การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ห่วง ห่วง | |||
วงแหวนแกรเฟนเบิร์กแบบเก่า ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ | มี | ||
ต่อ
หลาย | |||
ห่วงคุมกำเนิดแบบใหม่ชนิดต่าง ๆ | |||
สอง ห่วง ห่วงลิปฟีส ทำ | |||
ห่วงลิปพีสขนาดบี ซี ดี | |||
ห่วง |
ข้อ ๑. ภาย ๒. วัน ๓. ๒-๓ เดือน ๔. อาจ ๕. ห่วง ๖. ถ้า ๗. ห่วง ๘. ควร | แผนภาพแสดงการใส่ห่วงลิปพีส |
ประสิทธิภาพ หญิง ห่วง ใน การทำงานของห่วงคุมกำเนิด ยังไม่มีข้อพิสูจน์แน่นอนว่า จะป้องกันการตั้งครรภ์ ได้อย่างไร แต่ก็มีข้อสันนิษฐานกันไว้ดังนี้ ๑. ห่วงคุมกำเนิด อาจทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่ สามารถฝังตัวได้ (implantation failure) เพราะทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมขึ้น ที่เยื่อบุมดลูก หรือผนังมดลูก ๒. ห่วงคุมกำเนิดอาจทำให้ไข่ทั้งที่ถูกผสม และไม่ถูกผสม เดินทางผ่านท่อรังไข่ไปเร็วกว่าปกติ จนไข่ที่ผสมแล้ว ยังไม่พร้อมที่จะฝังตัว เมื่อผ่านไปถึงโพรงมดลูก และไข่ที่ยังไม่ถูกผสมผ่านไปเร็วจนไม่มี โอกาสได้ผสมกับเชื้อของฝ่ายชาย (acceleration of tubal transport of ova) ๓. ห่วงคุมกำเนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายในโพรงมดลูก จนทำให้เชื้อของฝ่ายชายไม่สามารถ ผ่านไปผสมกับไข่ได้ หรือสูญอำนาจในการผสมพันธุ์ ไป (spermatoxic effects) อาการข้างเคียงในหญิงที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ๑. อาการเลือดออกผิดปกติ ก. อาจมีเลือดออกอยู่ ๒-๓ วันหลังใส่ห่วง และจะหยุดไปเองโดยไม่ต้องให้การรักษา ข. อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอย นอก เวลาประจำเดือน ซึ่งมักพบในระยะ ๒-๓ เดือนแรก ค. อาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ หรือนานกว่าปกติ พบมากในระยะ ๒-๓ เดือนแรก ๒. อาการปวดท้องน้อย พบได้ไม่บ่อยนัก และพบน้อยกว่าการมีเลือดออกผิดปกติ ก. การปวดท้องน้อยทันทีภายหลังใส่ห่วง เนื่องจากการบีบตัวของมดลูก บางรายอาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง แต่อาการนี้พบน้อยมาก มักพบในหญิงที่ ไม่มีบุตรมาเป็นเวลานาน และพวกที่มีจิตใจหวาดกลัวง่ายอยู่แล้ว ข. อาการปวดท้องน้อยในระยะ ๒-๓ เดือนแรกหลังใส่ อาการปวดมักมีเพียงเล็กน้อย ค. อาจมีอาการปวดประจำเดือนเพิ่มขึ้น ในระยะ ๒-๓ เดือนแรกหลังใส่ ๓. อาการตกขาว หลังใส่อาจมีตกขาวออกมาก ขึ้น และส่วนมากจะค่อยๆ กลับเป็นปกติ หลังจาก ๓ เดือนไปแล้ว อาการที่กล่าวมาแล้วนี้ เกิดเนื่องจากมดลูกยัง ไม่เคยชินกับห่วง ภายหลังที่มดลูกปรับตัวเองให้เข้ากับ ห่วงได้ดีแล้วอาการต่างๆ ก็หายไป เปรียบเทียบได้กับผู้ที่ใส่คอนแทกต์เลนส์ (contact lens) ซึ่งจะมีอาการ ระคายเคืองในระยะแรก เมื่อเคยชินแล้ว อาการต่างๆ ก็จะหายไป การเจริญพันธุ์ภายหลังเอาห่วงออก หญิงที่เอาห่วงออกจะตั้งครรภ์ได้ตามปกติ และ ไม่มีการเปลี่ยนปลงภาวะการเจริญพันธุ์ จากรายงาน ของสภาประชากร (นิวยอร์ก) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ พบว่าร้อยละ ๔๕ ของหญิงตั้งครรภ์ ภายในเดือน ๖ เดือน และ ร้อยละ ๙๐ ตั้งครรภ์ภายใน ๑ ปี หลังจากเอาห่วงออก ส่วนผลจากการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ ๙๓ ตั้งครรภ์ภายใน ๑ ปีหลังจากเอาห่วงออก เวลาที่เหมาะสมในการใส่ห่วงคุมกำเนิด ๑. ในรายที่มีประจำเดือนตามปกติ เพื่อให้แน่ ใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ในขณะใส่ห่วง ควรไปพบแพทย์ ภายใน ๗ วันแรก ของรอบเดือน หรือถ้าไม่สามารถ พบแพทย์ได้ก็ควรจะงดการอยู่ร่วมกัน หรือคุมกำเนิด โดยวิธีอื่นก่อนจนกว่าจะไปพบแพทย์ได้ ๒. การใส่ภายหลังคลอดหรือแท้ง ควรใส่ห่วง คุมกำเนิดเมื่อคลอดหรือแท้งแล้วเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ เพราะมดลูกคืนสู่ภาวะปกติเรียบร้อยแล้ว ถ้าใส่ก่อน ระยะนี้ ผนังของมดลูกยังนุ่มอยู่จะมีโอกาสทะลุได้ง่าย แต่ก็มีผู้ใส่ห่วงให้แก่หญิงหลังคลอดภายใน ๔๘ ชั่วโมง เพราะเกรงว่า เมื่อกลับบ้านไปแล้วคนไข้อาจไม่มีเวลามาใส่ห่วงอีก หรืออาจตั้งครรภ์เสียก่อนมาใส่ห่วง ข้อห้ามของการใส่ห่วงคุมกำเนิด ๑. การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นข้อห้ามที่ สำคัญที่สุด เพราะถ้ามีอาการอักเสบอยู่ การใส่ห่วงจะทำให้การอักเสบทวีความรุนแรงขึ้นได้มาก ๒. รายที่ไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ ๓. รายที่มีประวัติของการมีเลือดออกผิดปกติ จากภายในมดลูก โดยยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษา ๔. รายที่มีเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก ๕. รายที่มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เช่น มีผนัง กั้นแบ่งโพรงมดลูกเป็น ๒ ห้อง ยาเม็ดคุมกำเนิด มี | |
ด้านหน้าของแผงยาคุมกำเนิดชนิด ๒๘ เม็ด | |
ยา | |
ด้านหลังของแผงยาคุมกำเนิดชนิด ๒๘ เม็ด | |
วิธี ๑. วิธีเดิม หรือ |
ด้านหน้าของแผงยาคุมกำเนิดชนิด ๒๑ เม็ด | ๒. กิน |
๓. วิธี | |
ด้านหลังของแผงยาคุมกำเนิดชนิด ๒๑ เม็ด | ๔. วิธี |
ใน การทำงานของยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ป้องกันการตั้งครรภ์ได้โดย ๑. ห้ามการสุกของไข่ ตามปกติหญิงในวัยเจริญ พันธุ์จะมีไข่สุกเดือนละครั้ง เมื่อไม่มีการสุกของ ไข่จึงไม่มีการตั้งครรภ์ ๒. ทำให้เยื่อบุมดลูกบาง และไม่เหมาะกับ การฝังตัวของไข่ ๓. ทำให้มูกที่ปากมดลูกมีน้อยและเหนียว กว่าปกติ จนเชื้ออสุจิไม่สามารถว่ายผ่านไปได้ ผลของยาเม็ดคุมกำเนิดต่อประจำเดือน ๑. ประจำเดือนมักจะลดลง ทั้งจำนวนและ ระยะเวลาที่มี ๒. จะมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ถ้ากินยาถูก ต้อง เพราะประจำเดือนจะมาหลังจากหมดยาแต่ละชุด แล้วประมาณ ๒-๔ วัน ๓. คนไข้บางรายอาจไม่มีประจำเดือนมาหลังหยุดยาบางเดือน ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าควรมีภายในไม่เกิน ๘ วันหลังจากหยุดยา รายเช่นนี้ควรจะเริ่มต้นกินยาชุด ใหม่ได้ทันทีในวันที่ ๘ หากยังไม่มีประจำเดือน ๔. มีคนไข้ส่วนน้อย และมีเพียงบางเดือน เช่นกัน อาจจะมีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกเวลา ประจำเดือน ซึ่งพบมากในยาบางชนิด แต่ไม่มีอันตราย ใดๆ และหากผู้ใช้คงกินยาต่อไปโดยสม่ำเสมอ เลือด ก็มักจะหยุดไปเอง ๕. อาการปวดประจำเดือน จะลดน้อยลงใน ระหว่างกินยาคุมกำเนิด ซึ่งอาจนำเอายานี้ไปรักษา อาการปวดประจำเดือนได้ อาการข้างเคียงขณะกินยา ๑. คลื่นไส้ เป็นอาการที่พบบ่อย ประมาณ ร้อยละ ๒๐ ของหญิงจะมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยเมื่อเริ่ม กินยาชุดแรก อาการนี้จะค่อยๆลดลง และหลัง ๓ เดือน ไปแล้วอาการนี้ก็จะหายไป ๒. ฝ้าที่หน้า ประมาณร้อยละ ๑๗ ของหญิงไทย เกิดมีฝ้าขึ้นที่หน้า หรือฝ้าที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้นเช่นเดียว กับที่พบในหญิงมีครรภ์บางราย ทั้งนี้เพราะทั้งฮอร์โมน เอสโทรเจนและโพรเจสโทเจนเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ซึ่งสร้างสีของร่างกาย อาการนี้จะพบได้มาก ในหญิงที่ผิวคล้ำและต้องถูกแสงแดดมาก อย่างไรก็ดี ฝ้านี้ไม่มีอันตรายอย่างใด และจะค่อยๆ จางหายไปเมื่อ เลิกกินยา ๓. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เชื่อกันว่าเกิดขึ้นเนื่อง จากฤทธิ์ในการเสริมสร้างของโพรเจสโทเจน ทำให้เกิดความอยากอาหาร และกินอาหารจุมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจเนื่องมาจากการคั่งของโซเดียมและน้ำ จากผลของเอสโทรเจน ๔. อาการเจ็บตึงที่เต้านม อาการนี้พบน้อย มากในหญิงไทย ๕. อาการปวดศีรษะ หญิงบางคนมีอาการปวด ศีรษะในระหว่างกินยา แต่เป็นการยากที่จะพิสูจน์ให้แน่นอนว่า เนื่องจากยาเม็ดคุมกำเนิดหรือไม่ ๖. ความรู้สึกทางเพศ ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในหญิงที่กินยานี้ แม้จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศ อาจมีอิทธิพลต่อความต้องการทางเพศของสัตว์หลายชนิด แต่ในมนุษย์ อิทธิพลทาง ด้านจิตใจมีความสำคัญมากกว่า และการหมดกังวลเรื่องการตั้งครรภ์ อาจทำให้ความรู้สึกทางเพศดีขึ้น ผลของยาเม็ดคุมกำเนิดต่อการทำงานของตับ การทำงานของตับในหญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากจะมีการขับถ่ายช้าลงบ้าง เช่นเดียวกับที่พบในหญิงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ และจะกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อเลิกใช้ยา ผลของยาเม็ดคุมกำเนิดต่อการหลั่งน้ำนม จากการศึกษาในหญิงไทยที่คุมกำเนิดพบว่า ยา เม็ดคุมกำเนิดมีผลทำให้น้ำนมแม่น้อยลง จึงไม่ควร ใช้ยานี้ในหญิงที่ให้ลูกกินนม ผลของยาเม็ดคุมกำเนิดต่อโรคของเส้นเลือดดำ เอสโทรเจนในยาเม็ดคุมกำเนิด มีผลทำให้การ แข็งตัวของเลือดได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้โรคของเส้น เลือดดำบางอย่างกำเริบขึ้น อย่างไรก็ตาม อันตรายจากโรคนี้ในขณะที่กินยาคุมกำเนิดจะต่างกับเมื่อไม่ได้กิน ยาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมีมากกว่า อันตรายจากยาเม็ดคุมกำเนิด หลายเท่า สำหรับหญิงไทย โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดดำเหล่านี้ พบน้อยมาก อันตรายจากยาเม็ดคุมกำเนิดในเรื่องนี้ จึงไม่มีความสำคัญ สำหรับหญิงไทยทั่วๆไป การเจริญพันธุ์และการสุกของไข่หลังจากหยุดยา โดยทั่วไปภายหลังการหยุดยาเม็ดยาคุมกำเนิด การเจริญพันธุ์ของผู้ใช้ยามิได้ลดลง และประจำเดือน ก็จะมาตามปกติ แต่ประจำเดือนเดือนแรกหลังจากหยุดยา อาจมาช้าไปเล็กน้อย หญิงบางคนหลังจากหยุดยา อาจมีประจำเดือน ขาดไปชั่วคราว แต่ส่วนมากมักจะมาตามปกติเองภาย หลัง ๖-๑๒ เดือน หรืออาจเร่งให้มาเป็นปกติได้ โดยให้ยาบางอย่าง ควรกินยานี้ได้นานเท่าใด เรายังไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่า หญิงจะ กินยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันได้โดยปลอดภัยเป็นเวลานานที่สุดเท่าใด แต่รายงานการศึกษาในหญิงไทย ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๗-๘ ปี ไม่พบอันตราย ใดๆ อย่างไรก็ดี หญิงทุกคนไม่ว่าจะกินยาคุมกำเนิดหรือไม่ ควรได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจหามะเร็งในระยะแรก อย่างน้อยปีละครั้งเช่นเดียวกัน ข้อห้ามในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ในหญิงที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการใช้ยานี้ แต่มีข้อห้ามหรือข้อควรระมัดระวังในผู้ที่มีโรคต่อไปนี้ ๑. โรคตับ เช่น ผู้ที่เคยมีอาการตัวเหลือง ตา เหลือง ๒. โรคเบาหวาน ๓. โรคหัวใจ ๔. โรคความดันโลหิตสูง ๕. โรคของเส้นเลือดดำ ๖. โรคแพ้บางอย่าง ๗. มะเร็งของเต้านม และอวัยวะสืบพันธุ์ ๘. โรคของต่อมไทรอยด์บางชนิด เพื่อความปลอดภัย ก่อนที่จะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด จึงควรได้รับการตรวจร่างกายและรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน ยาฉีดคุมกำเนิด ยา | |
ยาฉีดคุมกำเนิดดีเอ็มพีเอ | |
ยา เป็น ยา วิธี เริ่ม การ ยา ผล ผู้ |