เล่มที่ 20
เสียงและมลภาวะทางเสียง
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การควบคุมเสียงรบกวน

วิธีลดปัญหาเสียงรบกวนโดยทั่วๆ ไป มี ๓ วิธี คือ

            (๑) ควบคุมที่แหล่งกำเนิดเสียง
            (๒) ปรับทางเดินเสียงจากแหล่งกำเนิด ไปยังผู้ฟัง
            (๓) ป้องกันหูของผู้ฟัง

            หากทำได้ทางเลือกที่น่าจะต้องทำได้แก่ วิธีที่หนึ่ง ส่วนการป้องกันที่หูของผู้ฟังเป็นวิธีสุดท้าย ซึ่งทำได้โดยใช้จุกสำหรับอุดหู เพื่อลดเสียง หรือเครื่องสวม หรือที่ครอบหู หรือหากต้องการป้องกันเสียงจากระบบสั่นสะเทือน ก็ให้ติดตั้งระบบการสั่นสะเทือนนั้นไว้ที่ขาตั้ง ซึ่งอยู่ห่างออกไป เพื่อทำให้เกิดการหน่วงการสั่น เป็นต้น วิธีดำเนินอย่างอื่นที่เป็นไปได้คือ เพิ่มระยะทางผ่านของเสียง ปรับทิศทางของแหล่งกำเนิดเสียงเสียใหม่ มิให้หันมาทางพื้นที่รับเสียง การใช้กำแพงกั้นเสียงระหว่างแหล่งกำเนิด และผู้รับเสียง ทำการคุมแหล่งกำเนิดอย่างสมบูรณ์ ฯลฯ การ ควบคุมเสียงภายในบริเวณที่มีผนังล้อมรอบ อาจทำได้โดยใช้วัสดุดูดกลืนเสียง เช่น กระเบื้องเนื้อพรุน สำหรับทำเพดาน และพื้นผิวแข็ง ณ ที่ ที่ต้องการการสะท้อนมาก การลดเสียงวิธีนี้เรียกว่า การดูดกลืนกสานต์ (Passive absorption) แต่ไม่ค่อยได้ผล เมื่อใช้กับความถี่ต่ำๆ ซึ่งต้องใช้เทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า การลดทอนเสียง แบบกัมมันต์ (active attenuation)