ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย การทำแผนที่แบบตะวันตก โดยคนไทยเริ่ม มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารช่างขึ้น ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ให้นายเฮนรี อะลาบาสเตอร์ (Henry Alabaster) (ซึ่งเคยรับราชการสถานทูตอังกฤษ แล้วเข้ามารับราชการไทยเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์) เป็นหัวหน้า นายนาวาเอก ลอฟทัส (Lophtus) เป็นผู้ช่วย และมีหม่อมราชวงศ์ แดง (หม่อมเทวาธิราช) นายทัด (พระยาสโมสรสรรพการ) นายสุด (พระยาอุดรกิจพิจารณ์) และหม่อมราชวงศ์แปลก (พระยาสากลกิจประมวล) ทั้ง ๔ นายนี้ เป็นนายทหาร ในกรมทหารมหาดเล็ก ให้เข้ารับการอบรมฝึกหัดในหมวดทำแผนที่นี้ งานที่ได้ทำไป ได้แก่ การทำแผนที่บริเวณ ถนนเจริญกรุง บริเวณใกล้พระราชวัง และบริเวณ ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ และใช้เป็นแนวทางป้องกันทางทะเลด้านอ่าวไทย ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทางรัฐบาลอังกฤษได้ ขออนุญาตให้สถาบันการแผนที่อินเดียเข้ามา ทำการวัดต่อสายสามเหลี่ยม สายเขตแดนตะวันออก โดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ที่ภูเขาทอง (กรุงเทพ) และที่พระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) และโยงต่อออกไป จนถึงบริเวณปากอ่าว เพื่อจะได้โยงยึดเข้าด้วยกันกับสายหมุดหลักฐาน ที่สถาบันการแผนที่อินเดีย ได้ทำเข้ามาทางทะเล สำหรับใช้ในการสำรวจ แผนที่ทางทะเล มีนายร้อยเอก เอช. ฮิลล์ (H. Hill) เป็นหัวหน้ากองแผนที่ นายเจมส์ แมคคาร์ที เป็นผู้ช่วย และเป็นผู้นำระบบโครงข่ายสามเหลี่ยมเข้ามา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต และโปรดเกล้าฯ ให้นายอะลาบาสเตอร์ ดำเนินการให้นายแมคคาร์ทีได้เข้ามาทำงานกับรัฐบาลไทย ภายหลังเสร็จงานของสถาบันการแผนที่อินเดีย นายเจมส์ แมคคาร์ที ได้เริ่มเข้ารับราชการ ไทยเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดสมุหพระกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในบังคับบัญชาของนายพันโทพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ผู้บังคับการ
การทำแผนที่แบบตะวันตกในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่นายแมคคาร์ทีเข้ารับราชการไทย ได้ใช้ หลักมูลฐานขนาดมิติทรงวงรี เอเวอเรสต์ ใน การสำรวจทำแผนที่ตลอดมา ชื่อทรงวงรี "เอเวอเรสต์" มาจากชื่อของนายพันเอกเอเวอเรสต์ นายทหารช่างชาวอังกฤษ ผู้เป็นหัวหน้าสถาบันการแผนที่อินเดีย ในสมัยที่อินเดียยังขึ้นกับอังกฤษ การทำแผนที่ซึ่งได้จัดทำก่อนสถาปนาเป็น กรมแผนที่เริ่มแรกในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นการสำรวจ สำหรับวางแนวทางสายโทรเลข ระหว่างกรุงเทพฯ และมะละแหม่ง (Moulmein) ผ่านระแหง (ตาก) ในการนี้ นายแมคคาร์ทีได้ทำการสำรวจสามเหลี่ยมเล็ก โยงยึดกับสายสามเหลี่ยมของอินเดีย ที่ยอดเขา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของระแหงไว้ ๓ แห่ง งานแผนที่ที่ใช้สำรวจ มีการวัดทางดาราศาสตร์ และการวางหมุดหลักฐานวงรอบ (traverse) เมื่อเสร็จงานสำรวจวางแนวทางสายโทรเลข แล้ว พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งเวลานั้น เป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้มีรับสั่งให้นายแมคคาร์ทีดำเนินการตั้งโรงเรียนแผนที่ คัดเลือกนักเรียน จากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ จากจำนวน ๓๐ คน ใช้สถานที่เรียนที่ตำหนัก สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (กรมพระจักรพรรดิพงศ์) ซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังบางปะอิน ใช้เวลา เรียนประมาณ ๓ เดือน แล้วย้ายกลับมากรุงเทพฯ คัดเลือกได้ผู้ที่จะเป็นช่างแผนที่ได้ ๑๐ คน เริ่ม สำรวจทำแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่บริเวณสำเพ็ง
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ นายแมคคาร์ทีได้รับคำสั่งให้ไปสำรวจทำแผนที่บริเวณลุ่ม แม่น้ำตืน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง บริเวณ ต้นแม่น้ำตืนเป็นป่าไม้สักหนาแน่น ได้มีกรณี พิพาทเรื่องเขตระหว่างเชียงใหม่กับระแหง เกี่ยวกับ สิทธิการเก็บภาษีอากร เสร็จงานทำแผนที่รายนี้ แล้ว ก็ต้องไปทำแผนที่กำหนดเขตแดนระหว่าง รามัญ (มณฑลปัตตานี) กับเปรัค (อาณานิคมของ อังกฤษ) ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๖ เวลานั้น ได้รับรายงานมีการก่อการไม่สงบจากพวกฮ่อ ในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง มีการสำรวจทำแผนที่บริเวณที่เกิดความไม่สงบ ในการไปทำงานแผนที่ครั้งนี้ มีนายเจ. บุช (J.Bush) และช่างแผนที่ไทย ๗ นาย เป็นกองทำแผนที่ และทางราชการได้จัดกองทหาร ๒๐๐ คน มีนายลีโอโนเวนส์ (Leonovens) เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมไปด้วย ทั้งคณะได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โดย ทางเรือ ถึงสระบุรีแล้วเดินทางทางบกต่อไปถึง นครราชสีมา และเดินทางต่อไปผ่านพิมาย ภูไทสง และกุมภวาปีไปถึงหนองคายริมฝั่งแม่น้ำโขง จาก หนองคาย ให้นายบุชเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง ส่วนนายแมคคาร์ทีเดินทางต่อไปยังเวียงจันทน์ ก่อน แล้วต่อไปยังเชียงขวาง ผ่านเมืองฝาง และเมืองจัน แล้วจึงล่องตามลำน้ำจัน มาออกแม่น้ำโขง กลับมายังหนองคายอีก แล้วเดินทางต่อไปถึงหลวงพระบาง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้กำหนดการไว้ว่า จะอยู่ทำงานที่บริเวณนี้ในระหว่างฤดูฝน แต่นายบุชได้ล้มป่วยลงและได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๖ เนื่องจาก ไข้พิษ ดังนั้นต้นเดือนกรกฎาคม นายแมคคาร์ทีจึงได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ นายแมคคาร์ทีรับราชการได้ประมาณ ๒ ปี ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิภาคภูวดล เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ภายหลังจากนั้นกองแผนที่ไทยได้นายดี.เจ. คอลลินส์ (D.J.Collins) ช่างแผนที่จากสถาบัน การแผนที่อินเดียเข้ามารับราชการไทย เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ซึ่งเหมาะกับเวลาที่ จะยกกองออกไปภาคเหนือ พระวิภาคภูวดลจึงได้ยกกองออกเดินทาง ในเดือนพฤศจิกายน มีนายคอลลินส์ไปด้วย และมีหน่วยทหารคุ้มกัน ซึ่งมีนายเรือโทรอสมุสเซน (Rosmussen) เป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ ๓๐ คน เดินทางทางเรือ ผ่านชัยนาท นครสวรรค์ไปถึงอุตรดิตถ์แล้วเดินทาง ทางบกถึงน่าน จากน่านไปหลวงพระบาง ได้แยกกองออก เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยนายคอลลินส์ และ นายเรือโทรอสมุสเซน ไปทางบก อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดยพระวิภาคภูวดล ไปทางท่านุ่น แล้วเดินทางทางน้ำไปบรรจบกันที่หลวงพระบาง | |||||
โรงเรียนแผนที่ วังสระประทุม | |||||
กลุ่มพระวิภาคภูวดลได้ผ่านเมืองจุก (หงสาวดี) มีทุ่งพื้นราบยาวประมาณ ๖x๑๐ ไมล์ ล้อมรอบด้วยภูเขา มีภูเขาไฟ ๒ ลูก โผล่ให้เห็น ชื่อ ภูไฟใหญ่ และภูไฟน้อย พระวิภาคภูวดลได้แวะไปดูภูไฟใหญ่ มีทางขึ้นไปถึงปากปล่องภูเขาไฟ ทรงวงรี ขนาด ๑๐๐x๕๐ หลา ปากปล่องภูเขาไฟข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณ ๕๐ ฟุต เมื่อเอาเศษไม้แห้งใส่เข้าไปตามรอยแตกร้าว ไม่ช้า ได้ยินเสียงเหมือนไฟคุขึ้น มีควันออกมา และต่อมา เห็นไฟไหม้ขึ้นมาที่เศษไม้นั้น แต่ที่รอยแตกร้าวอื่น จะเห็นมีแต่ควันขึ้นมา เมื่อเดินทางต่อไปถึงท่านุ่น ริมแม่น้ำโขง กลุ่มของพระวิภาคภูวดลได้เดินทางทางน้ำไปพบ กันกับอีกกลุ่มหนึ่งที่หลวงพระบาง จากหลวงพระบาง กองแผนที่ได้เดินทางต่อไปยังทุ่งเชียงคำ ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารไทย กำลังทำการปราบพวก ก่อการร้ายฮ่อ เมื่อเสร็จธุรกิจกับข้าหลวงที่กำลัง ทำการปราบฮ่อ ได้ยกกองทำแผนที่ไปที่หลวงพระบาง และทำการบุกเบิกสำรวจและทำแผนที่ ภูมิประเทศบริเวณเหนือของแม่น้ำโขง และตะวันออกของหลวงพระบาง แล้วยกกองกลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ กองการแผนที่คงเป็นส่วนหนึ่งในสังกัดกรม ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนถึงวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงได้มีพระบรมราชโองการ สถาปนาขึ้นเป็นกรมทำแผนที่ แยกออกจากกรม ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และมีพระวิภาคภูวดลเป็นเจ้ากรม กรมทำแผนที่เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเป็นกรมแผนที่ทหารมาจนปัจจุบันนี้
ภายหลังตั้งกรม พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพ ครั้งสุดท้ายไปที่เมืองเทิง ซึ่งอยู่ทางเหนือ ของหลวงพระบาง และเวลานั้น เป็นที่ตั้งกองทัพ ของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยา) และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๙ ปีต่อมารัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับบริษัท พูชาร์ด (Puchard) ให้สำรวจแนวทางสำหรับสร้าง ทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ พระวิภาคภูวดลได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนรัฐบาล ติดตาม ช่างของบริษัทที่ทำการนี้ด้วย ภายหลังเมื่อเสร็จงานนั้นแล้ว มีนายช่างของบริษัทคนหนึ่งชื่อ สไมลส์ (Smiles) ได้เข้ามาสมัครทำงานที่กรมแผนที่ ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ มีงานแผนที่สำคัญที่ ต้องทำ เป็นงานสำรวจทำแผนที่กำหนดเขตแดน ระหว่างไทยกับพม่า ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ได้มีการเริ่มทำแผนที่สามเหลี่ยมบริเวณภาค เหนือ ตั้งต้นที่เชียงใหม่ วัดโยงยึดติดต่อกับโครงข่ายการสามเหลี่ยมภาคตะวันออก ของสถาบันการแผนที่อินเดีย มีการวัดเส้นฐานที่ทุ่งนาเมือง เชียงใหม่ (และมีการทำแผนที่ด้วยโซ่และเข็มทิศ ในบางภาค ของมณฑลพายัพด้วย) นายสไมลส์ ซึ่งได้เข้ารับราชการกรมแผนที่ได้ร่วมทำงานการ สามเหลี่ยมครั้งนี้ด้วย โดยตั้งต้นที่เชียงขวาง ไปถึงหลวงพระบาง วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงเทศาจิตวิจารณ์ (ภายหลังเป็น พระยามหาอำมาตย์) ได้รับคำสั่งให้กลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหาร มีการตั้ง กระทรวง และทางราชการได้ให้ไปรับตำแหน่ง ทางกระทรวงมหาดไทย งานแผนที่สามเหลี่ยม ได้ดำเนินไปจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระวิภาคภูวดลได้รับคำสั่ง ได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทางฝ่าย ฝรั่งเศสยึดเอาดินแดนซึ่งกองแผนที่ได้สำรวจไว้ แล้วทางเหนือและตะวันออกของแม่น้ำโขง พระวิภาคภูวดลได้ยกกองกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ | |||||
นายโรแนลด์ ดับเบิลยู กิบลิน เจ้ากรมแผนที่ทหารคนที่ ๒ | ในระหว่างฤดูสำรวจ พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๓๗ ได้มีการทำแผนที่การสามเหลี่ยม ออกจากกรุงเทพฯ ไปทางจันทบุรี และมีการทำแผนที่ภูมิประเทศ โดยโซ่และเข็มทิศ ในต่างจังหวัด เพื่อเก็บข้อมูล สำหรับทำแผนที่ประเทศไทย | ||||
นายอาร์ ดิบบลิว กิบลิน (R.W. Giblin) ผู้ ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้ากรมแผนที่ ได้เข้ารับราชการ ไทยเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๗ ทาง กรมแผนที่ได้พยายามจะต่อสายสามเหลี่ยมให้โยง ยึดเข้าด้วยกันกับสายสามเหลี่ยม ซึ่งได้จัดทำไปแล้ว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูสำรวจ พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๓๘ แต่มีอุปสรรคบางประการ จึงต้องเลิกล้มความตั้งใจนั้น พระวิภาคภูวดลได้ให้นายกิบลินและนาย สไมลส์ไปทำการแผนที่จากเสียมราฐถึงบาสสัก ที่บาสสักได้มีการวัดทางดาราศาสตร์ หาลองจิจูดของบาสสัก ใช้วิธีโทรเลขและการวัดทางดาราศาสตร์หาเวลาอย่างละเอียดระหว่างกรุงเทพฯ กับบาสสัก ระหว่างที่ไปทำการแผนที่ครั้งนี้ นาย สไมลส์ได้ป่วยเป็นโรคบิด ถึงแก่กรรมที่บ้านจัน และได้มีการฝังศพไว้ที่สังขะ เมื่อสิ้นฤดูสำรวจ นายกิบลินได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ การรวบรวมข้อมูลและการเขียนแผนที่ประเทศไทยได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จ และจัดพิมพ์ขึ้น ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ภาษาอังกฤษได้พิมพ์ที่ลอนดอน เพราะเวลานั้น กรมแผนที่ยังไม่มีเครื่องมือพิมพ์ดีพอที่จะทำงานนี้ สำเนาฉบับต่อมา จึงได้พิมพ์ที่กรมแผนที่ |