกิดจากประพจน์สองประพจน์เชื่อมกันด้วยตัวเชื่อม "หรือ"

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ " v " ประพจน์ชนิดนี้ เกิดขึ้นได้โดยการนำเอาประ พจน์ทั้งสองมาเชื่อมกันด้วย "หรือ"

            สำหรับความหมายของคำ "หรือ" ในทางตรรกวิทยานั้น เมื่อเชื่อมประพจน์สองประพจน์ด้วย "หรือ" แล้วจะมีความหมายถึง ประพจน์ใดประพจน์หนึ่ง หรือทั้งสองประพจน์เลยก็ได้

            ดังนั้นประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" จึงมีความหมายเช่น เดียวกับ "มีทุเรียนหรือมังคุดอย่างน้อยหนึ่งอย่างอยู่ในกระจาด" ให้

ก แทน "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"    
ข แทน "มีมังคุดอยู่ในกระจาด"

            ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "หรือ" คือ "มีทุเรียน หรือมังคุดอยู่ในกระจาด" ซึ่งเขียนแทนด้วย "ก v ข" ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้ แตกต่างกัน 4 กรณี ดังนี้


กรณีที่ 1

กรณีที่ 1

ก เป็นจริง   ข เป็นจริง  
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นจริง


กรณีที่ 2

กรณีที่ 2

ก เป็นจริง   ข เป็นเท็จ  
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นจริง

หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป