ผลิตภัณฑ์เครื่องถมและเครื่องจักสาน ที่ผลิตโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรผ้าฝ้ายทอมือของภาคอีสาน ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสลักลาย | ศูนย์ศิลปาชีพในภาคต่างๆ นอกจากศูนย์ฝึกศิลปาชีพที่สวนจิตรลดาแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเห็นความจำเป็นต่อการฝึกศิลปาชีพในภาคต่างๆ จึง ปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพไว้ในภาคต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนการสอนในท้องถิ่นต่างๆ ในแต่ละภาค คือ ภาคกลาง มี ๑ แห่ง คือ ศูนย์ศิลปาชีพ พิเศษบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคอีสาน มี ๒ แห่ง คือ ที่บ้านกุดนาขาม และบ้านจาร จังหวัดสกลนคร ภาคเหนือ มี ๓ แห่ง คือ ศูนย์ศิลปาชีพ แม่ต่ำ จังหวัดลำปาง ศูนย์ศิลปาชีพแม่ฮ่องสอน และศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ มี ๑ แห่ง คือ ที่พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ประเภทของงานศิลปาชีพที่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ให้การส่งเสริมในท้องถิ่นของภาคต่างๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงพิจารณาจากสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และวัสดุในแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก กิจกรรมการฝึกอบรมศิลปาชีพในภาคต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ ภาคเหนือ ส่งเสริมให้ฝึกอบรมการเย็บ ปักถักร้อย การทอผ้า ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าจก การทำเครื่องประดับเงินและทอง ตามแบบศิลปะของชาวไทยภูเขา เป็นต้น ภาคอีสาน ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม การทอผ้าไหมมัดหมี่ เพื่อรักษาศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไว้ มิให้สูญหาย แต่ให้ปรับปรุงวิธีการทอ การย้อมสี การตกแต่งสำเร็จ ให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปลูกต้นหม่อน และเลี้ยงไหมอีกด้วย ภาคกลาง ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมการทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำเครื่องจักสานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และป่านศรนารายณ์ การทอผ้าฝ้าย การปั้นตุ๊กตาชาววัง การตัดเย็บเสื้อผ้า การถนอม อาหาร เป็นต้น ภาคใต้ ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมการทอผ้า การจักสานด้วยหวาย ไม้ไผ่ ย่านลิเภา การทอเสื่อกระจูด การเย็บปักถักร้อย การทำถมเงินถมทอง เป็นต้น |