เล่มที่ 21
ศิลปะการทอผ้าไทย
เล่นเสียงเล่มที่ 21 ศิลปะการทอผ้าไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
            การทอผ้าเป็นศิลปะอย่าง หนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ ในสมัยก่อนผู้หญิงไทยจะทำเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำคัญอย่างหนึ่งคือ การทำเสื้อผ้า ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย

            กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิค และความสามารถของแต่ละคน

            หลัก ใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนำเส้นฝ้ายหรือไหมมาขัดกันให้เป็นลาย โดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก เรียกว่า เส้นยืน แล้วใช้อีกเส้นหนึ่ง เรียกว่า เส้นพุ่ง สอดตามขวางของเส้นยืน เมื่อสานขัดกัน ก็จะเกิดลวดลายต่างๆ



การทอผ้าจก เป็นการทอโดยใช้เข็มสะกิดยกด้านเส้นยืนและนำด้ายสีต่าง ๆสอดใส่เพิ่มเติมจากด้ายเส้นพุ่ง เพื่อทำให้เกิดลวดลาย จึงมีลักษณะเหมือนทอไปปักไปภาพนี้ถ่ายจากศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ซึ่งผู้ทอใช้สีสมัยใหม่ที่แตกต่างจากสีพื้นบ้าน

            ผ้าบาง ชนิด ผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้าย และสอดสีสลับกัน บางวิธีก็จะจับผูก และมัดเน้นเป็นช่วงๆ หรืออาจจะยกด้ายที่ทอเป็นระยะๆ ทำให้เกิดลวดลายสวยงาม ผู้ทอต้องสามารถจดจำลวดลาย ที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อน และหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงาม แสดงถึงภูมิปัญญา และความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี

            ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอ และความสวยงามเป็นที่สุด

            ผ้า ทอของชาวบ้านมีรูปแบบ ระเบียบลาย ที่บ่งชี้ถึงกลุ่มของคนไทยสายต่างๆ ได้
ผ้าซิ่นที่นุ่ง ก็มีการทอให้แตกต่างกัน สามารถบอกได้ว่า หญิงคนใดยังเป็นโสดและหญิงคนใดแต่งงานแล้ว ผ้าซิ่นของหญิงมีสามี จะเป็นซิ่นที่นำผ้าสามชิ้นมาต่อกัน แบ่งเป็นส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนเชิง แต่ละส่วนจะทอเป็นลวดลายแตกต่างกันทั้ง ๓ ส่วน

            ผ้า ซิ่นของหญิงสาวจะเป็นผ้าผืนเดียวกันตลอดทั้งผืน อาจใช้วิธีมัดหมี่เป็นดอกเป็นลวดลายอย่างเดียวสวยงามมาก

            ชาย ผ้าซิ่นแทบทุกผืน จะมีวิธีทำลวดลายแปลกๆ เช่น อาจจะจกไหมสลับกับฝ้ายในรูปแบบของการทอผสมปักกลายๆ แต่แทนที่จะใช้เข็มปัก เขาจะใช้ขนเม่นทำลวดลาย วิธีนี้เรียกว่า จก แต่ละบ้านจะมีลวดลายของตน ผ้าตีนจกที่นิยมกันมากคือ ผ้าตีนจกของหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย เป็นศิลปะพื้นบ้านลวดลายสวย สีงาม งานประณีต



ผ้าตีนจกจากอำเภอคูบัวและอำเภอดอนแร่ จังหวัดราชบุรี เป็นผ้าทอฝีมือชาวยวน (ยวนนก) ที่อพยพมาจากล้านนาเมื่อ ๑๙๑ ปีที่แล้ว มาตั้งชุมชนยวนที่อำเภอคูบัว และอำเภออื่นๆ ในจังหวัดราชบุรี ลักษณะเด่นของผ้าคูบัวคือ ใช้สีแดง ขาว ดำ หรือน้ำเงินเข้ม

            นอก จากผ้ามัดหมี่ ผ้าจกแล้ว ยังมีผ้าแพรวา ซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ หรือห่มเฉียงไหล่ ผ้าขิต ซึ่งมีลวดลายเป็นแนวเดียวกันตลอด นิยมใช้ทำหมอน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้ายกดอก เป็นศิลปะการทออีกแบบหนึ่งคล้ายกับผ้าขิต แต่จะทอด้วยไหมทั้งผืน และยกดิ้นเงิน หรือดิ้นทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงในการทอผ้ายก เรียกว่า ผ้ายกเมืองนคร

            ผ้า พื้น และผ้าอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ทอใช้กันทั่วๆ ไป ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า เป็นส้นขัดตาตารางหรือเป็นลายเส้นธรรมดา