แนวปะทะ
เมื่อมวลอากาศ ๒ ลูกเคลื่อนตัวมาพบกันเข้า อากาศของมวลทั้งสองจะไม่ปนกันทันที แต่จะทำให้เกิดแนวหรือขอบเขต ระหว่างมวลอากาศทั้งสอง มวลอากาศเย็นซึ่งมีความแน่นมากกว่า และหนักมากกว่ามวลอากาศร้อน จะดันอากาศร้อนให้ลอยขึ้น ทำให้เกิดเป็นเมฆต่างๆ เกิดพายุและฝนได้ แนวหรือขอบเขตที่มวลอากาศทั้งสองมาพบกันนี้เรียกว่า "แนวปะทะ" แนวปะทะนี้ อาจจะมีเขตกว้างจาก ๒๐ ถึง ๔๐ กิโลเมตร ที่ใกล้บริเวณแนวปะทะนั้น ปรากฏว่า คุณสมบัติของมวลอากาศทั้งสองจะต่างกัน
แนวปะทะอากาศเย็น (cold front) คือ แนวหรือเขตระหว่างมวลอากาศ ร้อนให้ถอย และลอยตัวขึ้น
แนวปะทะอากาศร้อน (warm front) คือ แนวหรือเขตระหว่างมวลอากาศ ซึ่งมวลอากาศร้อนดันมวลอากาศเย็นให้ถอยไป
แนวปะทะปิด (occluded front) คือ แนวหรือเขตที่เกิดขึ้น เมื่อแนวปะทะของมวลอากาศเย็นตามทันแนวปะทะอากาศร้อน และยกมวลอากาศร้อนขึ้น
แนวปะทะคงที่ (stationary front) คือ แนวหรือเขตของมวลอากาศ ๒ ลูก ซึ่งไม่มีการเคลื่อนตัว
สำหรับพายุไซโคลนในละติจูดสูงนั้น ก็เป็นปรากฏการณ์ของบรรยากาศอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในโซนอบอุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับแนวปะทะอากาศร้อน แนวปะทะอากาศเย็น และแนวปะทะปิด