การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
เมื่อสหประชาชาติประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว เรื่องสิทธิมนุษยชน ได้กลายเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ และกระแสความคิดด้านสิทธิมนุษยชน ได้เป็นกระแสที่แพร่ขยาย ควบคู่ไปกับกระแสประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย ได้เข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน รวม ๔ ฉบับ คือ
๑. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
๒. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
๓. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๔. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้รัฐบาลไทยมีพันธกรณี ที่จะต้องส่งเสริม ให้กฎหมาย และแนวปฏิบัติภายในประเทศ สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา รวมทั้งการจัดทำรายงานการปฏิบัติตามพันธกรณี เสนอต่อสหประชาชาติตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนับว่า เป็นการปกป้อง ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในระดับหนึ่ง