ยางพาราพัฒนาโลก ยางพารามีความสำคัญแก่ประเทศไทยมาก เพราะเป็นสินค้าออก ที่นำรายได้ให้แก่ประเทศไทย เป็นมูลค่าปีละประมาณ ๔,๐๐๐ ล้านบาท๑ ประชากร ที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา มีจำนวนประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ คน นอกจากความสำคัญ ดังกล่าวแล้ว ยังช่วยให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมทำวัตถุยางสำเร็จรูป เช่น โรงงานทำยางรถยนต์ โรงงาน ทำรองเท้ายาง โรงงานทำของใช้ และอะไหล่ต่างๆ เป็นจำนวน ๒๐๐-๓๐๐ โรงงานอีกด้วย | ||||||||||||||||||||||
ชาวยุโรปพวกแรกไปพบชาวอินเดียนแดงในโลกใหม่ ใช้ยางเล่นเกม | ||||||||||||||||||||||
ยางพาราเป็นยางที่ได้มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ว่า ต้นยางพารา (เรียกตามภาษาพฤกษศาสตร์ว่า Hevea brasiliensis) สามัญชนทั่วไป เรียกว่า ยางพารา หรือ ต้นยางพารา (para rubber) ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ยางชนิดที่กล่าวนี้ซื้อขายกันที่ เมืองพารา ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้เพียงแห่ง เดียวเท่านั้น เพื่อสะดวกแก่การซื้อขายกันในครั้งนั้น จึงเรียกยางชนิดนี้ว่า "ยางพารา" ในระยะนั้น มียางที่ได้จากต้นไม้อยู่หลายชนิด เช่น ยางแคสติลลาในอเมริกากลาง ยางฟันทุเมียจากแอฟริกา และยางอินเดียรับเบอร์ ในเอเชียตอนใต้ ถิ่นเดิมของต้นยางพาราอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิล ต้นยางพาราเป็นไม้ป่า ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน ทั้งในที่ดอน และที่ลุ่มของแม่น้ำอะเมซอน จนถึงประเทศเปรู ชาวพื้นเมือง คือ ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาใต้ และอเมริกากลางรู้จักยางมานานแล้ว และได้นำเอามาใช้ทำประโยชน์มาหลายร้อยปี ก่อนที่ชาวยุโรปจะไปพบโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของต้นยางพารา ชาวอินเดียนแดงได้ใช้ยางทำลูกบอล ทำผ้ากันฝน และทำถุงเก็บน้ำปากแคบ | ||||||||||||||||||||||
ชาวยุโรปพวกแรกไปพบชาวอินเดียนแดงในโลกใหม่ ใช้ยางเล่นเกม | ||||||||||||||||||||||
ชาวยุโรปพวกแรกที่ไปพบชาวอินเดียนแดงในโลกใหม่ (อเมริกา) ใช้ยางเล่นเกม คือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) และลูกเรือของเขา เมื่อคราวเดินเรือไปอเมริกาเที่ยวที่ ๒ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๓๖-๒๐๓๙ ลูกบอลที่กระดอนขึ้นลงได้ ทำให้เขาสนใจมาก ต่อจากนั้น ก็มีชาวยุโรปไปพบอีก ได้นำตัวอย่างยางมาชมกันแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะยางแข็งตัวแล้ว ผู้ที่ไปพบต้นยางและได้เขียนรายละเอียด เกี่ยวกับลักษณะของต้นยาง รวมทั้งการใช้ยางทำผ้า กันฝน ทำรองเท้า และทำขวดยาง คือ ชาวฝรั่งเศส ชื่อชารลส์ มารี เดอ ลา คองดามีน์ (Charles Marie de la Condamine) ซึ่งเดินทางไปสำรวจพื้นโลก ในแนวเส้นศูนย์สูตร ในปีพ.ศ. ๒๒๗๙-๒๒๘๗ ผ่านลุ่ม แม่น้ำอะเมซอนขึ้นไปจนถึงประเทศเปรู ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ โจเซฟ พริสต์ลี (Joseph Priesly) นักเคมีชาว อังกฤษได้พบโดยบังเอิญว่า ยางก้อนที่เอามาจาก อเมริกามีคุณสมบัติพิเศษ ใช้ลบรอยดินสอดำได้ โดยกระดาษไม่เสียหายเลย จึงได้มีการตัดขายเป็นชิ้นเล็กๆ จำหน่ายในลอนดอนและปารีส เรียกว่า ยางลบหรือ รับเบอร์ (rubber) และต่อมาชาวยุโรปจึงเรียกยางว่า รับเบอร์ จนติดปาก มี ๒-๓ ประเทศเท่านั้นเรียกอย่าง อื่น เช่น ฝรั่งเศสเรียกยางว่า คาอุต์ชุก (caoutchouc) ตามภาษาพูดของอินเดียนแดงซึ่งแปลว่า "ต้นไม้ร้องไห้" ในปี พ.ศ. ๒๓๖๖ ชารลส์ แม็คกินตอช (Charles Macintosh) ชาวสก๊อต ได้ผลิตเสื้อยางกันฝนออกจำหน่าย แต่เป็นเสื้อกันฝนที่ใช้ไม่ทน ในภาษาอังกฤษคำว่า แม็คกินตอช ได้กลายเป็นสามัญนาม แปลว่า เสื้อฝน ตลอดมาจนทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ โทมัส แฮนค็อก (Thomas Hancock) ชาวอังกฤษได้คิดเครื่องจักร ฉีกยางได้สำเร็จ ในทางประวัติศาสตร์ของการยางถือว่า โทมัส แฮนค็อก เป็น "บิดาแห่งอุตสาหกรรมยาง" อีกประมาณ ๒๐ ปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ การพบอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ยางมีประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมากมาย คือ การพบกรรมวิธีทำให้ยางคงรูปโดยชารลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear) ชาวอเมริกัน โดยผสม กำมะถันและตะกั่วขาว แล้วอบความร้อน ยางจะไม่เหลว หรือเปราะ การอบความร้อนให้คงรูปเช่นกล่าวนี้ ต่อมาได้บัญญัติศัพท์เป็นภาษาอังกฤษว่า วัลคาไนเซชัน (vulcanization) ต่อจากนั้นการค้นคว้าในด้านนี้ ได้ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านพลังงานได้รุดหน้าไปไกล สามารถใช้พลังงานจากไอน้ำ รู้จักใช้พลังไฟฟ้าเดินเครื่องจักร เครื่องยนต์ เพื่อช่วยใน การสื่อสารและการคมนาคม การอุตสาหกรรมผลิตวัตถุสำเร็จรูปต่างๆ จึงได้เริ่มขึ้น มีการสร้างรถจักรยาน และรถยนต์ในเวลาต่อมา ยางพาราได้ช่วยให้การคิดประดิษฐ์ต่างๆ มีความสำเร็จโดยสมบูรณ์และก้าว หน้าไปได้รวดเร็ว จึงกล่าวได้ว่า ยางพารามีส่วนช่วยพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
ยาง
จากสวนยางทั้งหมดในประเทศต่างๆ ดังกล่าว ข้างต้นนั้น ในระยะนี้สามารถผลิตยางได้เพียงปีละ ประมาณ ๔ ล้านเมตริกตันเท่านั้น แต่โลกต้องการ ประมาณ ๗ ล้านตัน ในปัจจุบันนี้ จึงต้องใช้ยางเทียม ซึ่งผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียมเข้าช่วย ในจำนวนยางที่ โลกใช้อยู่ปีละ ๑๑ ล้านตัน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ ๖๐ ใช้ในการทำยางรถยนต์ ยางรถอื่นๆ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการขนส่ง ถ้าไม่มียาง การขนส่งโดย เครื่องบินและรถยนต์จะไปได้อย่างไร เครื่องทุ่นแรง อีกหลายอย่างจะช่วยแรงมนุษย์ได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ ยางได้ขยายตัวเข้าไปช่วยในการไถนา ปลูกพืช และเก็บเกี่ยวในท้องไร่ท้องนา เข้าไปบุกเบิกเปิดป่า ช่วยทำถนนหนทางเชื่อมการคมนาคม เป็นการช่วย ผลิตอาหารและช่วยขนส่งให้ด้วย สิ่งเหล่านี้ทุกประเทศ ในโลกรวมทั้งประเทศไทยยังต้องการอีกมาก เพราะทุกประเทศยังต้องพัฒนาต่อไปอีกเป็นร้อยๆ ปี ในอนาคต โลกจะต้องใช้ยางเทียมมากยิ่งขึ้น เพราะยางธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากต้นยางพารานั้น เพิ่มปริมาณได้ช้า ไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ๒ อัตราการใช้ยางของโลก ได้เพิ่มมากขึ้น ๑ เท่าตัวทุกๆ ระยะ ๑๐ ปี ฉะนั้น ยางธรรมชาติจากต้นยางพารา ไม่ว่าจะผลิตออกมาเท่าใด ก็ต้องขายได้หมดทุกปี | ||||||||||||||||||||||
๑ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๗ ประเทศไทยส่งยางออกนอกประเทศ มีมูลค่าปีละ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๘ โลกต้องการใช้ยางปีละประมาณ ๑๒-๑๓ ล้าน เมตริกตัน แต่ประเทศผู้ปลูกยางผลิตยางธรรมชาติได้เพียงปีละประมาณ ๔ ล้านเมตริกตัน นอกจากนี้ต้องใช้ยางเทียม |