ประเพณีการสืบทอดการช่างของไทย วิชาการช่างของไทยมักไม่ค่อยมีการจดบันทึกเป็นตำราเอาไว้ ตั้งแต่อดีต การสอนมักเป็นไปตามความเหมาะสม ระหว่างครูกับศิษย์แต่ละคน และแต่ละสกุลช่าง ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สังคมโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรม ผู้คนพึ่งพาอาศัยกัน เหมือนเครือญาติ การสืบทอดวิชาช่างส่วนใหญ่ จึงเป็นแบบเครือญาติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะครอบครัวช่าง มักถ่ายทอดวิชาช่างให้บุตรหลาน หรือญาติพี่น้องในครอบครัวก่อน เช่น พ่อเป็นช่างไม้ ลูกก็ต้องได้รับการสอนวิชาช่างไม้ ครอบครัวช่างเงิน ช่างทอง ช่างมุก ช่างถม ฯลฯ ก็มักสืบทอดวิชาช่างนั้นๆ ให้ลูกหลานของตนด้วย หากบุตรหลานไม่สนในวิชาช่างดังกล่าว จึงจะถ่ายทอดวิชาให้แก่บุตรหลานของผู้ที่นำมาฝากตัวเป็นศิษย์ต่อไป สิ่งหนึ่งที่ช่างไทยยอมรับนับถือ และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบันคือ ช่างทุกคนจะต้องมีครู จึงมีวิธีปฏิบัติในการฝากตัวเข้าเป็นศิษย์กับการยอมรับศิษย์ของครูช่าง พิธีกรรมอันเป็นเสมือนข้อตกลงตามภาระหน้าที่ ระหว่างครูกับศิษย์เช่นนี้ เรียกว่า "พิธีบูชาครู" หรือ "พิธีไหว้ครู" แม้ในการศึกษาเล่าเรียนวิชาอื่นๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ย่อมรับพิธีไหว้ครูเป็นพิธีบูชาครูเช่นกัน | |
"พิธีครอบ" เป็นพิธีที่ทำให้เกิดประเพณีไหว้ครูสืบต่อมาถึงปัจจุบัน | |
ยังมีพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "พิธีครอบ" เป็นพิธียอมรับความเป็นช่างที่มีครู มีการอัญเชิญครูช่างที่ล่วงลับไปแล้ว มาเป็นพยานว่า จะมีศิษย์เข้ามาเรียนวิชาช่าง ศิษย์ที่ได้รับการครอบจากครูช่างแล้ วจะสามารถเรียนรู้และฝึกฝนการเป็นช่างต่อไป อย่างราบรื่นไม่มีอุปสรรคความเชื่อ เช่นนี้ทำให้เกิดประเพณีไหว้คร ูและพิธีครอบสืบต่อมาถึงปัจจุบัน โดยเหตุที่การสอนวิชาช่าง และศิลปะต่างๆ ของไทยแต่โบราณ เป็นลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน ครูมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากศิษย์ แต่กลับเป็นฝ่ายให้ที่อยู่อาศัย และอาหารการกินแก่ลูกศิษย์ และถือเสมือนลูกศิษย์เป็นสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น จึงถ่ายทอดวิชาให้หมดสิ้นโดยไม่ปิดบัง แต่ถ้าเห็นว่าศิษย์คนใดไม่สนใจต่อการเรียน ครูช่างก็จะระงับการสอนชั้นสูง และเกร็ดลึกซึ้งต่างๆ ให้ จึงดูเหมือนว่าครูช่างนั้นๆ หวงวิชา ครูช่างบางคนถึงกับสั่งให้นำตำราและเครื่องใช้ของตน เผาไฟพร้อมกั[ศพ เพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดสืบทอดวิชาของตนต่อไป | |
โรงเรียนเพาะช่าง เป็นโรงเรียนวิชาช่างแห่งแรกของไทย ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง | |
โดยทั่วไปความรู้และประสบการณ์ทางการช่าง ที่ได้รับจากการอบรมสั่งสอนของครูช่างนั้น เป็นสรรพวิชาที่มีอยู่ในตัวครูช่าง มิได้บันทึกไว้เป็นตำราตายตัวแต่อย่างใด เป็นการสอนที่ไม่มีระบบแน่นอน การสอนทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่ครูช่างเป็นผู้กำหนดเองทั้งสิ้น เพราะครูช่างก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจาก ครูของตนแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงเกิดเป็นแบบ แผนเฉพาะที่สืบต่อๆ กันมา จนเกิดเป็น "สกุลช่าง" การสอนในแต่ละสกุลช่าง ก็มิได้มีตำราจดบันทึกไว้ อาศัยการสอนกันด้วยปากต่อปาก แบบมุขปาฐะ โดยยึดถือตามแบบแผนของสกุลช่างนั้นๆ สืบทอดกันมา พระภิกษุที่เป็นช่างมีส่วนสำคัญในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์มาแต่ดั้งเดิม จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการแยกการศึกษาออกจากทางวัด ถึงแม้สถานที่เรียน ยังอยู่ในบริเวณวัดก็ตาม ทำให้วัดซึ่งเคยเป็นศูนย์เป็นศูนย์กลาง ของการศึกษาศิลปวิชาการต่างๆ ลดความสำคัญลง พระช่างที่เคยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวิชา พลอยถูกลดความสำคัญลงไปด้วย | |
มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของไทย | |
การเรียนวิชาการช่างของไทยได้พัฒนาเป็นอันมาก ควบคู่กันกับภาวะเศรษฐกิจ และสังคม การช่างบางชนิดไม่ได้รับความนิยม และในขณะเดียวกันได้มีผู้พิจารณาว่า การช่างของไทยอาจจะเสื่อมสูญไป ถ้าไม่มีสถานสอนวิชาช่างรองรับ ดังนั้น จากความพยายามที่จะสร้างโรงเรียนช่างขึ้น ด้วยการจัดตั้งเป็น สโมสรช่าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยเริ่มจากการสร้างเป็นโรงงานเล็กๆ สำหรับสอนวิชาช่าง ตั้งอยู่ข้างโรงเรียนราชบูรณะได้รับความนิยมมาก เริ่มมีการเก็บเงินค่าเล่าเรียน และจัดแบ่งวิชาช่างเป็นแผนกๆ ให้ผู้สมัครเลือก เรียนตามความถนัดของตน ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๓ กรมศึกษาธิการได้ตั้งให้ชาวต่างประเทศชื่อ นายอี อีลี มาเป็นหัวหน้าครูช่าง พร้อมกับปรับปรุงหลักสูตรเพิ่มเติมวิชาสามัญทั่วไปไว้ให้เรียนด้วย เมื่อกิจการสอนขยายตัว และมีผู้มาสมัครเรียนถึง ๗๗ คน กระทรวงธรรมการครั้งนั้น จึงขอโอนกิจการของสโมสรช่าง มาขึ้นกับกระทรวง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปรับปรุงหลักสูตร การผลิตครูช่าง หรือการฝีมือมาช่วยสอน ดังนั้นสโมสรช่าง จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "โรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะ" และได้สร้างตึกเรียน เพื่ออุทิศถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งเชิญเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อโรงเรียน จึงได้รับพระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนเพาะช่าง" เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ โรงเรียนเพาะช่าง จึงเป็นโรงเรียนวิชาช่างแห่งแรกของไทย นับเป็นความก้าวหน้าของการ สืบทอดวิชาการช่าง จากการสอนของครูช่างแก่ ลูกศิษย์มาเป็นระบบโรงเรียนโดยสมบูรณ์ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองพัฒนามากขึ้น ความต้องการช่างจึงทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงได้มีการรื้อฟื้นวิชาการช่างในกรมศิลปากรขึ้นมา จัดตั้งเป็นโรงเรียน ใน พ.ศ. ๒๔๗๗ เรียกว่า "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" โดยให้สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรม ปีต่อมาจึงได้รับการยกฐานะเป็น กองโรงเรียนศิลปากร กรมศิลปากร กิจการของโรงเรียนนี้ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ นับเป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของไทย ที่สอนทั้งวิชาศิลปะไทย และศิลปะสากลตามแบบตะวันตก |