หลักการในการทำงานของเครื่องยนต์
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับแหล่งกำเนิดพลังงาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่สามารถทำให้รถจักรยานยนต์วิ่งออกไปได้เสียก่อน
ห้องเผาไหม้คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน
น้ำมันเบนซินถูกทำให้ผสมกับอากาศด้วยเครื่องผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ หรือคาร์บูเรเตอร์ (Carbureter) จนกลายเป็นไอ แล้วถูกส่งเข้าไปในกระบอกสูบ และไอนั้นถูกแรงอัดของลูกสูบอัดจนเหลือปริมาตรน้อยลง เมื่อหัวเทียนจุดประกายไฟออกมาเผาไหม้ไอดังกล่าว ทำให้เกิดการระเบิดในห้องเผาไหม้ จึงเกิดแรงดันผลักลูกสูบให้เคลื่อนลง จึงกลายเป็นพลังงานถ่ายทอดผ่านกลไกต่างๆไปขับเคลื่อนล้อให้หมุนไป
ห้องเผาไหม้
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ ๒ จังหวะ
เครื่องยนต์ ๒ จังหวะ หมายถึง เพลา ข้อเหวี่ยงหมุน ๑ รอบ (๑ กลวัตร) เครื่องยนต์ทำงานไป ๒ จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ ๒ จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ
เครื่องยนต์ ๔ จังหวะ หมายถึง เพลา ข้อเหวี่ยงหมุน ๒ รอบ เครื่องยนต์ทำงานไป ๔ จังหวะ
เครื่องยนต์ประเภท ๔ จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ ๑.จังหวะดูด ๒.จังหวะอัด ๓.จังหวะระเบิด ๔.จังหวะไอเสีย
จากแหล่งพลังงานสู่การขับเคลื่อนล้อหลัง
ตั้งแต่การจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ จนเกิดพลังงานไปขับเคลื่อนให้ล้อหลังหมุนไป เราสามารถทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบได้ดังนี้
ชุดขับเคลื่อนล้อหลัง
กระบอกสูบของเครื่องยนต์
กระบอกสูบของเครื่องยนต์มี ๒ แบบ คือ
๑. ชนิดมีสูบเดียว
คุณสมบัติ : ปริมาตรความจุต่ำ ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
๒. ชนิดมี ๒ สูบ - ๔ สูบ
คุณสมบัติ : ปริมาตรความจุมาก แรงม้า (กำลังของเครื่องยนต์) สูง การทำงานราบเรียบกว่า
ระบบระบายความร้อน
๑. ระบายความร้อนด้วยอากาศปะทะขณะรถวิ่ง
๒. ระบายความร้อนด้วยอากาศจากพัดลม
๓. ระบายความร้อนด้วยน้ำ
๔. ระบายความร้อนด้วยน้ำมัน
ระบบการขับเคลื่อน
๑. ขับด้วยโซ่ - เปลี่ยนอัตราทดได้ง่าย
๒. ขับด้วยเพลา - ประหยัดในการบำรุงรักษา
๓. ขับด้วยสายพาน - ทำงานนิ่มนวลไม่กระตุก
ระบบหล่อลื่น
๑. ระบบหล่อลื่นแบบแยกส่วน สำหรับเครื่องยนต์ ๒ จังหวะ โดยปั๊มออโตลูบ (Automatic Lubrication)
๒. ระบบหล่อลื่นแบบรวม สำหรับเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ