วัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเทศไทยมีวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่สำคัญๆ มีดังนี้ รำข้าว เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเปลือก ประกอบด้วยวัตถุหุ้มผิวข้าวสารปนแกลบ รำหยาบมีแกลบปนมากถึงร้อยละ ๖๐ ส่วนรำละเอียด มีแกลบปนน้อยมาก มีคุณค่าอาหารสูง มีวิตามินมากกว่าข้าวสารแท้ๆ รำละเอียดเป็นอาหารสัตว์ที่สำคัญยิ่ง ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด ใช้มากในอาหารโค สุกร และไก่ ในรำข้าวมีน้ำมันประมาณร้อยละ ๑๔-๑๘ มีการสกัดน้ำมันรำ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม กากที่สกัดน้ำมันออกแล้ว ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ดีเช่นกัน | |
| |
ปลายข้าว เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเปลือก คือ เศษเมล็ดข้าวสารที่แตกหักเป็นชิ้นเล็กๆ มีคุณค่าอาหารสูง ให้พลังงานมาก กากน้อย ใช้เป็นอาหารประเภทพลังงาน ส่วนมากใช้เป็นอาหารสุกร เป็ดไก่ และโคนม | |
| |
ฟางข้าว เป็นส่วนของต้นข้าว ซึ่งแก่เต็มที่ หลังจากนวดเมล็ดออกแล้ว ใช้เป็นอาหารหลัก ของโคกระบือในชนบท มีคุณค่าอาหารต่ำ มีกากเยื่อใยมาก ย่อยยาก แต่ก็สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ โดยการหมักน้ำยูเรีย ใช้ยูเรียร้อยละ ๖ ละลายน้ำพรมให้ทั่ว แล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ป้องกันมิให้อากาศเข้า หมักไว้ ๒๑ วัน นำออกใช้เลี้ยงโคกระบือได้ การหมักทำให้ย่อยง่าย นอกจากนั้น อาจเพิ่มคุณภาพ โดยให้สัตว์กินร่วมกับใบพืชสกุลถั่ว เช่น กระถิน ใบแค และถั่วอื่นๆ เป็นการเพิ่มโปรตีน และการย่อย | |
| เมล็ดข้าวโพด ใช้พันธุ์สำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ เช่น พันธุ์สุวรรณ ๑ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผสมและคัดเลือก โดยศูนย์วิจัยข้าวโพด และข้าวฟ่างแห่งชาติ เมล็ดข้าวโพดให้สารอาหารประเภทพลังงาน ประเทศไทยผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ และเหลือส่งขายในต่างประเทศด้วย การใช้เลี้ยงสัตว์ต้องบดหรือป่นเสียก่อน เพื่อให้ย่อยง่าย นอกจากนั้น เราผลิตข้าวโพดหวาน เป็นอาหารมนุษย์ เมล็ดข้าวโพดกลุ่มนี้ มีความหวานกว่าพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ หลังจากเก็บฝักแล้ว ต้นยังเขียวสด ใช้เป็นอาหารโคกระบือได้ดี นอกจากนั้น มีการปลูกข้าวโพด เพื่อเก็บฝักอ่อน จำหน่ายแก่โรงงานอาหารกระป๋อง บรรจุกระป๋อง ส่งขายต่างประเทศ ข้าวโพดฝักอ่อนใช้พันธุ์ข้าวโพดหวาน บางพันธุ์เก็บฝักขณะยังอ่อนๆ อายุประมาณ ๔๕ วันเท่านั้น ดังนั้นต้นและใบ จึงยังเขียวสดและอ่อน เหมาะกับการใช้เลี้ยงโคกระบือ ในระยะตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๘ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในเขตจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสระบุรี ใช้เศษต้น และเศษเปลือกข้าวโพดฝักอ่อน เลี้ยงโคนมอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีการซื้อขายกันโดยคิดราคา ๔๐๐ บาทต่อไร่ต่อการเก็บเกี่ยว ๑ ครั้ง ต้นข้าวโพดฝักอ่อนมีคุณค่าอาหารสูง โคชอบกิน |
เมล็ดข้าวฟ่าง | |
| |
หัวมันสำปะหลัง หัวมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีโปรตีน และแร่ธาตุต่ำ ดังนั้นในสูตรอาหารที่มีหัวมันผสมมาก จะต้องผสมอาหารประเภทให้โปรตีนให้พอเหมาะด้วย ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด แต่เรานิยมใช้ผสมอาหารโคและสุกร หัวมันสำปะหลังที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ ต้องหั่นตากแห้ง ป้องกันการบูดเน่า อาจเก็บไว้ใช้ในรูปหัวมันหั่น เรียกว่า มันเส้น หรือทำเป็นมันอัดเม็ด หัวมันสดมีสารพิษไฮโดรไซยานิกมาก ก่อนใช้เลี้ยงสัตว์ จะต้องตากแดด เพื่อให้สารชนิดนี้ลดปริมาณลง ประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังได้ปีละ ๑๕ ล้านต้น และส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ในประเทศยุโรปปีละ ๕ ล้านตัน ใบมันสำปะหลังมีสารโปรตีนสูงใช้เป็นอาหารโคกระบือได้ดี แต่จะต้องผึ่งแดด เพื่อลดสารไฮโดรไซยานิกก่อน เพื่อป้องกันอันตรายต่อสัตว์ กากถั่วเหลืองและกากถั่วลิสง เป็นของเหลือจากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดถั่ว เป็นแหล่งอาหารโปรตีน มีสารโปรตีนเกินร้อยละ ๔๐ ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด กากถั่วถ้าเก็บรักษาไม่ดีมีความชื้นสูง จะทำให้ขึ้นราและเกิดพิษจากสารอะฟลาท็อกซินได้ ปัจจุบันเราผลิตถั่วเหลืองไม่เพียงพอ ต้องสั่งเข้าจากต่างประเทศปีละประมาณสามแสนตัน เถาถั่วแห้งทั้งสองชนิด ใช้เป็นอาหารโคกระบือได้ดี ในภาคเหนือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรับซื้อเถาถั่วแห้งไว้ใช้เลี้ยงโคนม และนิยมกันมาก กากน้ำเต้าหู้จากถั่วเหลืองใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีเช่นกัน ถั่วเขียว ไม่ใช้เป็นอาหารสัตว์ใหญ่ เพราะราคาแพง แต่ใช้ผสมอาหารนก เถาถั่วเขียวใช้เลี้ยงโคกระบือได้ ปัจจุบันปลูกกันไม่มาก และราคาแพง กากเมล็ดฝ้าย ได้จากเศษเหลือของเมล็ดฝ้ายสกัดน้ำมัน มีโปรตีนประมาณร้อยละ ๒๘ ใช้เป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงโค สุกร ไก่ แต่มีสารพิษ เรียกว่า กอสซิปอล (gosypol) เป็นพิษต่อสุกรและไก่ นอกจากนั้นมีกากเมล็ดนุ่น กากงา กากเมล็ดปาล์มน้ำมัน กากยางพารา และกากมะพร้าว ซึ่งเป็นสารเหลือจากการสกัดน้ำมัน ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ |
เศษสับปะรด เป็นเศษเปลือกและไส้สับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง ใช้เป็นอาหารโคนม โคเนื้อ (โคขุนพิเศษ) กระบือได้ดี โดยนำมาหมักทิ้งไว้ ๑-๒ สัปดาห์ เพื่อลดความเปรี้ยว ใช้เลี้ยงโค ควบคู่กับอาหารข้น มีโปรตีนร้อยละ ๓.๑ กากร้อยละ ๑๓.๘ ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ เกษตรกรผู้ขุนโคในเขตอำเภอชะอำ และหัวหิน ซื้อเศษสับปะรดในราคาประมาณตันละ สองร้อยบาท แสดงว่า เศษสับปะรดกลายเป็นของมีค่า สำหรับการเลี้ยงโค ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๑ บริษัทสับปะรดกระป๋องแห่งหนึ่งในเขตอำเภอหัวหิน เลี้ยงโคขุนปีละ ๑,๐๐๐ ตัว โดยใช้เศษสับปะรดจากโรงงานของตนเอง เป็นอาหารหลัก เสริมด้วยอาหารข้น เท่าที่จำเป็น |
|
ปลาป่น ผลิตจากปลาทะเลที่ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารมนุษย์ โดยนำปลามาอบแห้งและป่น ใช้ผสมเป็นอาหารโปรตีน มีโปรตีนสูง และคุณภาพดี ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด ราคาแพง เราผลิตได้พอใช้ สำหรับอาหารกุ้งต้องใช้ปลาป่นที่มีโปรตีนสูงกว่าร้อยละ ๖๐ แต่เรายังผลิตได้ไม่ดีพอ จึงต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ เปลือกหอยและกระดูกสัตว์ ให้สารอาหารประเภทแร่ธาตุ เปลือกหอยให้ธาตุแคลเซียม กระดูกให้ธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสัตว์ ทั้งเปลือกหอย และกระดูก ใช้ป่นให้ละเอียด นำไปผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ในสูตรอาหาร | |
| |
กากน้ำตาล เป็นของเหลวพลอยได้จากโรงงานน้ำตาล เป็นอาหารประเภทให้พลังงานมีรสหวาน โปรตีนต่ำประมาณร้อยละ ๓ ใช้ผสมกับอาหารแร่ธาตุ หรือฟางข้าว หรืออาหารผสม นอกจากนั้นใช้ในการทำหญ้าหมัก เพื่อถนอมอาหารสัตว์ โดยใช้ประมาณ ๓๐ กิโลกรัมต่อหญ้า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม | |
| |
ยอดอ้อย เป็นผลพลอยได้จากการตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล ประกอบด้วยใบและยอดอ่อนของต้นอ้อย เป็นอาหารหยาบชนิดหนึ่งใช้เลี้ยงโคกระบือ มีโปรตีนต่ำประมาณร้อยละ ๓ กาก ร้อยละ ๑๓.๔ เมื่อขณะยังสดความชื้นร้อยละ ๖๒.๓ ใช้เลี้ยงโคได้ทั้งยอดสด หรือแปรรูปเป็นหญ้าหมัก |
ใบกระถินป่น ใบกระถินป่น ทำได้โดยเก็บใบกระถินมาตากแห้ง ๒-๓ วัน แล้วนำไปป่น ใช้ผสมอาหารไก่และสุกร ในอัตราไม่เกิน ๕ ส่วนต่ออาหาร ๑๐๐ ส่วน ส่วนในโคกระบือใช้ได้ถึง ๔๐ ส่วน เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และวิตามิน แต่มีสารพิษปนอยู่ด้วย ชื่อว่า สารมิมโมซีน และดีเอชพี มีพิษต่อไก่และสุกรอย่างรุนแรง ทำให้ขนร่วง กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ในโค กระบือ และม้า ทำให้ขนร่วง สุขภาพทรุดโทรม ต่อมไทรอยด์บวม อาการนี้เกิดได้ในกรณีให้กินมาก และเป็นเวลานาน เศษมะเขือเทศ | |
ฝูงแกะแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ อาจทำเป็นทุ่งปล่อยสัตว์แปลงใหญ่ มีรั้วล้อม แบ่งเป็นแปลงเล็กๆ หรือทำแบบหญ้าสวนครัว ใช้พื้นที่เล็กน้อยใกล้บ้านเรือน หรือไร่นา สำหรับเก็บเกี่ยวให้สัตว์กิน ไม่ปล่อยสัตว์ลงแทะเล็ม นอกจากมีทุ่งหญ้าธรรมชาติ ในท้องที่ต่างๆ ประกอบด้วยหญ้าพื้นเมืองหลายชนิด เช่น ทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ |