การคูณเมตริกด้วยค่าคงที่
สำหรับเมตริกใดๆ เมื่อคูณกับค่าคงที่จะได้ผลคูณเป็นเมตริกที่มีจำนวนแถว และจำนวนสดมภ์เท่าเดิม แต่มีสมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นผลคูณของสมาชิกเดิมกับค่าคงที่นั้น นั่นคือ
ถ้า A = (ai j)m x n และ c เป็นค่าคงที่
จะได้ cA = (cai j)m x n
นั่นคือ cA เป็นเมตริกที่มีค่าของแต่ละสมาชิกเป็น c เท่าของสมาชิก ของ A ดังตัวอย่าง
| I | = | | | 1 0 | | |
| | | 0 1 | |
| 2I | = | 2 | | 1 0 | | |
| | | | 0 1 | |
หรือ | 2I | = | | | 2 0 | | |
| | | 0 2 | |
หรือถ้า | A | = | | | 2 1 1 | |
| | | -1 0 3 |
จะได้ | 3A | = | | | 6 3 3 | |
| | | -3 0 9 |
ถ้าตัวคูณเป็นจำนวนลบ เช่น -2/3 ก็จะได้ |
-2/3 A | = | | 4/3 | - 2/3 | -2/3 | |
| | 2/3 | 0 | -2 |