แผนที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทางกรมแผนที่ได้ติดตามเรื่องเกี่ยวกับการทำแผนที่ ซึ่งเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการทำสงคราม มีอยู่ ๒ เรื่อง ที่อยู่ในความสนใจมากที่สุด ตอนท้ายๆ ของสงคราม ได้มีวิวัฒนาการใช้การถ่ายรูปทางอากาศ จากเครื่องบิน ทำแผนผัง และมีการให้กำเนิดระบบแผนที่ตาราง สนามรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ในพื้นที่หลายประเทศ แผนที่ของแต่ละประเทศ ของฝ่ายสัมพันธมิตร ใช้โครงสร้างแผ่นระวางแผนที่ ไม่เหมือนกันทั้งหมด การใช้ขนาดทรงวงรีของโลกก็มีความแตกต่างกันบ้าง กองทัพบกที่ ๒ ของประเทศฝรั่งเศสได้ริเริ่มนำระบบแผนที่ตาราง มาใช้ให้ชื่อว่า "ระบบแผนที่ตารางกิโลเมตรลัมเบิร์ต" (Quadrillage Kilometrique Systeme Lambert) ในเวลาสงคราม ปรากฏได้ผลดี บรรดากองทัพบกฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงใช้ระบบการนั้น ทั่วไป กรมแผนที่เห็นเป็นการสมควรที่จะจัดการคำนวณทำสมุดคู่มือแผนที่ตารางแบบลัมเบิร์ตขึ้น ไว้สำหรับใช้ในราชการ ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ใช้สมุดคู่มือแผนที่ตาราง สำหรับช่วยการคำนวณ และแสดงตารางเลข เพื่อให้หาผลได้ตามประสงค์ เป็นสมุดคู่มือปฏิบัติการต่อไป สมุดคู่มือแผนที่ตารางเล่มนี้ ได้คำนวณขึ้นไว้สำหรับประเทศไทย ใช้แบบเส้นโครงแผนที่ลัมเบิร์ตคอนฟอร์มาลรูปกรวย (Lambert Conformal Conic Projection) (คอนฟอร์มาลๆ ที่อยู่บนผิวพื้นของโลก จะแสดงไว้ถูกต้องตามตำแหน่งที่ และตามมาตราส่วนบนแผ่นแผนที่ และมาตราส่วนจะถูกต้องแท้ทีเดียวตามวงละติจูด ๒ วง ซึ่งเลือกใช้ในการคำนวณ และเส้นเมริเดียนเป็นเส้นตรง แผ่ออกจากศูนย์รวมกับศูนย์เดียว) การคำนวณเลขในสมุดเล่มนี้ ได้เลือกใช้ วงละติจูดที่ ๘ องศา และที่ ๑๘ องศา เพื่อให้ความคลาดเคลื่อน ในการจำลองรูปแผนที่ทั่วไปในประเทศไทยลงในแผ่นแผนที่ มีน้อยที่สุด นอกจากแผนที่ตารางซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ยังได้มีการใช้รูปถ่ายทางอากาศจากเครื่องบินทำ แผนผังและทำแผนที่ในระหว่างสงคราม ภายหลังสงครามได้เลิกแล้ว ได้มีการศึกษาวิจัย และสร้างอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับบการทำแผนที่ ด้วยรูปถ่ายทางอากาศในหลายรูปแบบ ทั้งที่ใช้เกี่ยวกับการถ่าย การบิน และการเขียนแปลจาก รูปถ่ายเป็นแผนที่ การดำเนินการเรื่องการทำแผนที่โดยใช้รูปถ่าย ทางอากาศ จึงต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ (มีบทความเขียนไว้ ในรายงานประจำปี กรมแผนที่ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๖๘) การทำแผนที่ภูมิประเทศโดยใช้รูปถ่ายทาง อากาศในประเทศไทย เริ่มใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ใน เวลานั้นทางกองทัพที่ ๒ ได้จัดให้สำรวจแผนที่ ภูมิประเทศในพื้นที่ระหว่างละติจูด ๑๖ ํ ๓๐ ' กับ ๑๗ ํ ๐๙ ' และลองจิจูด ๑๐๐ ํ ๑๕' กับ ๑๐๐ ํ ๓๐' โดยใช้นายทหารแผนที่ของกองทัพที่ ๒ เป็นหัวหน้า และมีนายสิบที่ได้รับการอบรมวิชา การแผนที่มาบ้างเป็นผู้ทำการสำรวจ เป็นแผนที่ มาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ แผนที่ชุดนี้ยังไม่เป็น แผนที่ที่ได้มาตรฐานของกรมแผนที่ เป็นแผนที่ ซึ่งทางกองทัพที่ ๒ ต้องการด่วนเพื่อใช้ไปพลาง ก่อน เพราะทางกรมแผนที่ยังไม่พร้อมที่จะไป สำรวจตามแผนกำหนดการในเวลานั้น ทางกรมแผนที่จึงได้ถือโอกาสที่จะใช้รูปถ่ายทางอากาศ สำรวจแก้ไขให้แผนที่ชุดนี้ เป็นการหาประสบการณ์ ด้วยความร่วมมือกับกรมอากาศยาน ซึ่งก็ต้องการหาความชำนาญ และประสบการณ์ ในการใช้รูปถ่ายทางอากาศ สำรวจแผนที่ภูมิประเทศ ได้เริ่มต้นถ่ายรูปบริเวณพื้นที่ซึ่งได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ การถ่าย และการพิมพ์รูป เป็นหน้าที่ของกรมอากาศยาน ซึ่งทำให้เพื่อใช้รวบรวมเขียนแก้ไขแผนที่ซึ่งทาง กองทัพได้สำรวจไว้ กรมอากาศยานได้ใช้เครื่องบินแบบเบรเกต์ (Brequet) บินถ่ายกล้องที่ถ่าย ก็เป็นของกรมอากาศยานที่มีอยู่แล้ว ใช้กระจกระยะศูนย์เพลิง (focus) ๒๖ เซนติเมตร แมกกาซีนบรรจุกระจกถ่ายครั้งหนึ่งถ่ายได้ ๑๒ รูป ขนาด กระจก ๑๘x๒๔ เซนติเมตร รูปที่ถ่ายมีมาตราส่วนประมาณ ๑:๑๐,๐๐๐ ใช้สนามบินที่พิษณุ- โลก และสร้างห้องล้างรูปในสถานที่นั้นใช้ใน การนี้ งานถ่ายรูปใช้เวลาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ประมาณหนึ่งเดือน พื้นที่ที่ถ่ายรูปประมาณ ๑,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร จำนวนรูปแผ่นพิมพ์ รูปถ่ายพื้นที่นั้น ๗๖๕ รูป งานครั้งนี้เป็นครั้งแรก จึงใช้เครื่องมือเท่าที่มีอยู่ เมื่อกรมอากาศยาน ส่งรูปถ่ายมาให้แล้ว การรวบรวมเป็นแผนที่เป็น หน้าที่ของกรมแผนที่การถ่ายรูปทางอากาศครั้งต่อมา คงใช้เครื่องมือกล้องถ่ายรูปอย่างเดียวกัน ได้ถ่ายทำ เพื่อการสำรวจแก้ไขแผนที่กรุงเทพฯ ทางตอนเหนือ ในระหว่างปลายเดือนมิถุนายน และต้นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ในการทำงานครั้งนี้ ได้มีการวางโครงหลักฐานไว้ล่วงหน้า และสร้างที่หมายเป็นรูปต่างๆ กัน โรยปูนขาวมีระยะห่าง กัน ๘๐๐-๑,๐๐๐ เมตร เพื่อให้รูปถ่ายมีที่หมาย ๔ หมุด แต่เนื่องจากเป็นฤดูฝนจึงต้องเสียเวลา ซ่อมที่หมายซึ่งโรยปูนขาวบ้าง ผลงานที่ทำไปนั้น ทำได้ดีกว่าที่พิษณุโลกมาก ใช้การรวบรวม แก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้ดี ในการนี้ได้กำหนดจะใช้รูปถ่าย สำหรับทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่ และจะใช้รวบรวมทำแผนที่รังวัดที่ดินได้ด้วย จึงได้ สั่งเครื่องแบบรูซิลล์ (Rousille) (ที่อินโดจีนฝรั่งเศส ได้ใช้วิธีการของรูซิลล์ สำรวจเป็นแผนที่รังวัดทำ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน) พื้นที่ที่ถ่ายงาน ครั้งนี้ ๙๐ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยรูปถ่าย ๔๕ รูป ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำ แผนที่ภูมิประเทศ ซึ่งยังไม่เคยสำรวจแบบมาตรฐานมาก่อน โดยใช้กล้องถ่ายรูป ซึ่งใช้ฟิล์มที่สามารถถ่ายได้แมกกาซีนหนึ่งๆ จำนวน ๑๐๐ รูป ซึ่งเพิ่งได้สั่งมาใช้ ในเวลานั้น กรมแผนที่มีโครงการสำรวจแผนที่ภูมิประเทศในภาคพื้นมณฑลนครราชสีมาให้เป็นพื้นที่ ซึ่งจะให้ติดต่อกันกับพื้นที่ ซึ่งจะได้มีการสำรวจภูมิประเทศตามแผนกำหนดการ พื้นที่ซึ่งได้เลือกทำครั้งนี้อยู่ทางด้านนอกของที่ตั้งตัวเมืองสุรินทร์ ระหว่างลองจิจูด ๑๐๐ ํ ๓๐ ' กับ ๑๐๔ ํ ๐๐' คลุมพื้นที่ ๓ ระวาง แผนที่สมัยนั้น มีขนาด ๑๐ข x ๑๐ข รวมประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรงานสำรวจทำแผนที่ภูมิประเทศครั้งนี้ ได้ เริ่มดำเนินการตามกรรมวิธีการสำรวจ ได้ส่งกองวางหมุดหลักฐานในพื้นที่ ซึ่งจะสำรวจใช้วงรอบ สร้างหมุดหลักฐานตามแบบที่ใช้งาน ชนิดที่ใช้ทำ แผนที่ภูมิประเทศ แต่มีเพิ่มเติมให้สีหมุดที่หมาย ซึ่งจะแปลเห็นได้ในรูปถ่ายแต่ละแผ่นซึ่งจะโรย ปูนขาวเป็นรูปต่างๆ กัน ให้เป็นที่สังเกตจดจำ ในรูปถ่ายได้ เพื่อใช้ในการรวบรวมรายละเอียด ภูมิประเทศ การบินถ่ายรูปได้ทำในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ถ่ายเป็นแนวตั้งเหนือ-ใต้ ๑๑ แนวบิน และถ่ายตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ๒๔ แนวบิน เป็นรูปถ่ายทั้งหมดประมาณ ๘๓๘ รูป คลุมพื้นที่ เหนือที่กำหนดไว้เดิมบางส่วน ๑๐ แนวบิน ทาง ละติจุดเหนือ ๑๕ ํ ๐๐ ' ที่ได้กำหนดไว้เดิม กล้อง ที่ใช้เป็นกล้องแบบ อีเกิลฟิล์ม เอฟ ๘ (F8 Eagle Film Camera) ซื้อจากอังกฤษเฉลี่ยมาตราส่วนรูป ประมาณ ๑:๑๕,๐๐๐เมื่อกรมแผนที่ได้รับรูปถ่าย เริ่มต้นเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ได้รวบรวมต่อเป็นแถบๆ แล้วปรับเขียนลงจุด ที่หมายหมุดหลักฐานก่อน เสร็จแล้วจึงได้ส่งไปให้แผนกพิมพ์พิมพ์สำเนาลง บนกระดาษโบรไมด์ แล้วถ่ายย่อเป็นมาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ การรวบรวมย่อทำเป็นมาตราส่วน ๑:๑๔,๐๐๐ ตอนต้นๆ ใช้เวลานานหน่อย แต่เมื่อได้ประสบการณ์มากขึ้น ก็ทำได้เร็วขึ้น | |
ภาพถ่ายทางอากาศกรุงเทพมหานคร | |
รูปถ่ายชุดแรกใช้เวลาทำจนเป็นแผ่นโบรไมด์ ๑:๒๕,๐๐๐ อยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงพร้อมที่จะให้กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศออกไปทำการในสนาม เพื่อสำรวจชื่อหมู่บ้าน ตำบล และจดความสูงที่หมาย ชื่อลำน้ำ ลำธาร เขต ตำบล ฯลฯ เพิ่มเติม เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับสำเนา รูปถ่ายทางอากาศอีกหนึ่งรุ่น เป็นรูปถ่ายแถบ ละติจูดเหนือ ๑๕ ํ ๐๐' ไปถึง ๑๕ ํ ๑๐' การรวบรวมลงจุดที่หมาย และการย่อลงเป็นมาตราส่วน ๑:๑๔,๐๐๐ กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศคงดำเนิน ไปตามแผนที่ที่ใช้รุ่นแรก เสร็จในปลายเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ในการนี้ ได้ให้นายร้อยโท ชิตวีร์ ภักดีกุล (ภายหลังได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอก หลวงชิตวีร์ สุนทรา) ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาในประเทศอังกฤษ และได้ให้รับการฝึกหัดอบรมในเรื่องนี้ที่แผนกภูมิศาสตร์ กรมเสนาธิการทหารบกอังกฤษ เป็นผู้ควบคุมดำเนินการ การถ่ายทำแผนที่ภูมิประเทศครั้งนี้ มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้มาใหม่ คือ กล้องถ่ายแบบอีเกิล (Eagle) ใช้ฟิล์ม สเตอริโอสโคป (Stereoscope) ชนิดเบา เป็นเครื่องที่ใช้อย่างธรรมดา (ไม่ใช่แบบพิสดารนัก และก็ใช้ประจำที่) และเครื่องวัดความสูงละเอียดแบบพอลิน (Paulin) และแบบนีเกรตต์และเซมบรา (Negrett and Zembra) ซึ่งเป็นแบบใหม่ที่สุด ในเวลานั้น เครื่องเล็งทาง แบบแอลดิส (Aldis sight) ที่ใช้ในการบินถ่ายก็ได้ รับมาแล้วและการติดตั้งใช้ยังไม่เรียบร้อยดีพอ ที่จะใช้การในเวลานั้น วิธีการรวบรวมและถ่ายทอดข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศให้เป็นแผนที่ภูมิประเทศ ดำเนิน การตามแบบของนายร้อยเอก ฮอทีน (Hotine) ขณะนั้นประจำอยู่แผนกภูมิศาสตร์ กรมเสนาธิการ ทหารบกอังกฤษ ภายหลังเป็นนายพลจัตวา เจ้ากรมแผนที่ทหารบกอังกฤษ (Ordnance Survey) (รายละเอียดวิธีการมีแจ้งอยู่ในหนังสือ Professional Paper of Air Survey Committee No.3 and No.4) ภายหลังการถ่ายรูปทางอากาศในการทำ แผนที่ในจังหวัดสุรินทร์ ก็ไม่ได้มีการถ่ายรูปทาง อากาศทำแผนที่อีกเป็นเวลานาน ก่อนสมัยที่จะมีเครื่องบิน ก็ได้มีการพัฒนา เครื่องมือและเครื่องใช้ในการสำรวจทำแผนที่ จากรูปถ่ายทางพื้นดินมากมาย หลายรูปแบบ ซึ่งรวมทั้งการปรับปรุงกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มม้วนแทนกระจก เครื่องวัดเขียนรายละเอียดจากรูปถ่ายเป็นแบบ ซึ่งมีชื่อว่า สเตอริโอ ออโตกราฟ (Stereo autograph) สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้ กระตุ้นให้โฟโตแกรมเมตรี (photogrammetry) จากผลความเจริญของเครื่องบิน สามารถทำแผนที่สังเขปเบื้องต้น (ลาดตระเวน) และการสืบแปล ความหมายของรายละเอียดในรูปถ่าย ศัพท์โฟโตแกรมเมตรี ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ ผู้ที่ทำการบุกเบิกการสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง คือ พันเอก เอเม โลส์เซดาต์ (Aime Laussedat) นายทหารช่างทหารบกฝรั่งเศส ได้สร้างเครื่องมือใช้สำรวจทำแผนที่ทางพื้นดิน และได้รับสมญานามว่า "บิดา แห่งโฟโตแกรมเมตรี" ศัพท์โฟโตแกรมเมตรียอมรับ ใช้กันทั้งในยุโรปและอเมริกา การสำรวจโดยรูปถ่ายคงทำจากพื้นดิน จน ถึงสมัยที่มีเครื่องบินแล้ว จึงได้เริ่มนำรูปถ่ายทาง อากาศมาใช้ทำเป็นแผนที่ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็น ครั้งแรก ทางการทหารที่ใช้รูปถ่ายจากบอลลูน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในขณะเกิดสงครามกลาง เมือง เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๔ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ฝ่ายเยอรมันใช้ ปืนใหญ่ขนาด ๓๘ เซนติเมตร มีลำกล้องยาว ยิงเข้ามาทางกรุงปารีส ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ใช้รูปถ่ายทางอากาศลาดตระเวนหาตำแหน่งที่ตั้ง ปืนใหญ่นั้นจากการแปลความหมายในรูปถ่ายหาที่ตั้งปืน และทิ้งระเบิดฐานที่ตั้งปืนได้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีผู้ให้ความสนใจเรื่องโฟโตแกรมเมตรีมากขึ้น ได้มีการพัฒนา และผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจทางอากาศ และวิธีใช้รูปถ่ายทางอากาศมากมาย หลายรูปแบบ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการใช้เครื่องมือหลักในการเขียนแผนที่ให้ความละเอียดถูกต้องมาก สร้างขึ้น โดยบริษัทไซส์ (เยอรมัน) และบริษัทวิลด์ (สวิตเซอร์แลนด์) เครื่องมือของทั้งสองบริษัทนี้มีผู้นิยมใช้มาก ยังมีเครื่องเขียนแผนที่อีกแบบหนึ่งเป็นแบบใหม่ ใช้หลักการแตกต่างกับเครื่องที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เครื่องมือชนิดนี้ เป็นแบบมัลติเพล็กซ์ (multiplex) สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ราคาน้อยกว่าแบบเครื่องของไซส์และวิลด์มาก หน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Man Service) ได้รับเครื่องมือแบบมัลติเพล็กซ์ เป็นเครื่องมือทำแผนที่มาตรฐาน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน่วยทหารนี้ ได้จัดพิมพ์แผนที่จำนวนหลายล้านแผ่น ให้กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทั่วไป ในสนามรบ ในพื้นที่มากมายหลายแห่งเป็นจำนวนล้านๆ แผ่น สงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้ ได้ทำให้มีความต้องการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการฝึกมาแล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเร่งรีบพัฒนาเครื่องมือ ช่วยในการถ่ายรูป ในการสำรวจ และต้นหน และยังมีจุดมุ่งหมาย ที่จะใช้โฟโตแกรมเมตรี เพื่อการโจมตี และป้องกันประเทศ ทั้งทางบก และทางทะเล จึงทำให้การแปลความหมายจากรูปถ่าย เป็นวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่สำคัญมาก ทางสหรัฐอเมริกายังได้รับความสำเร็จ ในการผลิตกล้องถ่ายรูป เป็นแบบทีไม่มีที่ปิด มีกรวยเลนส์เป็นคู่ และการทรงตัวแบบไจโรสโคป และรู้ถึงเทคนิคของการถ่ายรูปทางอากาศในเวลากลางคืน |