พายุไต้ฝุ่น พายุไต้ฝุ่น เฮอร์ริเคน (hurricane) ไซโคลน (cyclone) บาเกียว (baquio) หรือ วิลลี่วิลลี่ (willy willy) เหล่านี้เป็น "พายุไซโคลนในโซนร้อน" หรือ "พายุหมุนในโซนร้อน" (tropical cyclones) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีชื่อต่างๆ กันตามบริเวณ แหล่งที่เกิด พายุชนิดนี้เกิดขึ้นเฉพาะในโซนร้อนของมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูง ตั้งแต่ ๒๖°ซ. หรือ ๒๗°ซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง ในซีกโลกเหนือ ทิศของลม รอบศูนย์กลางของพายุเหล่านี้จะพัดจากขวาไปซ้าย ในทิศตรงข้ามกับเข็มนาฬิกา และมีความเร็วของรอบศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๑๗ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป ส่วนในซีกโลกใต้ ทิศของลมในพายุนี้ จะพัดให้ทิศตรงกันข้ามคือ ตามเข็มนาฬิกา พายุหมุนในโซนร้อน เหล่านี้เกิดขึ้นในเขตร้อนบางส่วน ของมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิกและแอตแลนติกเหนือด้วย เว้นแต่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ในซีกโลกใต้ไม่เคยปรากฏว่า มีพายุเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นเลย
ลักษณะของพายุไซโคลนในโซนร้อน หรือพายุหมุนในโซนร้อน แบ่งออกได้ตาม ลำดับต่อไปนี้
ต่อไปนี้ เราอาจจะอธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของไต้ฝุ่นได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ ๑. พายุไต้ฝุ่น คือพายุโซนร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรหรือทะเลในโซนร้อน และมีลมพัดรอบศูนย์กลางอย่างน้อยด้วยความเร็ว ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อาจจะถึง ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้) | |||||
แหล่งเกิดของพายุโซนร้อน เส้นสีดำใหญ่และลูกศรแสดงแหล่งและทิศของการเคลื่อนตัวของพายุ | |||||
๒. พายุไต้ฝุ่น เป็นบริเวณความกดต่ำ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆ กิโลเมตร จนถึงประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร หรือกว่านั้น และมีอายุอยู่ได้หลายๆ วัน ลมของพายุนี้ พัดรอบๆ ศูนย์กลาง และลอยตัวขึ้นคล้ายบันไดวน ๓. คุณสมบัติที่สำคัญ และน่าสนใจอย่างหนึ่งของพายุนี้ก็คือ ที่บริเวณศูนย์กลางของพายุเราเรียกว่า "ตา" ของไต้ฝุ่น ตาเป็นบริเวณเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ ถึง ๕๐ กิโลเมตร ในบริเวณตาของไต้ฝุ่นจะมีอากาศค่อนข้างดี ลมพัดค่อนข้างเบา ๔. พายุไต้ฝุ่น มีพลังงานมากมายมหาศาล ในวันหนึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ เท่ากับลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาด ๑ ล้านตันของ ที เอ็น ที ได้มากว่า ๑๐,๐๐๐ ลูก ไต้ฝุ่นได้ รับพลังงานมหึมาจากพลังงานความร้อนแฝง ซึ่งไอน้ำในทะเลกลั่นตัวเป็นน้ำ | |||||
อุทกภัยครั้งใหญ่ ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ มกราคม ๒๕๑๘ ในจังหวัดภาคใต้ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส | |||||
๕. ในละติจูดต่ำๆ ไต้ฝุ่นจะเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออก มาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวัน ออกอีก
๖. เมื่อไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นดิน ภูเขา หรือมวลอากาศเย็น ทำให้พลังงานของไต้ฝุ่นค่อยๆ สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุโซนร้อน หรือดีเปรสชั่น ๗. อันตรายจากพายุไต้ฝุ่น มีหลายอย่าง เช่น ฝนตกหนัก ลมแรง พายุฟ้า คะนอง คลื่นจัด และอุทกภัย (ซึ่งมักจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตได้มาก) ฝนอาจจะตกได้ กว่า ๑,๘๐๐ มิลลิเมตรในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง พายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้าแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐ คน และสูญเสียทรัพย์สมบัติหลายร้อยล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องจากน้ำทะเลท่วม
เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ พายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย เคลื่อนตัวผ่านบริเวณแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร (Ganges- Brahmaputra) ประเทศบังคลาเทศ พายุไซโคลนลูกนี้มีความรุนแรงมาก มีอิทธิพลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนกว่า ๓ ล้านคน ในเนื้อที่กว่า ๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน ส่วนอันตรายอย่างอื่น เช่น อดตาย หรือโรคระบาดนั้น ตามมาภายหลังอีกมากมายหลายอย่าง ฉะนั้นเมื่อพายุไซโคลนในโซนร้อนอยู่ที่ไหน จึงควรจะอยู่ห่างจากที่นั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จงอย่าอยู่ในที่ลุ่มหรือที่ต่ำเป็นอันขาด ๘. เราสามารถจะกำหนดที่อยู่ของพายุไต้ฝุ่นได้ โดยการวัดความกด ตรวจดู ลักษณะอากาศ ทิศ และความเร็วลม การหาที่อยู่ของไต้ฝุ่นอาจสำรวจได้จากเครื่องมือหลายอย่าง เช่น
|