โครงสร้างสังคม สังคมไทยเป็นสังคมที่มีทั้งเหมือนและแตกต่างกันกับสังคมในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่ว่าเหมือนกันก็คือ เป็นสังคมมนุษย์เหมือนกัน แต่ละสังคม ต่างก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงสร้างสังคม ระบบทางเศรษฐกิจ และความนึกคิดในเรื่องจักรวาล และระบบความเชื่อเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันก็เนื่องมาจาก การอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ที่แตกต่างกัน การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดังกล่าว ทำให้มีรูปแบบทางวัฒนธรรม แตกต่างไปจากสังคมอื่นๆ เพราะฉะนั้นการที่จะทำความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างสังคม และรูปแบบทางวัฒนธรรมของไทย ให้เกิดภาพพจน์ขึ้นอย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานเสียก่อน | |||||
สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักมาช้านาน | |||||
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคพื้นแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเล เอาฝนมาตก ตั้งแต่ราวเดือน มีนาคม-เมษายน จนถึงราวเดือนตุลาคม ทำให้มีภูมิอากาศร้อน อบอ้าว และชุ่มชื้น กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านแผ่นดินใหญ่กลางทวีปเอเชีย พาเอาความหนาวเย็น และแห้งแล้งมาปกคลุม ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม การมีฝนตกเป็นประจำ เมื่อถึงฤดูกาลดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งเอื้ออำนวยอย่างยิ่งแก่การปลูกข้าว อันเป็นอาหารหลักของผู้คนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย จึงทำให้บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศ เป็นสังคมเกษตรกรรม ที่มีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักมาช้านาน แต่ดึกดำบรรพ์ ในเรื่องเช่นนี้ ประเทศไทยแตกต่างไปจากเพื่อนบ้านอื่นๆ ในลักษณะที่ว่า มีที่ราบลุ่ม ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกกว้างขวางมากมาย ในขณะที่ผู้คนมีจำนวนน้อยกว่า จึงทำให้มีโอกาสเลือกตั้งถิ่นฐานตามบริเวณต่างๆ ได้ตามชอบใจ ผลที่ตามมาก็คือ การเกิดชุมชนขนาดเล็กๆ กระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งแม้ว่าแต่ละกลุ่ม แต่ละแห่ง จะมีการติดต่อกัน ทางเศรษฐกิจ และสังคม แต่การอยู่ห่างกัน ทำให้ไม่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีผู้คนอยู่กันหนาแน่นดังเช่นประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกัน ดินแดนประเทศไทย ก็อยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ที่อยู่ท่ามกลางการคมนาคม ทั้งทางบก และทางทะเลเช่นบรรดาประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยกลายเป็นสังคมเปิด ที่มีการเคลื่อนไหวไปมาของผู้คนจากภายนอกตลอดเวลา ทำให้มีผู้คนเคลื่อนย้ายเข้ามาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน จนถึงปัจจุบัน พร้อมกันนั้น ก็มีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจากภายนอกอีกด้วย | |||||
การที่ประเทศไทย มีที่ราบลุ่มจำนวนมากที่เหมาะกับการเพาะปลูก จึงทำให้เกิดชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ | |||||
สังคมมนุษย์ในดินแดนประเทศไทย มีการติดต่อแลกเปลี่ยนอารยธรรม และวัฒนธรรมกับภายนอกมาช้านานกว่า ๒,๐๐๐ ปี จนเกิดเป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นรัฐ และอาณาจักร จนในที่สุดก็เป็นประเทศชาติอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ พัฒนาการทางสังคมดังกล่าวนี้ทำให้สังคมไทย มี ๒ ระดับคือ สังคมเมือง และสังคมชาวนา หรืออีกนัยหนึ่งสังคมบ้าน กับสังคมเมืองนั่นเอง สังคมทั้ง ๒ ระดับนี้ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่พึ่งพากันอย่างแยกไม่ออก สังคมบ้านมีหมู่บ้านเป็นหน่วยทางสังคมที่อาศัย ทั้งพื้นที่ และความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เป็นสิ่งที่สร้างให้เกิดการรวมกลุ่มทางสังคม ประกอบด้วยครัวเรือนหลายกลุ่มมาอยู่รวมกันในที่แห่งเดียวกัน ส่วนใหญ่ครัวเรือนแต่ละกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันในการเป็นครอบครัวเดียวกัน กล่าวคือ ภายในพื้นที่ของครอบครัวหนึ่ง จะประกอบด้วยครัวเรือนอย่างน้อย ๒ หรือ ๓ หลังขึ้นไป ซึ่งเจ้าของเรือนมักเป็นพี่สาว และน้องสาวกันทั้งนั้น เพราะประเพณีการสร้างบ้านเรือนหลัง แต่งงานของคนไทยทั่วไปนั้น นิยมให้ฝ่ายชายมาอยู่กับทางฝ่ายหญิง โดยที่ในระยะแรกๆ ลูกเขยจะเข้ามาอยู่ในครัวเรือนของพ่อตาแม่ยาย ช่วยทำงานอยู่ราว ๑-๒ ปี หลังจากนั้นก็จะแยก ออกมาสร้างครัวเรือนใหม่ในเนื้อที่ของบ้านพ่อตาแม่ยาย ตามปรกติก่อนการแยกเรือน ออกจากเรือนใหญ่นั้น ครัวเรือนของพ่อตาแม่ยายจะเป็นครอบครัวรวม ที่มีคู่ผัวเมียอยู่รวมกันไม่น้อยกว่าสองหรือสามคู่ นั่นก็คือ คู่ของพ่อแม่ และคู่ของลูกสาวลูกเขยอีกหนึ่งหรือสองคู่ แต่ถ้าหากลูกสาวคนโตแยกเรือนออกไปแล้ว ครอบครัวของพ่อแม่ ก็จะเล็กลง มีพ่อ แม่ และลูกชาย หรือลูกสาวคนสุดท้องอยู่รวมกัน โดยปรกติ เมื่อลูกสาว หรือลูกชายคนสุดท้องแต่งงาน ก็จะเอาคู่ของตนมาอยู่ร่วมกับพ่อแม่ด้วย ลูกสาวคนสุดท้อง มักเป็นคนที่พ่อแม่หวังจะฝากผีฝากไข้ให้ดูแล เมื่อยามแก่เฒ่า เมื่อสิ้นชีวิตลงแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ที่ได้รับบ้านเรือนของพ่อแม่เป็นมรดก แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ทรัพย์สินทั้งหมดของพ่อแม่ จะตกเป็นมรดกแก่ลูกคนสุดท้องไม่ หากมีการแบ่งให้ได้เกือบเท่ากันหมดทุกคน เพราะฉะนั้นลูกชายเองก็ไม่ได้ไปอยู่กับทางฝ่ายภรรยาเพียงแต่ตัวเท่านั้น หากมีทรัพย์สมบัติ หรือที่ดินที่พ่อแม่ของตน แบ่งให้ติดตัวไปด้วย
เหนือระดับครัวเรือน และครอบครัวขึ้นไป ก็เป็นกลุ่มเครือญาติ การนับญาติของคนไทย โดยทั่วไปนั้น นับทั้งทางฝ่ายพ่อและแม่ เช่น น้องของพ่อจะเรียกว่า อา ส่วนน้องของแม่เรียกว่า น้า เป็นต้น ซึ่งการนับญาติจากทั้งสองฝ่ายนี้ ถ้าหากมองแบบเผินๆ แล้ว ก็จะเห็นว่า คนไทยแต่ละคน น่าจะมีเครือญาติพี่น้องมากมาย แต่ทว่าตามความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับบุคคคลแต่ละบุคคล จะสนใจ หรือเห็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ด้วย ถ้าหากไม่มีการพบปะ หรือติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติพี่น้องด้วย ก็จะเหินห่างไป จนไม่รู้จักกันก็มี ดังเห็นได้จากการที่คนไทยส่วนใหญ่มักไม่ทราบ หรือสนใจว่า ผู้ที่เป็นปู่ เป็นทวด ที่ห่างขึ้นไป ๓-๔ ชั่วคน เป็นใครบ้าง ลักษณะเช่นนี้ดูต่างกันกับการนับญาติของคนจีน ซึ่งนับแต่ทางฝ่ายพ่อเท่านั้น จึงดูแคบ เพราะตัดการนับญาติทางฝ่ายแม่ออกไป แต่ทว่าดูลึกกว่า เพราะมีการรับมรดกแต่เพียงลูกชายคนโตเท่านั้น ลูกคนอื่นๆ ต้องพึ่งพิงอยู่กับพี่ชายคนโต ซึ่งนอกจากจะได้รับมรดกที่ดิน และทรัพย์สินส่วนใหญ่แล้ว ยังต้องทำหน้าที่รับผิดชอบในการเซ่นสรวง และดูแลหลุมศพ หรือฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษอีกด้วย การไหว้ฮวงซุ้ยแต่ละปี และการเซ่นไหว้บรรพบุรุษในยามตรุษจีน จึงเท่ากับทำให้ญาติพี่น้องได้มาพบปะกัน และฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อกัน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของคนไทย จึงมีลักษณะไม่แน่นอนตายตัว แต่มีความยืดหยุ่นอย่างมากมาย จนบุคคลหนึ่งๆ อาจใช้คำเรียกญาติกับคนอื่น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ที่สนิทชิดเชื้อได้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นเพื่อนฝูงมิตรสหาย หรือผู้ที่บุคคลแต่ละคนจะเห็นว่า เป็นประโยชน์แก่ตนได้ เลยทำให้คนบางคนอาจไม่มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ที่จะพึ่งพาได้เลยก็มี ในขณะที่บางคนมีอย่างเหลือเฟือ จนมักมีคำพังเพยกล่าวว่า "เวลามีเงินทองก็มีคนนับเป็นพี่เป็นน้อง" เป็นต้น การเลือกนับญาติ โดยเอาตามความพอใจของแต่ละบุคคลเช่นนี้ มักมีผลไปถึงการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันระหว่างพี่น้องกันเองด้วย และดูเหมือนจะกลายเป็นความขัดแย้งอย่างสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มเครือญาติของคนไทย ไม่มีความสำนึกในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเครือญาติของคนจีน | |||||
ผู้ที่มีบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันในชนบท ส่วนมากจะเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน | |||||
เมื่อเป็นเช่นนี้ความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสังคมบ้าน หรือสังคมชาวนา จึงขึ้นอยู่กับการอยู่ร่วมกันในชุมชนหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านนั้น ก็มีกลุ่มคนที่ต่างตระกูล ต่างครอบครัวมาอยู่รวมกัน จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะอยู่ได้ สิ่งที่เป็นจุดรวมในการสร้างความสำนึกร่วมกันก็คือ พื้นที่ ซึ่งทุกคนได้สร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหมู่บ้าน บ้านในความหมายที่แท้จริง ก็คือ ชุมชนนั่นเอง หาได้หมายถึง เรือนที่เป็นตัวอาคารไม่ แต่ละชุมชนหรือบ้าน ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น บ้านต้นโพธิ์ บ้านนาดี บ้านธาตุ บ้านเจดีย์หัก เป็นต้น โดยอาศัยสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษทางสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นมากำหนด เป็นชื่อขึ้นมา ชุมชนหมู่บ้านแต่ละแห่ง จะมีทั้งโครงสร้างทางกายภาพ และโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางกายภาพสามารถเห็นได้จากการแบ่งพื้นที่ของชุมชน ออกเป็นพื้นที่ทำนา หรือทำการเพาะปลูก พื้นที่ในหมู่บ้านที่นอกจากจะเป็นที่ตั้งบ้านเรือนแล้ว ยังมีพื้นที่สำหรับส่วนรวม ที่มีการสร้างวัด สร้างโรงเรียน สร้างป่าช้า และบริเวณที่กำหนดให้เป็นย่านตลาดที่แลกเปลี่ยน และซื้อขายสินค้ากัน ในขณะที่โครงสร้างทางสังคมนั้นคือ การกำหนดให้มีบุคคลที่ทำหน้าที่ต่างๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันขึ้น ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน พระสงฆ์ สามเณร ครู พ่อค้า แม่ค้า สัปเหร่อ เป็นต้น ในบรรดาบุคคล ประเภทต่างๆ เหล่านี้ ผู้ที่มีตำแหน่ง บทบาท และมีฐานะเป็นผู้นำของชุมชนก็คือ ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ และครู ผู้ที่ได้ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านนั้น มาจากการเลือกตั้งของผู้คนที่อยู่ในชุมชนนั้น ซึ่งโดยประเพณีแต่เดิม มักเลือกจากบุคคลที่มี อาวุโส มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับแก่คนทั้งหลาย ส่วนพระสงฆ์ก็ มักได้แก่พระที่เป็นเจ้าอาวาสที่ผู้คนรักใคร่นับถือ หรือไม่ก็เป็นพระสงฆ์ ที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ในเรื่องการปฏิบัติทางธรรม จนเป็นที่เคารพบูชาของคนทั้งหลาย ในขณะที่ครูเป็นผู้ที่รับทราบ และรับรู้ว่า มีความรู้ดีกว่าคนอื่นๆ เพราะได้รับการศึกษาเล่าเรียนมา
แม้ว่าในสังคมหมู่บ้านจะประกอบด้วยบุคคลประเภทต่างๆ ที่จะต้องสังสรรค์กัน เพื่อให้ทุกคนในชุมชนอยู่รวมกันได้ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ก็ตาม ความสัมพันธ์ทางสังคมที่บุคคลเหล่านี้ มีเหมือนกับชาวบ้านทั่วไป ก็ยังมีลักษณะ ที่เป็นอย่างพี่น้อง โดยอาศัยความอาวุโส ในเรื่องอายุเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิต ความเป็นอยู่ภายในชุมชน ไม่มีลักษณะโดดเด่น ไปจากกัน ทำนองตรงข้ามกลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันจนเป็นความเสมอภาคไป ความแตกต่าง ในเรื่องฐานะความร่ำรวย ที่อาจเห็นได้จากการมีเรือนหรือยุ้งข้าวที่ใหญ่โตกว่ากันก็ดี หรือจากการมีเงินทองมากกว่ากันก็ดี หาได้ทำให้คนเหล่านี้ แยกออกไปมีรูปแบบในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันที่ผิดแผกไปจากผู้อื่นไม่ เมื่อไม่มีความแตกต่างเช่นนี้เกิดขึ้น ความเป็นชนชั้นทางสังคม ก็ไม่ปรากฏในสังคมชาวบ้านแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามความเป็นชุมชนหมู่บ้านใน สังคมชาวนานั้นก็หาได้อยู่โดดเดี่ยวตามลำพังไม่ เพราะโดยธรรมชาติ ก็เป็นเพียงกลุ่มชนขนาดเล็ก ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองกับภายนอกจึงจะดำรงอยู่ได้ เงื่อนไข เบื้องแรกของชุมชนหมู่บ้านก็คือต้องอยู่รวมกับ ชุมชนหมู่บ้านอื่นๆ ในท้องถิ่นเดียวกัน ต่อจากนั้น จึงเกี่ยวข้องกันทางการเมือง และวัฒนธรรม กับสังคมเมืองในส่วนภูมิภาคและศูนย์กลางการ ปกครองในส่วนกลางในอันดับต่อไป ในเรื่องแรก ที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอื่นในท้องถิ่นนั้น เนื่องมาจากการตั้งหลักแหล่งของชาวบ้าน แต่เดิมนั้นกระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ ในลักษณะ ที่ห่างจากกัน เพราะที่ดินมีมากแต่ผู้คนมีน้อย เมื่อตั้งหลักแหล่งในที่ใดแล้วก็มักมีการขยายตัว อยู่ในบริเวณนั้น จากชุมชนหมู่บ้านในระยะแรก เริ่มเพียงสองสามแห่ง ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นใน เวลาต่อมา เพราะในรุ่นลูกหลานเมื่อมีคนมากขึ้น จำต้องเคลื่อนย้ายออกไปอยู่ใกล้ที่ทำกินที่อยู่ห่าง ออกไปจากชุมชนเดิม โดยในขั้นแรกก็เพียงออกไปจากหมู่บ้านเดิม ไปสร้างเรือน หรือห้างพักอยู่ ใกล้ที่ทำนาหรือในไร่ในช่วงเวลาของการเพาะปลูก หลังเก็บเกี่ยวแล้วก็อพยพกลับมายังบ้านเดิม พอนานเข้า ก็มีผู้คนอพยพออกมามากเข้า ก็ปักหลักถาวรอยู่ใกล้ที่ทำกินนั้น มีการสร้างวัด หรือสำนักสงฆ์ขึ้น แล้วนิมนต์พระสงฆ์รูปหนึ่ง หรือสองรูปมาจำพรรษา โดยที่ชาวบ้านต่างผลัด กันทำอาหารไปถวายเป็นประจำ เมื่อเกิดวัดและบ้านเรือนขึ้น ในลักษณะที่สัมพันธ์กันดังกล่าว ก็เท่ากับเกิดหมู่บ้านขึ้นใหม่ แต่เป็นหมู่บ้านที่ยัง คงความสัมพันธ์กับบ้านเดิม เพราะยังมีการติดต่อกันทางเศรษฐกิจ สังคมและประเพณีพิธีกรรม อย่างสืบเนื่อง ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีคนอยู่มานาน ก็มักจะมีการขยายตัวของชุมชนหมู่บ้าน มากกว่าที่อื่นที่เพิ่มเกิดใหม่ การมีชุมชนหมู่บ้าน เกิดขึ้นมากเช่นนี้ ทำให้เกิดความจำเป็น ที่ต้องจัดให้มีบริเวณที่เป็นศูนย์กลางทางสังคม วัฒนธรรม และการปกครอง ในลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดเมืองขึ้น | |||||
การซื้อขาย และแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในชุมชนระดับหมู่บ้าน | เมืองในสมัยก่อนนั้น หาได้เป็นชุมชน แออัดที่เป็นย่านธุรกิจการค้าและสัมพันธ์กับ สถานที่ราชการที่มีผู้คนหลายกลุ่มหลายอาชีพมา พบปะสังสรรค์กันไม่ หากเป็นแต่เพียงชุมชน หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้น อาจมีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้านอื่น แต่ที่สำคัญก็คือ เป็นชุมชนที่ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าเมือง หรือผู้ปกครองท้องถิ่น ตั้งบ้านเรือนอยู่ เรือนของเจ้าเมืองเรียกว่าจวนเจ้าเมือง เป็นทั้ง ที่อยู่อาศัย และที่ทำงานเกี่ยวกับการบริหาร และการปกครอง โดยนัยเช่นนี้ จวนเจ้าเมืองจึงเป็นสิ่งที่แสดงความสำคัญของชุมชน เมืองบางเมือง ที่อยู่มานาน อาจมีการสร้างวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางประเพณีพิธีกรรมของท้องถิ่นด้วย ซึ่งเท่ากับเพิ่มบทบาทของเมือง ให้มีหน้าที่ทั้งในการเป็นศูนย์กลางการปกครอง และวัฒนธรรมในเวลาเดียวกัน นอกจากการมีจวนเจ้าเมือง เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นเมืองแล้ว เมืองยังประกอบด้วย คณะบุคคล ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง โดยมีเจ้าเมืองเป็นหัวหน้า ในบรรดาคณะบุคคลดังกล่าวนี้ ก็มีผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นหัวหน้าชุมชนหมู่บ้านแต่ละแห่งรวมอยู่ด้วย ผู้ที่จะเป็นเจ้าเมืองได้นั้น ต้องมีการแต่งตั้งจากศูนย์ การปกครองที่ส่วนกลาง ซึ่งอาจจะแต่งตั้งบุคคลในท้องถิ่น หรือจากถิ่นอื่นมาปกครองก็ได้ โดยปรกติเมืองเล็กๆ ก็อาจแต่งตั้งผู้ที่เป็นผู้นำในท้องถิ่น ให้เป็นเจ้าเมือง แต่ถ้าหากเป็นเมืองใหญ่ ในระดับนคร ก็อาจแต่งตั้งขุนนางข้าราชการจากส่วนกลาง มาปกครองก็ได้ | ||||
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเมืองเล็กกับ เมืองใหญ่ก็คือ เมืองใหญ่มักมีสภาพและฐานะ เป็นสังคมเมือง (urban society) ในขณะที่เมือง เล็กยังอยู่ในลักษณะที่เป็นสังคมหมู่บ้าน สิ่งที่ทำให้แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือ การมีย่านตลาด อันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัย และค้าขาย ภายในบริเวณเมือง ทำให้มีผู้คนหลากหลายในอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ มาอยู่รวมกัน เกิดมีลักษณะที่เป็นชนชั้นขึ้น ได้แก่ ชนชั้นปกครอง เช่น พวกเจ้านาย ขุนนางที่มียศถาบรรดาศักดิ์ ชนชั้นกลาง เช่น พวก พ่อค้า ข้าราชการ และชนชั้นสามัญ เช่น ชาวนา ชาวไร่ และผู้มีอาชีพเป็นกรรมกรรับจ้างทั่วไป โดยทั่วไปตำแหน่งที่จะเป็นย่านตลาด ที่มีพัฒนาการเป็นสังคมเมืองได้นั้น มักเป็นบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง ในการคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นทางบก หรือทางน้ำ ถ้าเป็นทางน้ำก็มักจะพบในบริเวณ ที่แม่น้ำลำคลองมาบรรจบกัน ส่วนทางบกก็ เป็นชุมทางของถนนสายต่างๆ ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดต่างๆ นั้น มีเป็นจำนวนมากทีเดียวที่สืบเนื่องและเติบโต จากชุมชน ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำใหญ่ ที่เป็นเส้นทางคมนาคมในอดีต เช่น กรุงเทพฯ อยุธยา อุบลราชธานี เชียงใหม่ และเพชรบุรี เป็นต้น | |||||
ความสัมพันธ์ของพระภิกษุกับชาวบ้าน ที่ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนในอีกรูปแบบหนึ่ง | |||||
เหนือระดับเมืองใหญ่ หรือนครขึ้นไป ก็เป็นเมืองหลวง ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงเมืองเดียว คือ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางทางการคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองของประเทศ แต่สิ่งที่ทำให้โดดเด่น และแตกต่าง จากบรรดาเมืองใหญ่ๆ ทั้งหลายก็คือ เป็นสถานที่ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มีพระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนครหลวง สังคม เมืองหลวงจึงเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน และหลากหลายในเรื่องชนชั้น ระดับสูงที่สุดก็คือ พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ที่นับเนื่องเป็นชนชั้นเจ้านาย รองลงมาก็คือ บรรดาขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันรวมไปถึงบรรดา พวกพ่อค้าคหบดีที่มั่งคั่งด้วย ต่ำลงมาได้แก่ ชนชั้นกลางที่มีพ่อค้า ข้าราชการ และผู้ ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่มีความเป็นอยู่และ ฐานะแบบกรรมกร จากนั้นก็มาถึงชนชั้นกรรมกรที่เป็นผู้ใช้แรงงาน จนถึงคนยากจนที่หาเช้ากินค่ำต่างๆ |