กระบวนการปั๊มขึ้นรูปโลหะ (Pressing Process)
องค์ประกอบในการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อ อธิบาย
๑. เครื่องปั๊ม
- ขนาด ๖๐ - ๓๐๐ ตัน
- แบบใช้น้ำมันขับดัน
- แบบใช้ข้อเสือ
เครื่องปั๊ม
๒. แม่พิมพ์
- ทำด้วยโลหะแข็งแรง
- เป็นตัวกดแผ่นเหล็กให้เกิดเป็นรูปร่างชิ้นส่วนตามที่ต้องการ
๓. แผ่นเหล็กกล้า
- มีความหนาตั้งแต่ ๐.๘ - ๒.๓ มม.
- มีทั้งชนิดแบบแผ่นและชนิดเป็นท่อเหลี่ยมและกลม
๔. ภาชนะใส่ชิ้นงาน
- ประแจต่างๆ
- ตัวจับยึดแม่พิมพ์
- ตัวหยิบชิ้นงานออก
อุปกรณ์และเครื่องมือช่วย
๕. พนักงาน
- ทำงานประจำเครื่อง
- ติดตั้งแม่พิมพ์
- เคลื่อนย้ายสิ่งของและชิ้นงาน
- ตรวจสอบคุณภาพ
พนักงาน
การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ด้วยกระบวนการปั๊มขึ้นรูปโลหะ (Pressing Process)
ชิ้นส่วนหลายชิ้นของรถจักรยานยนต์ จะถูกผลิตขึ้นมาด้วยกระบวนการปั๊มขึ้นรูป และก่อนจะกลายมาเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการดังกล่าวหลายขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จะต้องใช้องค์ประกอบ ๖ อย่าง โดยมีชื่อแม่พิมพ์เป็นตัวกำหนดชื่อขั้นตอนเหล่านั้น อาทิเช่น
๑. ตัดรูปร่างคร่าวๆ
เป็นการนำแผ่นเหล็กกล้ามาทำการตัดเป็นรูปร่างคร่าวๆ บนเครื่องปั๊ม โดยแม่พิมพ์ที่เรียกว่า แบลงกิ้ง ดาย (BLANKING DIE)
ตัดรูปร่างคร่าวๆ
๒. ขึ้นรูป
นำแผ่นชิ้นงานที่ตัดเป็นรูปร่างคร่าวๆ มาปั๊มขึ้นรูปเป็นรูปร่างชิ้นงานจริงบนเครื่อง โดยใช้แม่พิมพ์เป็นตัวปั๊ม (DRAWING DIE)
ขึ้นรูป
๓. ตัดขอบ
นำชิ้นงานที่ขึ้นรูปแล้วไปทำการตัดขอบให้ได้ขนาดตามต้องการ โดยใช้แม่พิมพ์ที่เรียกว่า ทริมมิ่ง ดาย (TRIMMING DIE)
๔. เจาะรู
นำชิ้นงานที่ตัดขอบเสร็จแล้วมาทำการเจาะรู โดยใช้แม่พิมพ์ที่เรียกว่า เพียซซิ่ง ดาย (PIERCING DIE)
ทั้งนี้ ชิ้นงานแต่ละชนิด อาจจะใช้จำนวน ขั้นตอน หรือแม่พิมพ์มากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งฝ่ายวิศวกรรมการผลิตจะเป็นผู้กำหนด