เล่มที่ 6
เมตริก
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
คุณสมบัติของการคุณเมตริก

ถ้า A,B,C เป็นเมตริก ซึ่งทำให้การคูณที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นไปได้ จะพบว่า การคูณเมตริกมีคุณสมบัติบางประการต่างจากการคูณจำนวนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

1. โดยทั่วๆ ไปแล้วผลคูณ AB ไม่เท่ากับ BA คือ การคูณไม่เป็นไปตามกฎของการสลับที่ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

A และ B เป็นเมตริกจัตุรัส 2 x 2 ทั้งคู่ คือ

ถ้าA=21    B=11  
   32      21 
 AB=2111 =43  
   3221  75  
แต่BA=1121 =53ไม่เท่ากับ AB
   2132  74

ในกรณีที่ A และ B เป็นเมตริกจัตุรัส n x n ด้วยกัน ผลคูณ AB และ BA จะเป็นไปได้เสมอ แต่อาจจะมีค่าไม่เท่ากัน ยกเว้นเมื่อ A และ B เป็นเมตริกบางชนิด ซึ่งผู้อ่านจะศึกษาเพิ่มเติมได้ในตำราเกี่ยวกับเมตริก หรือในกรณีที่ A เป็นเมตริกเอกลักษณ์ I(nxn) จะได้ผลคูณ IB = BI = B เสมอ เช่น

I
=
1 0 0
,
B
=
1 2 3
0 1 04 5 6
0 0 17 8 9
จะได้ว่า IB = BI = B

เมตริกเอกลักษณ์ I จึงมีคุณสมบัติเป็นเอกลักษณ์ของการคูณ เช่นเดียวกับ เลข "1" ในระบบจำนวน

2. A(BC) = (AB)C นั่นคือ การคูณระหว่างเมตริกเป็นไปตามกฎการจัดหมู่
3. A(B +C) = AB + AC และ (B + C) A = BA + CA นั่นคือ การคูณเมตริกเป็นไปตามกฎของการกระจาย
4. ถ้า AB = 0 (เมตริกศูนย์) A หรือ B ไม่จำเป็นต้องเป็นเมตริกศูนย์ แต่ในการคูณจำนวน x และ y ถ้า xy = 0 แล้วจะต้องได้ว่า x หรือ y เป็นศูนย์ ดังตัวอย่างผลคูณที่เป็นเมตริกศูนย์
ถ้า A =
-2
1
และ B =2 3
2
-1
4 6
ทั้ง A และ B ไม่ใช่เมตริกศูนย์ เมื่อหาผลคูณ AB จะได้
AB =
-2
1
2 3=0 0
2
-1
4 60 0
เป็นเมตริกศูนย์

ความรู้เกี่ยวกับเมตริกเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งในคณิตศาสตร์ และในสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นพื้นความรู้ที่ให้ประโยชน์มาก ในที่นี้จะพูดถึงประโยชน์ในการแก้ระบบสมการเชิงเส้นที่มีจำนวนสมการและจำนวนตัวแปร เท่ากัน เป็นตัวอย่าง