๒. จะต้องปรับปรุงการผลิตยาง ให้เป็นที่นิยมแก่โรงงานอุตสาหกรรมยางทั่วไป
สมัยนี้เป็นสมัยวิทยาศาสตร์ วัตถุดิบ หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ผลิตออกสู่ตลาด จะต้องรู้ว่า มีคุณลักษณะทางเทคนิค (technical specification) เป็นอย่างไร และมีคุณสมบัติ (technical property) เป็นอย่างไร ในการผลิตยางแท่ง ดังกล่าวแล้วข้างต้น สามารถแจ้งได้ทั้งลักษณะ และคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับยางเทียม
๓. จะต้องปรับปรุงการบรรจุหีบห่อให้สะดวกแก่การใช้และการขนส่ง
ในการผลิตยางแท่งก็ได้แก้ไข ในเรื่องนี้ด้วย โดยทำห่อเล็กๆ ขนาดมีน้ำหนักประมาณ ๓๔ กิโลกรัม หรือประมาณ ๗๕ ปอนด์ ห่อหุ้มด้วยถุงพลาสติก ป้องกันสกปรกในการขนส่งได้ ใช้ลังไม้โปร่ง บรรจุยางแท่งละ ๓๐ ห่อ หรือประมาณ ๑ ตัน ทำให้ การขนส่งง่ายเข้า เก็บสะดวก และนำออกใช้ได้ทันที เช่นเดียวกันกับยางเทียม เพราะยางแต่ละห่อห่อไว้อย่างดี
ทุกประทศที่ปลูกยางกำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงตามที่กล่าวนี้อยู่แล้ว ในเรื่องพันธุ์ยางนั้น ประเทศที่ปลูกยางในเอเชียและแอฟริกา ส่วนมากเป็นประเทศในอารักขาของบางประเทศในยุโรปมาก่อน ได้มีชาวยุโรป และชาวอเมริกัน ไปลงทุนสร้างสวนยางไว้มาก และได้ปลูกด้วยยางพันธุ์ดีมานาน ประเทศเหล่านั้น จึงมีสวนยางพันธุ์ดีอยู่แล้วประมาณ ร้อยละ ๕๐-๖๐ ของเนื้อที่สวนยางที่มีอยู่ ที่เหลือแม้ว่าจะเป็นส่วนของคนพื้นเมือง ก็กำลังเร่งปรับปรุงกันอยู่ บางประเทศได้ ปรับปรุงเสร็จไปแล้วถึงร้อยละ ๘๐ - ๙๐ สำหรับประเทศไทย มีสวนยางขนาดเล็กไม่เกิน ๑๕ ไร่ ถือเป็น อาชีพจริงๆ ยังไม่ได้ประมาณว่า จะมีสวนยางพันธุ์ดี ประมาณร้อยละ ๑๕ - ๒๐ ของเนื้อที่ปลูกยางทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ ๘ ล้านไร่ ยังจะต้องส่งเสริมปรับปรุงต่อไปอีกมาก
เรื่องการเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิตยางไปเป็น "ยางแท่ง" เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่เป็นเรื่องที่ควรจะศึกษา และรีบปรับปรุงโดยเร็วที่สุด เพราะจะต้องแข่งขันกับยางเทียม และจะต้องแข่งขันกับประเทศที่ปลูกยางด้วยกันอีกด้วย
การป้อนยางเข้าเครื่องย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
การทำยางแท่งออกจำหน่ายนั้น ได้ทำกันกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว และมีการปรังปรุงแก้ไขกรรมวิธี ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และวิธีตรวจสอบคุณสมบัติตลอดมา และคิดว่า ยังจะต้องปรับปรุงกันต่อไปอีก อย่างไรก็ดี เครื่องจักรเครื่องมือการทำยางแท่งที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบันนี้ นับว่า ได้ผลดีมากอยู่แล้ว แต่ราคายังสูงมาก สวนยางขนาดใหญ่อาจจะมีได้ แต่สวนยางเล็กๆ จะมีได้ ก็โดยรวมกันทำ อาจจะรวมกันเอง หรือจัดในรูป สหกรณ์ หรือมีคนกลางรับซื้อน้ำยางเอาไปจัดทำ ฯลฯ จึงจะดำเนินการผลิตยางแท่งได้ทั่วทุกแห่ง ถ้าจะส่งเสริมให้มีการผลิตยางแท่งได้เร็วขึ้น รัฐอาจจะต้องให้ความร่วมมือ โดยตั้งเป็นองค์การผลิตยางแท่งขึ้นในทุกๆ จังหวัด ทุกๆ อำเภอ ที่มีการปลูกยางมาก หรือไม่ก็ให้ยืมเงินไปลงทุน ฯลฯ
ทั้งประเทศผู้ใช้ยางและประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ได้เห็นประโยชน์ และยอมรับแล้วว่า ยางแท่งสะดวกดีกว่า ยางแบบเก่า เช่น ยางแผ่นรมควัน หรือยางเครพ หลายประเทศได้ผลิตยางแท่งออกจำหน่ายมาหลายปีแล้ว เช่น มาเลเซีย สามารถผลิตยางได้ปีละประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ ตัน ได้ผลิตเป็นยางแท่งถึงปีละประมาณ ร้อยละ ๕๐ แล้ว คือ ปีละประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ตัน อินโดนีเซียสามารถผลิตยางได้ปีละประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ตัน ผลิตเป็นยางแท่ง ได้แล้วประมาณร้อยละ ๓๐ ประเทศไทย๑ ซึ่งผลิตยางได้ปีละ ๓๘๐,๐๐๐ ตัน มากเป็น ที่ ๓ ของโลก แต่ยังผลิตยางแท่งได้เพียงปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตันเท่านั้น นับว่ายังผลิตได้น้อยมาก
๒. กรรมวิธีการผลิตยางแท่ง
การผลิตยางแท่งทำได้ง่ายและเร็วกว่าการทำยาง แผ่นรมควันหรือยางเครพมาก หลักสำคัญของกรรม วิธีที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ แทนที่จะทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ ได้เปลี่ยนเป็นย่อยยางให้เป็นชิ้นเล็กๆ เสียก่อน การ รมควันใช้ความร้อนเพียง ๖๐ องศาเซลเซียส ใช้เวลา ๕-๑๐ วัน เปลี่ยนเป็นอบความร้อนให้แห้ง ด้วยความร้อน ๑๐๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส แล้วจึงอัดเป็นแท่ง ใช้เวลาเพียง ๔-๕ ชั่วโมงก็เสร็จ ตามกรรมวิธีเป็นขั้นๆ ต่อ ไปนี้
การนำยางที่อบแล้วขึ้นชั่ง
ให้ได้แท่งละ ๓๔ กิโลกรัม
๑. เมื่อได้น้ำยางสดมาจากสวนและกรองให้ สะอาดแล้ว จะใส่น้ำกรดฟอร์มิก เพื่อให้ยางแข็งตัว การทำยางแข็งตัว อาจจะลดน้ำกรดและใช้น้ำตาล ๐.๐๔% ของเนื้อยางแห้งช่วยด้วย หรือใช้น้ำตาลอย่าง เดียว ๐.๐๕% ของเนื้อยางแห้งก็ได้ เพื่อประโยชน์ในทาง คุณสมบัติของยาง และเพื่อให้ยางจับตัวเป็นก้อนไม่ แน่นเกินไป จะมีรูเล็กๆ พรุนอยู่ทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ยางแห้งเร็วขึ้น เมื่ออบความร้อน
๒. ยางจะแข็งตัวภายในเวลา ๒ - ๓ ชั่วโมง นำเข้าเครื่องย่อย เพื่อฉีกหรือตัดยางออกเป็นชิ้นเล็กๆ แบนๆ ชิ้นหนึ่งจะมีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เครื่องย่อยดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น กรานูเลเทอร์ (granulator) หรือ โรทารีคัตเทอร์ (rotary cutter) หรือใช้ ย่อยยางที่แข็งตัวมานานแล้ว ซึ่งมีความเหนียวมาก กว่ายางที่แข็งตัวใหม่ๆ ยางที่แข็งตัวมานานแล้ว ใช้ทำยางแท่งได้ ทำนองเดียวกับยางที่ได้มาจากสวนใหม่ๆ โดยใช้เครื่องย่อยที่ทำงานหนัก เช่น เครื่องย่อยที่เรียกว่า แฮมเมอร์มิลล์ (hammermill) ก็ได้ หรือถ้าย่อยโดยผ่านเครื่องย่อยดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น ผ่านเครื่องใดเครื่องหนึ่งใน ๒ เครื่องแรกแล้ว ต้องการย่อยให้เล็กลงอีก ขนาดเม็ดเท่าหัวไม้ขีดไฟ จะผ่านเครื่องย่อยที่ เรียกว่า เพลลิทิเซอร์ (peletiser) อีกครั้งหนึ่งก็ได้
การอัดยางที่ชั่งแล้วให้แน่นเป็นแท่ง
๓. ยางที่ถูกย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนี้ จะไหลลง กระบะขอบสูงๆ คล้ายกล่อง ทำด้วยโลหะ หรือจะปล่อย ลงในน้ำเพื่อล้างอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงกอบใส่กระบะก็ได้ กระบะหนึ่งๆ ใส่ยางย่อยไม่เกินครึ่งกระบะ มีน้ำหนัก ยางกระบะละประมาณ ๓๔-๓๕ กิโลกรัม แล้วจึงนำกระบะดังกล่าวนี้ เข้าอบความร้อนในเตาอบ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายอุโมงค์ กว้างประมาณ ๒ เมตร สูง ๑ เมตร และยาวประมาณ ๘-๙ เมตร มีประตูปิดเปิดได้ทั้งทาง หัวทางท้ายของความยาว ทุกๆ กระบะ จะเข้าทางต้น ทางแล้วจะออกอีกทางหนึ่ง จะอยู่ในเตาอบซึ่งมีความ ร้อนระหว่าง ๑๐๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓ ๑/๒ - ๔ ๑/๒ ชั่วโมง จะสุกเร็ว หรือช้าเพียงใด แล้วแต่ชนิดของยาง ยางที่สุกแล้ว จะเห็นเนื้อยางใส และมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ไม่ขาวเหมือนเมื่อตอนจะเอาเข้าอบ
๔. เมื่อยางสุกแล้ว จะปล่อยให้เย็นลงเหลือประมาณ ๕๐ - ๖๐ องศาเซลเซียส พอจะหยิบยกเอามาชั่งได้ จะชั่ง ให้ได้ประมาณ ๓๔ กิโลกรัมหรือ ๗๕ ปอนด์ แล้วนำเข้าอัดเป็นแท่ง เป็นเวลา ๑ นาที ในเครื่องอัดซึ่งมีแรง อัด ๑๐๐ ตัน ยางย่อยจะถูกอัดเป็นแท่งคล้ายแผ่นอิฐ มีขนาด ๓๕.๕ x ๗๐ x ๑๖.๕ เซนติเมตร (๑๔ x ๒๘ x ๖ ๑/๒ นิ้ว) แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกขนาดบาง ๐.๐๔ มิลลิเมตร ถ้าส่งต่างประเทศ จะบรรจุในลังไม้โปร่ง
ขนาดวัดภายนอกได้ประมาณ ๑๒๒ x ๑๐๒ x ๑๑๒ เซนติเมตร (๔๘ x ๔๐ x ๔๔ นิ้ว) จะบรรจุได้ ๓๐ แท่ง เป็นจำนวนน้ำหนักประมาณ ๑ ตัน เกี่ยวกับขนาด ของแท่งยางก็ดี น้ำหนักยางก็ดี หรือลังโปร่งที่จะใช้ บรรจุก็ดี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเรื่อง ดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่กำหนดกันขึ้นเอง ยังมิได้ตกลงกัน เป็นมาตรฐานสากลแน่นอน