การปลูกสร้างสวนยาง ๑. พื้นที่ที่จะใช้ปลูกยาง ควรใช้ดินที่เหมาะแก่การปลูกยางจริงๆ คือ ต้องเป็นดินร่วน ดินชั้นล่าง ต้องไม่เป็นหินดินดาน หรือลูกรังมากเกินไป หรือเป็นที่ทรายจัด หรือเป็นที่ลุ่มที่ขุดลงไปไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตรก็มีน้ำ หรือเป็นที่ที่น้ำท่วมในฤดูฝนเป็นเวลานานทุกปี ย่อมไม่เหมาะที่จะปลูกต้นยาง ควรจะปลูกพืชยืนต้นอย่างอื่นที่เหมาะกับสภาพของดิน จะได้ประโยชน์มากกว่า การปลูกสร้างสวนยางให้ได้ผลดี จำเป็นจะต้องศึกษาถึงวิธีปฏิบัติในการปลูก และการบำรุงรักษาสวนยางให้เข้าใจโดยตลอดเสียก่อน ๒. การเตรียมพื้นที่ จะต้องคำนึงถึงข้อสำคัญที่ควรระวัง ๓ ประการ คือ ๑) หญ้าคา เป็นศัตรูสำคัญของต้นยาง และพืชทุกชนิด จะต้องกำจัดให้หมดก่อนที่จะโค่นไม้ป่า หรือไม้ใหญ่ลง อาจทำได้โดยขุดเอารากออก หรือใช้ยาทำลาย ถ้าทิ้งไว้ทำลายภายหลังการโค่น หญ้าคาจะยิ่งเจริญงอกงามรวดเร็วขึ้น เพราะเป็นที่โล่งแจ้ง ปราศจากร่มเงา จะปราบยากลำบากยิ่งขึ้น ส่วนวัชพืชอย่างอื่นนั้น ถ้าเอาไว้คลุมดิน หรือเอาไว้ป้องกันการพังทลายของดิน หรือป้องกันการชะล้างของน้ำฝนบ้างก็ได้ แต่จะต้องหวดให้ต่ำอยู่เสมอ อย่าให้สูงเกินกว่า ๕๐ เซนติเมตร และไม่ให้ลุกลามเข้าไปใกล้แนวปลูกต้นยาง วัชพืชทุกชนิด จะต้องอยู่ห่างจากต้นบางทุกด้าน ไม่น้อยกว่า ๑ เมตร แต่ถ้าปลูกพืชคลุมดินแทนวัชพืชได้จะเป็นประโยชน์มาก มิใช่จะสะดวกแก่การดูแลรักษาเท่านั้น แต่จะช่วยให้ดินได้รับความชุ่มชื่น และได้รับธาตุอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย ๒) ดินบน ย่อมมีประโยชน์แก่ต้นไม้มาก ถ้าใช้รถแทรกเตอร์ช่วยขุดโค่น และเตรียมดิน จะต้องระวังหน้าดิน อย่าให้ถูกกลบเสียหายไปเสียเปล่าๆ ๓) แมลง และสัตว์ เช่น ปลวก เม่น ฯลฯ ที่จะกัดกินต้นยาง จำเป็นจะต้องหาทางป้องกันโดยไม่ทำให้สวนรกรุงรัง | ||
วัชพืชในสวนยางพารา | ||
๓. การกะระยะการปลูก ภายหลังที่ปราบหญ้าคา และได้โค่นไม้ใหญ่ลงหมดแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องเตรียมดินขุดหลุมไว้ให้พร้อมที่จะปลูกได้ทันที เมื่อถึงฤดูฝน ในการเตรียมดินและขุดหลุม ควรพิจารณาถึงสภาพของพื้นที่เสียก่อน ว่าเป็นที่ราบ หรือเป็นที่ควนเขา ทางน้ำที่มีอยู่เดิมใช้ได้ดีหรือไม่ ถ้าเป็นที่ราบ ปัญหาก็มีเพียงแต่การทำลำรางระบายน้ำเท่านั้น ถ้าเป็นที่ควนเขาหรือเป็นที่เนินลาด จะต้องหาวิธีป้องกันมิให้ฝนชะล้างดินด้วย โดยทำหรือแต่งที่ควนเขาให้เป็นขั้นๆ คล้ายกับขั้นบันได (terrace) บนขั้นจะมีชานดินกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร พอที่จะปลูกต้นยางให้เติบโตได้เต็มที่ ถ้าเป็นที่ลาดเอียงน้อย ควรจะทำคู และคันขวางดักน้ำไว้เป็นระยะๆ ในทางปฏิบัติที่ดีในเนื้อที่ ๑ ไร่ ควรจะมีต้นยางที่ได้ขนาดกรีดแล้วเพียงไร่ละประมาณ ๕๐-๕๕ ต้น ในการปลูก จำเป็นต้องปลูกเผื่อต้นตาย หรือต้นแคระแกร็นไว้ด้วย ฉะนั้น ในการกะระยะปลูกควรคำนึงถึงจำนวนต้น และคำนึงถึงความเจริญของต้นยาง อย่าให้เบียดกันจนเป็นเหตุให้ต้นแคระแกร็น ถ้าปลูกด้วยต้นกล้าจะต้องปลูกให้ได้ไร่ละประมาณ ๘๐ ต้น เพราะต้นกล้าแม้ว่าจะเป็นเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีเพียงใดก็ตาม ย่อมจะมีต้นอ่อนแอ และอาจเป็นเมล็ดที่ถูกผสมกับต้นอื่นๆ จึงต้องปลูกเผื่อไว้เล็กน้อย และถ้าปลูกด้วยตอติดตา หรือต้นติดตา หรือจะติดตาในแปลงภายหลัง ต้นที่ใช้ปลูกเหล่านี้ เป็นพันธุ์แท้ ไม่กลาย จะปลูกเพียงไร่ละประมาณ ๗๐ ต้น เท่านั้นก็พอ (๑) ถ้าเป็นพื้นที่ราบ ควรปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ระยะให้ใกล้กับสีเหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๔x๕ เมตร ๔.๕x๕ เมตร ๓.๕x๖ เมตร ถ้าต้องการปลูกพืช เพื่อหารายได้ชั่วคราวระหว่างแถวยาง หรือเป็นที่ที่มีฝนชุกต้องการให้เปลือกต้นยางแห้งเร็ว จะใช้ระยะตามข้อ (๒) ก็ได ้ ระยะตามข้อ (๒) ถ้าใช้ในที่ราบเรียกว่า ปลูกแบบถนน ถ้าไม่ต้องการปลูกพืช เพื่อหารายได้ หรือไม่มีวัตถุประสงค์อย่างอื่นแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะใช้ระยะตามข้อ (๒) เพราะจะทำให้เกิดภาระในการปราบวัชพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น การที่เปิดช่องไว้กว้าง จะทำให้รับลมมากเกินไป ถ้ามีลมแรง หรือพายุ ต้นยางอาจหัก หรือโค่นลงได้
(๒) ถ้าเป็นที่ควนเขาหรือที่ลาด ควรใช้ระยะระหว่างต้นให้ถี่ และระยะระหว่างแถว คือ ชานดินที่เป็นขั้นๆ ให้ห่าง เพื่อให้จำนวนขั้นบันไดน้อยลง โดยใช้ระยะ ๒.๕x๙ เมตร ๓x๗ เมตร หรือ ๓x๘ เมตร (๓) ถ้าเป็นสวนยางขนาดเล็ก เช่น สวนยางขนาดเนื้อที่ไม่เกิน ๕x๖ ไร่ ต้องการจะอาศัยปลูกพืชอื่นเก็บกินเป็นการถาวรทุกๆ ปี เช่น พืชล้มลุก หรือพืชอายุนานแต่เป็นต้นเล็กๆ เช่น กล้วย พริก สับปะรด ในกรณีนี้จะปลูกต้นยางโดยใช้แบบรั้วแถวเดียวก็ได้ แต่ละแถวให้ห่างกันเพียง ๒ เมตร หรือจะใช้แถวคู่ก็ได้ แต่ต้องให้ระยะแถวคู่แต่ละคู่ห่างกัน ๑๖-๑๘ เมตร และแถวคู่ทุกๆ แถว ต้องปลูกต้นยางเป็นรูปฟันปลาห่างหัน ๒.๕x๔ เมตรการปลูกแบบรั้วแถวคู่โดยใช้ระยะดังกล่าวนี้ อาจจะแก้ปัญหาต้นยางเอียงออกได้ดีขึ้น การใช้ระยะปลูกต้นยางตามข้อ (๓) เป็นแบบที่ไม่ดีนัก เพราะเป็นแบบที่ต้นยางอยู่ชิดกันเกินไป และเป็นแบบที่ปล่อยที่ดินให้โล่งแจ้ง ถูกแดดแผดเผามาก วัชพืชเจริญรวดเร็ว ถ้าไม่ใช้ที่ดินที่ว่างอยู่นี้ให้เกิดประโยชน์เป็นการถาวรแล้ว ไม่ควรใช้ระยะปลูกแบบนี้ นอกจากปรากฏข้อเสียดังกล่าวแล้ว การปลูกแบบนี้ยังปลูกต้นยางได้น้อยต้น คือ ปลูกได้ไร่ละประมาณ ๕๐-๖๐ ต้น เท่านั้น และถ้าปลูกแถวคู่ ต้นยางอาจจะไม่สมบูรณ์เต็มที่ และลำต้นมักจะเอียงออก ฉะนั้น ก่อนที่จะปลูกแบบนี้ จะต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่า จะใช้ที่ดินที่ว่างปลูกอะไรแน่ และพืช ที่จะปลูกนั้นจะได้ผล ช่วยให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่จะปลูกต้นยางอย่างเดียวหรือไม่ | ||
สวนยาง (แสดงให้เห็นระยะห่างของต้น) | ||
๔. การวางแนว และปักหมุด (มบ หรือชะมบ) เมื่อตัดสินใจว่า จะปลูกแบบใด และจะให้ระยะเท่าใดแล้ว ขั้นต่อไป คือ การปักหมุด และการขุดหลุม ก่อนที่จะขุดหลุมจำเป็นจะต้องรู้เสียก่อนว่า จะขุดตรงไหน ต้นยางจึงจะขึ้นเป็นแถวเป็นแนวได้ระเบียบ ถ้าจะปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือปลูกแบบถนนบนที่ราบ หรือบนเนิน หรือบนควนเตี้ยๆ ซึ่งไม่สูงชั้นจนถึงขนาดต้องทำชานดินเป็นขั้นบันไดอ้อมไปตามไหล่ควน หรือเนินแล้ว ควรจะปลูกให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ตั้งได้ฉากซึ่งกันและกัน ฉะนั้น ก่อนที่จะขุดหลุมจะต้องปักหมุด หรือปักมบให้เห็นแน่นอนเสียก่อน เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการปักหมุดมีดังนี้ ๑) ไม้ฉากขนาดใหญ่ ทำเองได้โดยใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อะไรก็ได้ยาว ๓ เมตร ๔ เมตร และ ๕ เมตร (หรือจะใช้ให้สั้นหน่อย โดยใช้ขนาด ๓ ฟุต ๔ ฟุต และ ๕ ฟุตก็ได้) มาประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือเป็นไม้ฉากขึ้น มุมที่ตรงกันข้ามกับด้านที่ยาว ๕ เมตร (หรือ ๕ ฟุต) จะเป็นมุมฉาก ๒) เชือก ลวด หรือหวายขนาดยาว ถ้าได้ขนาดยาวมากๆ ยิ่งดี แต่ไม่ควรสั้นกว่า ๒๐ เมตร เชือก ลวด หรือหวายดังกล่าวนี้ ควรขึงให้อยู่ตัวก่อนจะดีมาก ที่เชือก ลวด หรือหวายให้ทำเครื่องหมายระยะปลูกไว้เป็นระยะๆ ถ้าใช้ระยะ ๓ x ๘ เมตร ทุกๆ ระยะ ๓ เมตร ให้เขียนสีแดง หรือผูกผ้าแดงไว้ ส่วนระยะอีกด้านหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะ ๘ เมตร จะใช้เชือก ลวด หรือหวายเส้นเดียวกัน หรือจะใช้อีกเส้นหนึ่งต่างหากก็ได้ โดยเขียนสีอื่น เช่น สีเขียว หรือผูกผ้าสีเขียวเป็นเครื่องหมายทุกระยะ ๘ เมตร | ||
การปรับพื้นที่ที่เป็นเนิน หรือควรเขาคล้ายบันได | ||
เมื่อเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ง่ายๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ขั้นต่อไปควรพิจารณาวางทิศทางว่า จะตั้งต้นปลูกจากไหนไปไหน จะให้แถวต้นยางตรงไปทางทิศใด เพื่อต้นยางจะได้รับแสงแดดมากที่สุด เมื่อตกลงใจจะให้แถวต้นยางไปทางทิศไหนแล้ว ให้ลากเชือก ลวด หรือหวาย ที่ทำเครื่องหมายไว้แล้วไปตามแนวที่ต้องการ แล้วปักหมุดไว้ จากหมุดแต่ละหมุด ให้ลากเส้นตัดให้ได้ฉากซึ่งกันและกัน โดยอาศัยไม้ฉากที่เตรียมไว้สำหรับชี้แนว จะให้ตรงไปทางทิศใด ค่อยๆ ทำไปทีละแนว และปักหมุดไว้เป็นระยะๆ จะได้แนวที่ขนานไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับปลูกต้นยางต่อไป ๕. การทำชานดินขั้นบันไดให้ได้ระดับ ที่ดินที่เป็นเนิน หรือควนสูงยังใช้ทำประโยชน์ได้ โดยปรับพื้นที่ให้เป็นชานดินเหมือนกับขั้นบันได ให้ได้ระดับขนานไปกับพื้นดิน บางทีอาจต้องทำชานดินเป็นชั้นๆ อ้อมไปตามไหล่เนิน หรือควนทั้งลูก เครื่องมือในการหาระดับอย่างง่ายๆ เช่น ใช้ระดับน้ำในสายยางชนิดใส หรือใช้ไม้แนวระดับซึ่งมีขาสูงเท่ากัน ๒ ขา มีระดับน้ำติดไว้ตรงกลางของไม้ยาวที่ยึดขาทั้ง ๒ ไว้ หรือจะใช้ "ดิ่งหน้าจั่ว" ซึ่งมีเชือกผูกลูกดิ่งห้อยลงจากมุมบนของหน้าจั่วก็ได้ ความสำคัญของ "ดิ่งหน้าจั่ว" คือ ทุกๆ ครั้ง ที่เชือกลูกดิ่งจากมุมบนของจั่ว อยู่ที่จุดศูนย์กลางของฐานจั่ว ขาของหน้าจั่วที่ ยื่นออกไปเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง จะอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อตั้งต้นจากจุดหนึ่ง สมมุติว่า ขาของจั่วข้างหนึ่งวางอยู่ตรงหมุดที่ ๑ และขาอีกข้างหนึ่งวางอยู่ที่หมุดที่ ๒ เมื่อขยับขาจั่วทั้ง ๒ ข้างให้เส้นดิ่งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของฐานจั่ว ระดับของขาจั่วอยู่ตรง หมุดที่ ๓ ก็จะได้ระดับเดียวกันกับหมุดที่ ๒ และจะอยู่ในระดับเดียวกันกับหมุดที่ ๑ ด้วย ทำเรื่อยๆ ไปตามวิธีนี้ ระดับที่จะได้ ตรงหมุดที่ ๔-๕-๖ และต่อๆ ไปจะเท่ากันเสมอ และถ้าทำไปรอบๆ เนินจะวนกลับมาถึงหมุดที่ ๑ หน้าจั่วที่จะใช้ ควรให้สูงประมาณ ๒ เมตร สำหรับระยะระหว่างขาจั่วทั้ง ๒ ข้าง จะถ่างให้ตรงพอดีกับระยะปลูกที่ต้องการได้ยิ่งดี เช่น หน้าจั่วก้าวไป ๒ ครั้งให้ได้ระยะ ๓ เมตร พอดีที่จะปักหมุดสำหรับปลูกต้นยาง ๑ ต้น การหาระดับทำขั้นบันได ควรจะทำจากยอดเนินลงมา ระยะระหว่างขั้นควรให้ระยะตาม ข้อ ๓(๒) ข้างต้น ระยะขั้นจะถี่ห่างเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความชันของเนิน หรือควนด้วย ถ้าชันมากจะใช้ระยะถี่ขึ้นเล็กน้อยได้ (ระยะที่กล่าวนี้ หมายถึง ระยะถี่ห่างกันทางอากาศของต้นยาง ไม่ใช่ระยะที่วัดบนดินที่ลาดเอียง) การทำชานดินเป็นขั้นบัน ได ทำให้ใช้ที่ดินได้ประโยชน์ขึ้นแทนที่จะทิ้งที่ดินที่เป็นควนเขาให้เสียไป การปลูกต้นยางที่ดินควนเขาตามวิธีนี้เป็นการช่วยเก็บน้ำ และรักษาดินมิให้พังทลายด้วย ชานดินดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยตัดดินลึกเข้าไปในเนินเหมือนกับจะทำถนนเลียบเขา แนวชานดินกว้างประมาณ ๑.๕-๒ เมตร เอียงเข้าไปทางเนิน น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลเข้าไปในเนินดิน จะมีคัน ดินด้านนอกกั้นมิให้น้ำไหลตกลงมาจากชาน |
๖. การขุดหลุม และเตรียมการสำหรับปลูก เมื่อปักหมุดเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป คือ การขุดหลุมตรงที่ได้ปักหมุดไว้แล้วทุกหมุด | แผนภาพแสดงการขุดหลุมปลูกยางพารา |
หลุมที่จะขุด ควรขุดให้ได้ขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร กลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ และให้ลึกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ขนาดของก้นหลุมให้แคบกว่าปากหลุมเล็กน้อย ดินที่ขุดขึ้น ควรขุดแยกดินบนไว้ต่างหากจากดินชั้นล่าง ตากแดดไว้ประมาณ ๑๐-๑๕ วัน เมื่อดินแห้งแล้ว ให้ย่อยดินชั้นบนให้ร่วน แล้วกวาดลงหลุมไปตามเดิม ย่ำดินให้แน่นพอสมควร กะให้สูงจากก้นหลุมประมาณ ๒๕-๓๐ เซนติเมตร ถ้าไม่พอก็ให้กวาดหน้าดินที่อยู่รอบๆ หลุมด้วยก็ได้ แล้วจึงกวาดดินล่างซึ่งผสมกับปุ๋ยร็อคฟอสเฟต หลุมละประมาณ ๑/๒ กระป๋องบุหรี่ เติมลงไปจนเต็มหลุม ทั้งนี้เฉพาะการปลูกต้นตอติดตาเขียว ซึ่งเป็นต้นเล็กมากเท่านั้น ถ้าต้นที่ใช้ปลูกเป็นต้นขนาดใหญ่ รากลึกลงไปเกือบถึงก้นหลุม จะต้องใช้ดินบนผสมปู๋ยเอาไว้ก้นหลุม รากต้นยางจึงจะได้อาหารตามต้องการ เสร็จแล้วให้ปักหมุดไว้ตรงกลางหลุมตามเดิมจนกว่าจะถึงเวลาปลูก ถ้าหากเห็นว่าจะต้องรอเวลาอีกนาน กว่าจะปลูก จะเก็บปุ๋ยเอาไว้ผสมกับดินล่างเมื่อจะปลูกต้นยางก็ได้ ๗. การปลูกต้นยาง ต้นยางที่จะใช้ปลูกจะต้องเป็นต้นยางพันธุ์ดี ซึ่งมีสภาพต่างๆ กัน คือ (๑) กล้ายางพันธุ์ดี (หรือถ้าจะติดตาในแปลงก็จะต้องปลูกกล้าธรรมดาไว้ก่อน) ต้นกล้ายางพันธุ์ดีที่จะใช้ปลูกมี ๓ ขนาด ด้วยกัน คือ
| |
(๒) ต้นตอติดตา คือ ต้นตอที่ติดตาไว้แล้ว แต่ตายังไม่แตกยอด ถ้ามีแปลงขนายพันธุ์ยาง และมีต้นกล้าซึ่งจะใช้เป็น "ต้นตอ" สำหรับติดตา ได้ขนาดสำหรับติดตาอยู่พร้อมแล้ว เพียงแต่ติดตาในแปลงต้นกล้า แล้วย้ายไปปลูกในสวน จะทุ่นเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ดูแลรักษาสวนประมาณ ๑ ปี การถอนต้นตอที่ติด ตาแล้วให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับถอนต้นกล้า แต่จะต้อง ระวังตาที่เพิ่งติดไว้มิให้ชอกช้ำ โดยปกติเมื่อแน่ใจ ว่าตาติดแน่แล้ว แต่ยังไม่ผลิออกมาก็เป็นอันย้ายได้ ก่อนจะย้ายต้นมา ให้ตัดยอดให้เหลือเพียง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร เหนือรอยติดตาหรือให้เหลือเพียง ๕-๖ เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นตอติดตาเขียว ข้อควรระมัดระวังสำหรับการปลูกต้นตอติดตาก็คือ เมื่อย้ายเอาไปปลูกในสวนแล้ว ต้นตอติดตาบางต้น ตายางพันธุ์ดี ที่ติดไว้อาจจะแห้งตายไป และมีตาของลำต้นเดิมงอกออกมาแทน โดยที่เจ้าของสวนยางอาจเข้าใจผิดคิดว่างอกจากตายางพันธุ์ดี จึงปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไปกลายเป็นต้นยางพันธุ์เลวแทรกอยู่ (๓) ต้นติดตา คือ ต้นติดตาที่ตางอกเป็นต้นสูง ประมาณ ๑ เมตรแล้ว การปลูกด้วยต้นติดตา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าต้นที่ใช้ปลูกในสภาพอย่างอื่นที่กล่าวมาแล้ว เพราะต้นติดตาดังกล่าวนี้ ส่วนมากมีอายุประมาณ ๒ ปี นับตั้งแต่ปีที่เริ่มปลูกต้นตอเป็นต้นมา หรืออายุประมาณ ๑ ปีถ้าเป็นต้นติดตาเขียว เพราะฉะนั้น ในการขุด การถอน และการย้าย ตลอดจนการปลูก จะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายแพงกว่าต้นเล็กๆ บ้าง นอกจากนั้น หลุมที่ขุดเตรียมไว้ จะต้องใหญ่ และต้องลึกกว่าปกติอีกด้วย ในปัจจุบันนี้ สามารถเลี้ยงต้นติดตาเขียวในถุงพลาสติก ได้นานประมาณ ๑ ปี จึงเห็นว่า การใช้ต้นติดตาเขียวอายุ ๑๐-๑๒ เดือนปลูก จะทุ่นเวลาได้ ถึง ๑ ปี คือ ต้นยางที่ปลูกไว้จะกรีดได้ภายใน ๔ ปีเท่านั้น แทนที่จะเป็นเวลา ๕-๖ ปี |
การติดตาด้วยยางพันธุ์ดีกับต้นกล้าอายุ ๔-๕ เดือน | วิธีติดตาแบบใหม่ โดยติดตาตั้งแต่ต้นตอยังเขียวอยู่มีอายุเพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น ร่นเวลาได้มาก ปลูกก็ง่ายขึ้น ตายางที่ จะใช้ติดก็หาง่ายขยายพันธุ์ได้เร็ว การติดตาตามวิธีใหม่นี้เรียกว่า "การติดตาเขียว" ต้นตอตามวิธีนี้เรียกว่า ต้นตอตาเขียว แต่ทั่วๆ ไปมักเรียกว่า ต้นติดตาเขียว | ||
๘. วิธีปลูก ก่อนที่จะย้ายต้นยางที่จะใช้ปลูก ไปยังสวน จะต้องปรากฏว่า ๑) มีฝนตกชุก และดินชุ่มชื้นมากพอสมควร เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าปลูกในระยะที่ฝนยังไม่ชุกมากจริงๆ และดินยังไม่ชุ่มชื้นพอ จะทำให้รากไม่เจริญ และชะงักงันไปชั่วคราว กว่าจะตั้งตัวใหม่ได้อาจต้องกินเวลาหลายวัน หรือถ้าแล้งมาก ต้นอาจตายก็ได้ ๒) มีแรงงานที่จะช่วยกันปลูกไว้พร้อมเพรียง ถ้าปลูกเสร็จในวันเดียวกันกับที่ได้รับต้นยางมาจะดีมาก หากปลูกไม่ทันในวันนั้น จำเป็นจะต้องเลื่อนไปในวันรุ่งขึ้น ต้องรดน้ำที่ลำต้น และราก ให้ชุ่มชื้น ถ้าเอาไปเก็บไว้ในที่ที่ให้ปลายรากแช่น้ำเล็กน้อยได้ยิ่งดี ในการนำต้นยางลงปลูก ถ้าเป็นหลุมที่กลบดินเตรียมไว้แล้ว ให้ใช้ไม้แทงลงไปตรงกลางหลุม หรือใช้เสียมขุดเป็นหลุมตรงลงไป ควรใช้ไม้วัดรากแก้วตั้งแต่โคนต้นลงไป จนถึงปลายราก ว่ายาวเท่าใด แล้วจึงแทง หรือขุดเป็นหลุมลึกลงไปเท่าที่วัดได้ เมื่อสอดต้นลงไปแล้ว ปลายรากจะจดถึงก้นหลุมที่แทงหรือขุดไว้พอดี และโคนต้นจะอยู่ที่ระดับพื้นดินเดิม แล้วย่ำรอบๆ ดิน จะได้แน่น ไม่มีโพรงอากาศที่น้ำจะอาศัยค้างอยู่ได้ เป็นการป้องกันมิให้ดินโคลนต้นยุบลงเป็นแอ่งขังน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นยางแช่น้ำตายได้ การปลูกต้องระวังอย่าให้รากแก้ว และรากแขนง งอบิดเบี้ยว | |||
หลังจากติดตาแล้ว ๓ สัปดาห์ ตายางพันธุ์ดีจะติดเป็นเนื้อเดียวกับต้นกล้า ตุ่มที่เห็นบนแผ่นตาสีเขียว คือตายางที่จะงอกเป็นต้นยางพันธุ์ดีต่อไป | |||
การติดตาในสวนที่หลุมปลูกนั้น จะต้องติดตากับ ต้นกล้าที่ปลูกไว้แล้ว ต้นตอหรือต้นกล้าที่กล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ๒ วิธี วิธีที่ ๑ เอาต้นกล้าขนาดเล็กพันธุ์ธรรมดามาปลูกไว้ก่อน วิธีที่ ๒ เอาเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้าในหลุม ปลูก หรือเพาะเมล็ดเสียก่อน แล้วย้ายเมล็ดงอกเอาไป ปลูกที่หลุมปลูก เมื่อต้นกล้าอายุ ๓-๔ เดือนขึ้นไป คือ ลำต้นเริ่มมี สีน้ำตาลบ้างแล้ว ก็ใช้เป็นต้นตอสำหรับติดตาได้ ๙. พันธุ์ยางที่ควรใช้ปลูก ควรใช้พันธุ์ยางที่ปรากฎผลดีมาแล้ว คำว่า "ผลดี" ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึง ผลดีแต่เฉพาะน้ำยางอย่างเดียว ต้นยางที่ให้ผลดี หรือที่เรียกว่าพันธุ์ดีนั้น อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย คุณสมบัติต่อไปนี้ด้วย ๑) ให้น้ำยางสูงกว่าต้นยางธรรมดา ๒) เปลือกหนา ๓) เปลือกที่ถูกกรีดแล้วงอกใหม่เร็ว ๔) ความเจริญของลำต้นสม่ำเสมอดี ไม่ใช่พอกรีดแล้วต้นหยุดเจริญ หรือเจริญช้ามาก หรือล้ำต้นเปลี่ยนรูปไป ๕) เปอร์เซ็นต์เป็นโรคเปลือกแห้งมีน้อย หรือไม่มีเลย ยางพันธุ์ดีหลายพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก แต่กรีดน้ำยางให้ออกมากไม่ได้ มักจะกลายเป็นโรคเปลือกแห้ง และกรีดน้ำยางไม่ออกอีกต่อไป ๖) ต้นแข็งแรง พุ่มใบไม่ใหญ่เกินไป ทนต่อความแรงของลม หรือพายุได้ดี การที่จะให้รู้ว่า พันธุ์ยางชนิดใดจะมีลักษณะดีตามคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นจริงหรือไม่ ต้องใช้เวลานานมาก จะต้องกรีดทดลองเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐-๑๕ ปีขึ้นไป นับตั้งแต่ปีที่เริ่มกรีดได้ เจ้าของสวนยางจึงไม่ควรจะเสี่ยงต่อการใช้พันธุ์ยาง ที่ไม่รู้คุณสมบัติอันแท้จริง และไม่ควรตื่นไปตามคำโฆษณาชวนเชื่อ ข้อที่สำคัญที่สุด อย่าคิดแต่เรื่องน้ำยางมากอย่างเดียว ให้คิดถึงคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบ ในระยะนี้ มีพันธุ์ยางของต่างประเทศหลายพันธุ์ ที่อยู่ในระหว่างการทดลอง หลายพันธุ์กำลังให้ผลเป็นที่น่าพอใจ และก็มีหลายพันธุ์เหมือนกันไม่ให้ผลดี ได้คัดทิ้งไปแล้วเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่า ยังจะต้องคัดทิ้งต่อๆ ไปอีก ยังไม่แน่นอนว่า พันธุ์ใหม่ๆ ที่กำลังทดลองอยู่ มีพันธุ์อะไรบ้างที่เด่นในเรื่องนี้ ควรหารือกรมวิชาการเกษตร
พันธุ์ยางที่มีลักษณะ และคุณสมบัติดี ที่ใช้ปลูก ในปัจจุบันนี้ มีอยู่หลายพันธุ์ เช่น ๑) ถ้าใช้ในการติดตา ควรใช้พันธุ์พีอาร์ ๑๐๗ (PR 107) และอาร์อาร์ไอเอ็ม ๖๐๐ (RRIM 600) สองพันธุ์นี้ ควรปลูกในที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ดีจริงๆ และในที่ที่ปลอดโรคใบร่วงชนิดไฟทอพทอรา กับพันธุ์ พีบี ๕/๕๑ (PB 5/51) จีที ๑ (GT 1) และพีอาร์ ๒๕๕, พีอาร์ ๒๖๑ (PR 255, PR 261) |
๒) ถ้าใช้เมล็ดหรือต้นกล้าพันธุ์ดี ในปัจจุบันนี้ ไม่นิยมใช้เมล็ดปลูกกันแล้ว เพราะหากล้าพันธุ์ดีได้ยาก และมักจะไม่ใช่พันธุ์แท้ สวนยางขนาดใหญ่ๆ ในมาเลเซียมีจำหน่ายอยู่บ้าง | ต้นยางติดตาพันธุ์ดี อายุประมาณ ๔ เดือน |
พันธุ์ยางดีชั้นรองๆ ลงไปยังมีอีกหลายพันธุ์ มีทั้งพันธุ์ที่ผสมในประเทศไทย และในต่างประเทศ๑ ยังไม่ควรใช้ปลูกให้มากนัก จนกว่าจะทราบผลแน่นอน ของทางราชการ หรือของเอกชนที่ทดลองอยู่แล้ว เช่น พันธุ์เคอาร์เอส ๒๓ พีบี ๒๘/๕๙ อาร์อาร์ไอเอ็ม ๗๐๓ (KRS 23, PB 28/59, RRIM 703) พันธุ์ยางที เจไออาร์ ๑ (TJIR 1) แม้ว่าจะเป็นพันธุ์เก่าซึ่งทางราชการไม่แนะนำให้ปลูก แต่ผลที่ประจักษ์อยู่ปรากฏว่า ในที่บางแห่งปลูกได้ผลดีมาก ฉะนั้น ผู้ปลูกจะต้องสังเกตดูว่า ถ้าที่ใดปลูกพันธุ์อะไรได้ผลดี ก็ควรปลูกพันธุ์นั้นต่อไปได้ | |
๑ เนื่องจากมีการผสมพันธุ์ยาง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีกว่าติดต่อกันมาทุกปี ในระยะต่อมาจึงมีการใช้ยางพันธุ์ใหม่ๆ มากขึ้น |