การตลาดสินค้าหัตถกรรม
เมื่อมีการผลิตสินค้าหัตถกรรมขึ้นมาแล้ว ก็จำเป็นจะต้องขายให้ได้ต้นทุนบวกกับกำไรกลับมา เพื่อการดำรงชีพ และขยายงาน แต่จะขายให้กับใคร ก็คงจะตอบว่า ขายให้แก่คนที่ต้องการซื้อสินค้านั้นๆ มาจำหน่ายต่อ หรือเก็บไว้ใช้เอง หมายถึง ผู้ค้าปลีก เอเยนต์ หรือนายหน้า รวมไปถึงผู้ส่งออก ซึ่งซื้อสินค้านี้ เพื่อนำไปขายต่อยังตลาดต่างประเทศ และผู้ใช้ หรือผู้บริโภคโดยตรง
ตลาดสำหรับสินค้าหัตถกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ตลาด คือตลาดภายในประเทศ (DOMESTIC MARKET) และตลาดส่งออก (EXPORT MARKET)
ตลาดภายในประเทศ (DOMESTIC MARKET)
การขายในประเทศ เป็นการขายที่เกิดขึ้นภายในประเทศของเราเอง จึงไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแต่ขายให้ได้ราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว
ช่องทางการจำหน่ายภายในประเทศโดยทั่วไปมีดังนี้คือ
ตลาดต่างประเทศ (EXPORT MARKET)
การขายไปยังตลาดต่างประเทศ หรือการส่งออก ผู้ประกอบการส่งออก จะต้องมีความพร้อมในด้านต่างๆ ตั้งแต่การจัดการ คือ เงินทุน สำนักงาน ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ดำเนินการ การรู้จัก และการสร้างความเชื่อถือต่อลูกค้า และประการสำคัญคือ ความพร้อมในด้านการผลิต เพื่อการส่งออก ซึ่งจะโยงไปถึงชนิดของสินค้า โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายใหม่ๆ มักจะนิยมเริ่มจากสินค้าหัตถกรรม เพราะเป็นสินค้าที่เข้าสู่ตลาดได้ง่าย เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร โดยไม่เก็บภาษีขาเข้า แม้กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดจะแตกต่างกันในแต่ละตลาด แต่ก็ไม่มากนัก จึงทำให้ผู้ส่งออกรายใหม่คิดว่า สินค้าหัตถกรรมนั้น ใช้เงินทุนน้อย สามารถหาผลิตภัณฑ์ได้จากแหล่งต่างๆ ในชนบท แต่ก็มีข้อที่ควรระวังคือ ความสามารถในการผลิต เช่น ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นหัตถกรรมไทย ที่ทำกันมาช้านาน ผู้ส่งออกจะไปซื้อจากชาวบ้านมาส่งออก แต่ถ้าหากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะมีปัญหาในการจัดหา เพราะแต่ละแห่งที่ผลิต จะมีคุณภาพ และฝีมือที่แตกต่างกัน และวัสดุที่ใช้ ก็ไม่เหมือนกัน คุณภาพของสินค้าจึงไม่สม่ำเสมอ ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้เสียลูกค้าไปได้เหมือนกัน
ปริมาณการผลิต และคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน ระยะเวลาการส่งมอบที่รวดเร็ว และตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญต่อการส่งออกอย่างมาก