เล่มที่ 5
การขยายพันธุ์พืช
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การขยายพันธุ์พืชที่มีต้นแปลกไปจากต้นพืชทั่วๆ ไป (Propagation of Specialized Stem)

            มีพืชหลายชนิดที่ต้น (stem) มีลักษณะผิด ไปจากต้นพืชที่พบเห็นทั่วๆ ไป และเรามักเรียกส่วนของต้นที่แปลกออกไปนี้เป็นชื่อต่างๆ แล้วแต่ชนิดของพืช เช่น เรียกว่า หัว เหง้า แง่ง จุก ตะเกียง ไหล เป็นต้น พืชที่มีลักษณะลำต้นดังกล่าว นี้ได้แก่ ว่านสี่ทิศ หน่อไม้ฝรั่ง ไผ่ มันฝรั่ง มันเทศ ซ่อนกลิ่นฝรั่ง และสตรอว์เบอรี เป็นต้น

ดอกว่านแสงอาทิตย์

พืชประเภทหัว

            คำว่า "หัว" หมายถึง ส่วนของต้นพืชที่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษได้หลายคำ อาจหมายความถึง หัวที่เกิดจากกาบใบ (bulb) หัวที่เกิดจากต้น (tuber) หัวที่เกิดจากเหง้า (corm) และหัวที่เกิดจากราก (fleshy root) ก็ได้

๑. หัวที่เกิดจากกาบใบ

            หัวที่เกิดจากกาบใบ เป็นหัวของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เกิดจากกาบใบห่อหุ้มกันเป็นก้อน มีขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ชนิด และความอ่อนแก่ของต้นพืช ได้แก่หอมแดง หอมฝรั่ง ว่านสี่ทิศ ว่านแสงอาทิตย์ เป็นต้น

ดอกว่านสี่ทิศ

ลักษณะโดยทั่วไปของหัวที่เกิดจากกาบใบ

            มีต้น (central axis) เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ภายในหัว ปลายสุดของต้นเป็นยอดหรือตายอด (terminal growing point) ซึ่งเป็นจุดเจริญที่จะให้กำเนิดใบและดอก ส่วนที่โคนต้น หรือฐานราก (basal plate) เป็นที่ให้กำเนิดราก (adventive root) ต้นห่อหุ้มด้วยกาบใบ (leaf sheath) ที่เจริญติดต่อกันเป็นแบบก้นหอยซึ่งเป็นส่วนที่เก็บสะสมอาหาร ระหว่างกาบใบทุกๆ กาบ จะมีตาข้าง (axillary bud) ซึ่ง สามารถจะเจริญเป็นหัวเล็ก (bulblets) ได้ หัวเล็กเมื่อโตเต็มที่เรียกว่า ตะเกียง (offsets) หัวที่เกิดจากกาบใบมีอยู่ ๒ แบบ คือ

            ก. หัวที่เกิดจากกาบใบอัดตัวกันเป็นชั้นด้าน นอกจะมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ และแห้ง (tunic) ส่วนกาบใบชั้นในจะหนาและอวบสด (fleshy) การจัดเรียงชั้นของกาบใบ เรียงเป็นรูปก้นหอย เรียกหัวพวกนี้ว่า "หัวชั้น" (layer bulb) ได้แก่ หัวของหัวหอม ว่านสี่ทิศ บัวสวรรค์ เป็นต้น

หัวบัวสวรรค์ที่เกิดจากการปลูกหัวเดิมเพียงหัวเดียว

            ข. หัวที่เกิดจากกาบใบห่อหุ้มต้นอย่างหลวมๆ และกาบใบเปลี่ยนรูปคล้ายเกล็ดปลา (scale) เรียกหัวพวกนี้ว่า "หัวเกล็ด" (scaly bulb) ได้แก่ หัวของ พืชพวกลิลี (lily)

หัวบัวสวรรค์ที่เกิดจากการปลูกหัวเดิมเพียงหัวเดียว

            เนื่องจากหัวประเภทในข้อ ข. ไม่มีชนิดของพืชที่เจริญได้ในบ้านเรา ดังนั้นการขยายพันธุ์พืช ในที่นี้ จึงจะขอกล่าวเฉพาะหัวในพวก ก. เท่านั้น

            ชีพจักรการเจริญของหัวประเภท "หัวชั้น"

            ชีพจักรการเจริญของหัวประเภทนี้ พอจะ แบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ

            ก. ระยะการเจริญ
            ข. ระยะการเกิดดอกและติดเมล็ด

            ระยะการเจริญเริ่มด้วยการที่หัวเล็กๆ เจริญ เติบโตขึ้นจนถึงหัวขนาดออกดอกได้

            ส่วนระยะการเกิดดอก และติดเมล็ดนั้นเริ่ม ด้วยการเกิดตาดอก การเกิดส่วนต่างๆ ของดอก การยืดตัวของก้านดอก และการออกดอกและติด เมล็ดในที่สุด ซึ่งหัวชั้นของแต่ละชนิดต้องการ สภาพแวดล้อมในแต่ละระยะการเจริญแตกต่างกัน ไป จึงสามารถจัดแบ่งหัวประเภทนี้ตามระยะเวลา ของการบานของดอก และวิธีการในการจัดการออก ได้เป็นพวกๆ คือ

            ๑. พวกที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดู การเจริญ ได้แก่ ทิวลิพ แดฟโฟดิล ไฮซินท์ เป็นต้น
            ๒. พวกที่ออกดอกในฤดูหนาว หรือฤดูพัก ตัว ได้แก่ ว่านสี่ทิศ เป็นต้น

การขยายพันธุ์หัวประเภท "หัวชั้น" (ว่านสี่ทิศ)

            อาจทำได้หลายแบบ โดยเฉพาะแบบที่ทำ เป็นการค้า ทำได้ดังนี้

            ๑. ทำการตัดแบ่งหัว (bulb cutting)

            วิธีการตัดแบ่งหัวก็คือ เลือกหัวที่โตเต็มที่ (ขนาดหัวที่สามารถให้ดอกได้) ผ่าหัวทางตั้งออกเป็นเสี้ยวๆ ประมาณ ๘-๑๐ เสี้ยว ให้แต่ละเสี้ยวติดส่วนของฐานรากอยู่ด้วย จากนั้นจึงแบ่งแต่ละเสี้ยวออกเป็น ส่วนๆ โดยให้แต่ละส่วนมีกาบใบติดอยู่ราว ๓-๔ ใบ และจะต้องแบ่งให้แต่ละส่วนติดส่วนของต้นอยู่ ด้วยเสมอ ดังนั้นแต่ละส่วนก็จะประกอบด้วยส่วน ที่เป็นต้นและกาบใบ ๓-๔ ใบ และตาข้างที่อยู่ ระหว่างกาบใบ ต่อจากนั้นจึงนำไปพ่นหรือทาส่วนที่ ต้องการขยายด้วยยาแป้งกันเชื้อรา แล้วผึ่งไว้จนรอยเฉือนแห้งพอหมาดๆ จึงนำไปปักชำ

ดอกบัวสวรรค์เป็นพืชหัว ที่มีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

            การปักชำ นำส่วนขยายที่เตรียมไว้แล้วปัก ลงในวัตถุปักชำที่สะอาด เช่น ในทราย หรือทราย ผสมถ่านแกลบ โดยให้วัตถุปักชำชื้นเพียงเล็กน้อย และปักพอตื้นๆ คล้ายการปักชำก้านใบหรือส่วนของ ใบ ส่วนการดูแลรักษา ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปักชำใบ หัวเล็กๆ จะเกิดขึ้นภายใน ๒-๓ สัปดาห์ ตรง ส่วนของง่ามใบ พร้อมทั้งการเกิดรากด้วย เมื่อมีรากมากพอ ก็ย้ายปลูกต่อไปได้

            ๒. ตัดฐานของหัว (basal cutting)

            วิธีการนี้ได้ปฏิบัติเป็นการค้ากันอย่างกว้าง ขวางในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับพืชพวกไฮซินท์ และว่านสี่ทิศ วิธีการที่ปฏิบัติกันก็คือ คว้านเอา ฐานหรือต้นออก (scooping) หรือบากฐานของหัว (scoring) หรือเจาะเอาส่วนยอดให้ทะลุฐานของหัว ออก (coring) อย่างใดอย่างหนึ่ง

การขยายพันธุ์ของว่านสี่ทิศโดยการบากหัวและคว้านหัว

            สำหรับการคว้านเอาส่วนของฐานออก จะ ต้องคว้านเอาต้น (central axis) ออกให้หมดโดยใช้ มีดคว้านผลไม้ หรือเครื่องมือคว้านหัวโดยเฉพาะ การเกิดหัวเล็กๆ จะเกิดบริเวณของโคนกาบใบที่ เป็นรอยตัด

            ส่วนการบากหรือผ่าหัว (scoring) จะผ่าเป็น ๓ รอย การผ่าจะต้องผ่าจากโคนหัวผ่านฐานรากถึง จุดเจริญหรือจุดยอด การทำเช่นนี้จะทำให้ตาที่อยู่ ตามง่ามใบเจริญขึ้นเป็นหัวเล็กๆ ได้

            สำหรับการเจาะหัว (coring) นั้นจะเจาะเอา เฉพาะตายอดออก โดยใช้ที่เจาะจุกไม้ค็อก หรือมีดคว้านผลไม้ คว้านหัวให้เป็นช่องกว้างราว ๑/๓ นิ้ว การทำเช่นนี้ จะทำให้ตาข้างเจริญเป็นหัวขึ้น ในระหว่างกาบใบ

การเจาะหัวว่านสี่ทิศเพื่อทำลายตายอด

            สิ่งสำคัญในการขยายพันธุ์โดยวิธีตัดฐานของ หัวก็คือ การเน่าของหัวที่เกิดจากเชื้อรา ฉะนั้นจึง ต้องระมัดระวังความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น เครื่อง มือที่ใช้จะต้องจุ่มอัลกอฮอล์ หัวที่ใช้ควรจุ่มยาฆ่าเชื้อรา ตลอดจนวัตถุที่ใช้ชำ และภาชนะที่เกี่ยวข้อง ควรฆ่าเชื้อมาก่อนและหลังจากคว้านหรือบากหรือ เจาะหัวแล้ว จะต้องพ่นด้วยยาป้องกันเชื้อรา และจะต้องรีบทำให้รอยเฉือนเกิดเนื้องอก หรือสมานแผลให้เร็วที่สุด โดยวางหัวให้หงายขึ้นในถาดทรายที่แห้ง หลังจากแผลที่รอยเฉือนสมานดีแล้ว จึงนำไปวางในถาดหรือกระบะในที่มืด หรือที่ที่มีแสง สลัวๆ อุณหภูมิประมาณ ๗๐° - ๙๐°ฟ. และเป็นที่ที่มีความชื้นอากาศสูงเป็นระยะเวลาประมาณ ๒ ๑/๒ - ๓ เดือน เมื่อหัวที่เกิดขึ้นมีขนาดโตพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ จึงตัดแยกหัวเหล่านั้น ไปปลูกเลี้ยงอีกที่หนึ่ง

๒. หัวที่เกิดจากเหง้า

            เหง้า คือ ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อัดตัวกันแน่นเป็นก้อนกลม ซึ่งเราเรียกลำต้นในลักษณะนี้ว่า เหง้า (แต่มักจะเรียกทั่วๆ ไปว่า หัวมากกว่าเหง้า) พืชที่มีลักษณะลำต้นเป็นเหง้า ซึ่งสามารถเลี้ยงดูให้เจริญงอกงามได้ มีอยู่ในบ้านเราเพียงชนิดเดียว คือ ซ่อนกลิ่นฝรั่ง (gladiolus)

ลักษณะการเจริญตามธรรมชาติของต้นซ่อนกลิ่นฝรั่งในระยะพักตัวหลังฤดูปลูก

            ลักษณะโดยทั่วไปของเหง้า (ซ่อนกลิ่นฝรั่ง) คือ มีลำต้นเป็นก้อนกลมแบน ที่ลำต้นตอนบน มีตายอด (apical bud) ที่จะเจริญเป็นต้นปลอม (pseudo stem) ซึ่งจะให้ดอกและเกิดเหง้าใหม่ในฤดู ต่อไป

            ด้านล่างของเหง้าเป็นฐานราก ซึ่งจะให้กำเนิด ราก ระหว่างตายอดและฐานรากจะมีข้อและปล้อง ที่มีข้อมักจะมีกาบใบแห้งบางๆ หุ้มเหง้าอยู่

            ชีพจักรการเจริญของเหง้าซ้อนกลิ่นฝรั่ง

            เมื่อปลูกเหง้าหรือหัวซ่อนกลิ่นฝรั่ง เหง้า จะเกิดรากขึ้นที่ฐานรากก่อน จากนั้นตายอดก็จะ เจริญเป็นต้นขึ้นไปในอากาศ ต้นในระยะแรกนี้ จะประกอบด้วยกาบใบที่รวมตัวกันถัดจากนั้นโคนต้น ใหม่จะค่อยๆ โตขึ้น จนกระทั่งส่งก้านดอกเกิดเป็นเหง้าใหม่ ซ้อนบนเหง้าเก่าอีกทีหนึ่ง ในกรณีที่ตายอดเสียหรือไม่ค่อยเจริญมักจะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาก กว่า ๑ ต้น และนั่นก็หมายความว่า จะเกิดเหง้าใหม่ซ้อนบนเหง้าเก่ามากกว่า ๑ เหง้า และเมื่อเกิดเหง้า ใหม่มากขึ้นขนาดของเหง้าใหม่จะเล็กลง ระหว่างที่เหง้าใหม่โตขึ้น จะเกิดรากใหม่ขึ้นที่โคนฐานราก ของเหง้าใหม่ ส่วนรากรวมทั้งเหง้าเดิมที่อยู่ด้านล่าง ก็จะค่อยๆ โทรม และแห้งไปในที่สุด

            ส่วนต่อระหว่างเหง้าเดิมและเหง้าใหม่จะมี ลักษณะเป็นลำต้นสั้นๆ ที่สังเกตได้ยาก ซึ่งเรียก ลำต้นส่วนนี้ว่าไหล (stolon) ที่ไหลนี้จะมีข้อและตา ขณะเหง้าเก่าเริ่มโทรมและเหง้าใหม่เริ่มโตนี้ ตา ที่ไหลนี้มักจะเจริญออกเป็นเส้นคล้ายราก และมีลักษณะเป็นไหลเช่นเดียวกัน ที่ปลายไหลนี้จะเกิด เป็นหัวเล็กๆ (cormels) จำนวนหัวเล็กๆ นี้ จะเกิดมากน้อยแล้วแต่พันธุ์ และการปลูกเลี้ยง ถ้าเราเลี้ยงหัวเล็กๆ นี้ต่อไปอีก ๒-๓ ฤดูปลูก หัวเหล่านี้ก็ จะมีขนาดโตขึ้นเป็นเหง้าที่จะให้ดอกได้

            การขยายพันธุ์เหง้าหรือหัวของซ่อนกลิ่นฝรั่ง อาจทำได้ ๓ ทาง

            ๑. โดยการใช้เหง้าที่เกิดใหม่

            แต่โดยปกติ มักจะให้เหง้าใหม่ ๑ เหง้า นอกจากบางเหง้าซึ่งเกิดใหม่มากกว่า ๑ เหง้า แต่มักจะมีขนาดเล็ก บางครั้งไม่ให้ดอก หรือคุณภาพของดอกเล็กไม่ได้ขนาด

            ๒. โดยการแบ่งเหง้า

            ในกรณีที่เหง้ามีขนาดโตและหนา ซึ่งก็หมายความว่า มีอาหารสะสมอยู่มาก ก็อาจแบ่งเหง้าออกเป็น ๒ ส่วนได้ โดยที่แต่ละส่วนมีขนาดโต และมีอาหารสะสมพอที่จะให้ดอกที่มีคุณภาพได้

            ๓. โดยการใช้หัวเล็กที่เกิดใหม่

            การขยายพันธุ์ซ่อนกลิ่นฝรั่ง ส่วนใหญ่ได้จากการใช้หัวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเหง้าใหม่ และเหง้าเก่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการปลูกตัดดอกจำหน่าย แต่การเกิดหัวเล็กๆ เหล่านี้จะเกิดมากน้อยแล้วแต่พันธุ์ และการปลูกเลี้ยง เช่น ใช้พันธุ์ที่ให้หัวเล็กๆ มาก ปลูกตื้น ดินปลูกเบา เด็ดก้านดอกทิ้งตั้งแต่ดอกยังเล็กๆ ก็จะช่วยให้เกิดหัวเล็กๆ ได้มากขึ้น แต่การที่จะใช้หัวเล็กเหล่านี้ไปปลูก เพื่อตัดดอกจำหน่ายนั้น จะต้องใช้เวลาปลูกเลี้ยงหัวเหล่านี้ ให้โตจนขนาดหัวได้มาตรฐานพอ ที่จะให้ดอก ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงดู ๒-๓ ฤดูปลูก แล้วแต่ขนาดของหัวเดิม หรืออาจใช้เวลา ๑ ปี ในบาง แห่งที่มีฤดูการเจริญติดต่อกัน เช่น ปลูกบนดอยปุย เป็นต้น

            ๓. หัวที่เกิดจากต้น

            หัวที่เกิดจากต้น คือ หัวที่เกิดจากการที่ต้น เกิดการสะสมอาหาร และอัดตัวแน่นเป็นก้อน หรือเป็นแท่ง ซึ่งอาจเป็นหัวที่เกิดขึ้นใต้ผิวดิน เช่น หัวมันฝรั่ง หัวบอนสี และหัวเผือก หรืออาจเจริญอยู่เหนือผิวดิน เช่น ต้นกระดาษ หรือต้นดิฟเฟนบาเกีย เป็นต้น


ขั้นตอนการเจริญของมันฝรั่ง

            ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างหัวมันฝรั่ง ซึ่งเป็น พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

            ลักษณะโดยทั่วไปของหัวมันฝรั่ง

            มีต้นแปลกปลอมเป็นต้นอ้วนสั้น ซึ่งเรียกกันทั่วๆ ไปว่า "หัว" ที่ส่วนยอดของหัวมีตายอด ซึ่งจะเจริญเป็นยอด (apical shoot) ส่วนทางก้นหรือท้ายของหัว เป็นส่วนที่แยกมาจากไหลของต้นจริง ระหว่างหัวและท้ายของหัวจะมีตาข้าง (eyes) เจริญอยู่ทั่วๆ ไปตลอดทั้งหัวและจัดเรียงกันเป็นแบบเกลียว (spiral) ช่วงระหว่างตาข้างถือว่า เป็นปล้องที่ตาข้าง ประกอบด้วยแผลใบ ซึ่งถือเสมือนข้อและกลุ่มของตา (cluster of buds) มักจะมีตามากกว่า ๑ ตา เสมอ

            ชีพจักรการเจริญของหัวมันฝรั่ง

            หัวมันฝรั่ง เป็นส่วนที่เก็บสะสมอาหารและเป็นส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ไปในตัว ซึ่งเมื่อเราปลูกหัว มันฝรั่งทั้งหัว การเกิดต้นมันฝรั่งจะเกิดเฉพาะตายอดเท่านั้น ส่วนตาข้างจะไม่เจริญ เป็นต้น ด้วย เหตุนี้การขยายพันธุ์มันฝรั่งจึงจำเป็นต้องแบ่งหัว ออกเป็นส่วนๆ โดยให้แต่ละส่วนมีตาอยู่ด้วย การเกิดต้นจะเกิดจากตาที่มีอยู่ที่ตาข้าง และก็จะเกิดรากขึ้นที่โคนต้นใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น จากนั้นตาข้างที่อยู่ใต้ ผิวดินของต้นใหม่ ก็จะเจริญยื่นออกไปในลักษณะ เป็นไหล เมื่อเจริญได้ประมาณ ๓-๔ นิ้ว ปลายไหล ก็จะพองตัวออก และนั่นก็แสดงว่า เริ่มเกิดหัวมัน ฝรั่งขึ้นแล้ว และจะเห็นรูปร่างในลักษณะเป็นหัวได้ ชัด ในระยะเวลา ๓-๔ สัปดาห์ หลังจากการปลูก หรืออาจประมาณระยะเวลาเดียวกันที่เห็นดอกมัน ฝรั่ง สภาพที่ทำให้ต้นมันฝรั่งที่อยู่เหนือผิวดินเจริญได้ดี คือ เมื่อมีไนโตรเจนสูงหรืออุณหภูมิของ ดินสูงจะทำให้การเกิดหัวมันฝรั่งลดลง เมื่อต้นหรือ ส่วนยอดเริ่มแห้งตาย ก็จะขุดหัว ซึ่งในระยะเวลานี้ หัวมันจะอยู่ในระยะพักตัวและจะพักอยู่นานประ- มาณ ๖-๘ สัปดาห์ จากนั้นก็จะเริ่มแตกตาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

            การขยายพันธุ์โดยการแบ่งหัว (division)

            การขยายพันธุ์มันฝรั่งอาจทำได้โดยการปลูก ทั้งหัว หรือโดยการตัดแบ่งหัวออกเป็นส่วนๆ โดย ให้แต่ละส่วนมีตาข้างอยู่อย่างน้อย ๑ ตา ซึ่งส่วนที่ ตัดแบ่งออกมานี้มักเรียกกันทั่วๆ ไปว่า "ซีด" (seed) ขนาดของซีดแต่ละชิ้นควรจะหนักประมาณ ๑-๒ ออนซ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ต้นอ่อนที่เกิดใหม่มีอาหารสำรองเพียงพอ

            การตัดแบ่งหัวควรจะใช้มีดคมๆ และควร ทำก่อนที่จะปลูกเท่านั้น ไม่ควรทำรอไว้นานๆ ควรเก็บชิ้นส่วนที่ตัดไว้ในสภาพที่มีความชื้นอากาศสูงพอ (ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์) และอุณหภูมิ ๖๘°ฟ. เป็นเวลา ๒-๓ วัน ก่อนปลูก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการ สมานแผลรอยตัด ในระยะเวลาดังกล่าวส่วนที่เป็น แผลรอยตัดก็จะเกิดการสมานแผล ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนที่ตัดไม่แห้งหรือเน่าง่าย การปฏิบัติบางอย่าง แก่หัวมันฝรั่งก่อนตัดแบ่งหัวเพื่อป้องกันโรคไรซอกโทเนีย (rhizoctonia) และโรคสแคบ อาจมีความจำเป็น

            สำหรับหัวของบอนสี ซึ่งผลิตเป็นการค้า กันในรัฐฟลอริดา จะแบ่งหัวเป็นส่วนๆ โดยให้แต่ ละส่วนมีตาอยู่ ๒ ตา แล้วดำให้ห่างกัน ๔-๖ นิ้ว ลึก ๓-๔ นิ้ว ระยะระหว่างแถว ๑๘-๒๔ นิ้ว และ จะเก็บหัวในเดือนพฤศจิกายน หลังจากเก็บหัวแล้ว ผึ่งไว้ในที่ร่ม (artificially dried) ราว ๔๘ ชั่วโมง จากนั้นให้เก็บรักษาหัวไว้ในอุณหภูมิที่ไม่ต่ำกว่า ๖๐°ฟ.

            ๔. หัวที่เกิดจากราก

            หัวที่เกิดจากราก คือ การที่รากของพืชไม้เนื้ออ่อนอายุยืนบางชนิด เกิดการสะสมอาหารขึ้นที่ราก ซึ่งลักษณะรูปร่างของรากที่สะสมอาหารนี้ อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของพืช อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงลักษณะทั้งภายใน และภายนอก เช่นเดียวกับราก คือ ไม่มีข้อและปล้อง แต่อาจมีตาอยู่ตรงส่วนที่เป็นต้นติดกับราก ส่วนรากฝอยจะเกิดอยู่ทางด้านปลายราก หัวท้ายของรากเป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามกับหัวท้ายของต้น

ลักษณะของหัวที่เกิดจากราก (หัวรักแร่)

            ลักษณะโดยทั่วไปของหัวที่เกิดจากราก

            หัวที่เกิดจากรากมีอยู่ ๓ แบบ คือ หัวมัน เทศ หัวรักเร่ และหัวของต้นบีโกเนีย

            สำหรับหัวรักเร่ จะเกิดเป็นกลุ่มของรากติด อยู่กับโคนต้น (crown) รากเหล่านี้มีลักษณะเป็นพืช ๒ ฤดู คือ ฤดูแรกจะเกิดต้นขึ้น และหลังจากที่ต้นแห้งตายไปแล้ว รากนี้ก็จะพักตัวจนกระทั่งถึงฤดู การเจริญใหม่ ตาจากโคนต้น ซึ่งติดอยู่ที่โคนราก ก็จะแตกยอดใหม่ ซึ่งยอดที่แตกใหม่นี้จะใช้อาหาร ที่สะสมจากรากเก่า จากนั้นรากเก่าก็จะค่อยๆ ฝ่อ แห้งตายไป ขณะเดียวกัน ต้นใหม่ก็จะเกิดรากใหม่ ขึ้นแทน รากใหม่นี้จะทำหน้าที่เลี้ยงต้นพืชต่อไป จนตลอดระยะการพักตัวที่จะมาถึง

หัวรักแร่ พร้อมด้วยหน่อที่กำลังงอก

            ส่วนหัวบีโกเนียนั้น มีลักษณะเป็นแบบราก แก้วที่พองโต ตาจะเกิดขึ้นที่โคนของต้น รากฝอย จะเกิดทางส่วนของปลายรากที่พองโต หัวชนิดนี้มี ลักษณะถาวร และจะมีชีวิตอยู่เป็นเวลาหลายๆ ปี พร้อมกันนี้ขนาดหัวก็จะพองโตขึ้นเรื่อยๆ และก็จะเกิดตา จากส่วนที่เป็นโคนต้นเพิ่มขึ้นด้วย

            การขยายพันธุ์

            ๑. โดยการใช้ต้น (adventive shoots)

            รากของพืชหัวประเภทนี้ ดังเช่นหัวมันเทศ อาจจะเกิดต้นได้ ถ้านำหัวไปไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสม เช่น ดำไว้ในทรายที่ชื้นโดย กลบหัวให้ลึกประมาณ ๒ นิ้ว และรักษาให้ความ ชื้นสม่ำเสมอ อุณหภูมิราว ๘๐°ฟ. หลังจากที่หัว เริ่มแตกยอดอ่อนแล้วจึงค่อยลดอุณหภูมิลงให้เหลือ เพียง ๗๐° - ๗๕°ฟ. ขณะที่กิ่งหรือที่เรียกว่าสลิป โตขึ้น ก็ค่อยๆ กลบทรายให้เพิ่มมากขึ้นจนกระทั่ง กิ่งที่เจริญออกมานั้นอยู่ลึกราว ๔-๕ นิ้ว การทำเช่น นี้จะทำให้ราก (adventive root) เกิดขึ้นที่โคนของกิ่ง ที่แตกใหม่ และเมื่อสลิปมีรากมากพอ ก็ดึงกิ่งออก มาจากหัว แล้วนำไปปลูกในแปลงต่อไปได้

            ๒. โดยการแบ่ง

            พืชที่มีรากอวบอ้วน อาจขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยการแบ่ง เช่น ต้นรักเร่ วิธีการแบ่งก็คือ ขุดเอา กลุ่มรากขึ้นมาผึ่งไว้สัก ๒-๓ วัน แล้วเก็บไว้ใน ขี้เลื่อยหรือปุยมะพร้าวที่แห้งและมีอุณหภูมิประมาณ ๔๐°-๕๐°ฟ. เก็บไว้ในห้องที่อับลม ก่อนที่จะถึง เวลาปลูกเล็กน้อย จึงแบ่งกลุ่มรากออกเป็นส่วนๆ โดยให้แต่ละรากติดส่วนที่เป็นโคนต้นอยู่ด้วย ใน สภาพที่อากาศค่อนข้างร้อนและอบชื้น ตาที่มีอยู่ โคนต้นก็จะเริ่มเจริญ ทำให้แน่ใจได้ว่า แต่ละส่วน ที่แบ่งไปมีตาติดไปด้วย

            ส่วนหัวที่มีอายุยืน เช่น หัวของต้นปีโกเนีย ก็อาจตัดแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ โดยให้แต่ละส่วนมีตาติดอยู่ และเพื่อป้องกันการเน่าของรอยตัด ควรพ่น หรือทาด้วยยาป้องกันเชื้อรา แล้วผึ่งส่วนที่ผ่าไว้ หลายๆ วัน ก่อนที่จะนำไปไว้ในวัตถุปักชำที่ชื้น

            การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของต้นพืช ที่มีลักษณะดังกล่าว เป็นต้นว่าการใช้กิ่งหรือต้น การใช้ใบและใบที่มีตาติด ก็อาจทำได้ไม่ยาก ส่วนของต้นพืชที่นำไปปักชำจะเกิดรากที่อวบอ้วนได้ตรง บริเวณฐานรอยตัด และขบวนการเช่นนี้จะเป็นผลดี ถ้าได้ตัดชำให้แต่ละส่วนมีชิ้นส่วนของราก (fleshy root) ชิ้นเล็กๆ ติดไปด้วย

ตะไคร้เป็นพืชประเภทกอชนิดหนึ่ง

พืชประเภทกอ (rhizomes)

            พืชประเภทกอ คือ พืชที่ลำต้นเจริญในระดับ ผิวดิน ซึ่งเมื่อเจริญไปได้ระยะหนึ่ง ปลายยอดก็เจริญเป็นต้นปลอม แล้วออกดอกและติดฝักหรือติดผล และเกิดเมล็ดต่อไป พืชประเภทนี้นับว่าเป็นกลุ่ม พืชที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาพืชที่มีลำต้นแปลกปลอม เพราะมีชนิดพืชที่มีความใหญ่ขนาดไม้ยืนต้น ดังเช่น กอไผ่ไปจนกระทั่งเล็กเตี้ยติดดิน เช่น หญ้าสนาม ชนิดต่างๆ เป็นต้น และนับเป็นประเภทของพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด ในบรรดาพืชที่มีต้นแปลกปลอมด้วยกัน เป็นต้นว่า เป็นพืชทีมีคุณ ค่าทางอาหารสูง ดังเช่น กล้วย มีความสวยงาม สะดุดตาสะดุดใจ เช่น กล้วยไม้ประเภทหวายและ แคทลียา มีรสชาติ และกลิ่นหอม น่ารับประทาน เช่น ขิง หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้น้ำ ตะไคร้ ตลอดจนมีความงามตามธรรมชาติ ในลักษณะไม้ประดับ เช่น ต้นคล้าชนิดต่างๆ และปาล์มชนิดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวัชพืชที่ทำลายเศรษฐกิจอย่างร้าย กาจ เช่น หญ้าแห้วหมู หญ้าคา หญ้าชันกาด เป็นต้น จึงนับได้ว่าพืชที่อยู่ในประเภทกอนี้ เป็นพืชที่มีความ สำคัญ และน่าที่จะได้รับการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ลักษณะโดยทั่วไปของพืชประเภทกอ

            ลักษณะของพืชประเภทกอ มีทั้งพืชใบเลี้ยง เดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ (แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยว) มีลำต้นจริง เจริญขนานไปกับผิวดิน ปลายหรือยอดของลำต้นเป็นตายอดซึ่งจะเจริญเป็นต้น ปลอม หรือต้นอากาศในที่สุด ซึ่งต้นปลอมหรือต้น อากาศนี้ อาจจะมีกาบใบห่อหุ้ม เช่น กล้วย หรือ ขิง ข่า หรือไม่มีกาบใบห่อหุ้ม เช่น ไผ่ หรือหน่อ ไม้ฝรั่งก็ได้ ที่ลำต้นจะมีข้อ ปล้อง ที่ข้อแต่ละข้อจะ มีตาข้าง ๑ ตา และมักจะมีกาบใบบางๆ เล็กๆ หุ้ม คลุมตาอยู่ เมื่อถึงเวลาเหมาะสม ตาข้างอาจเจริญเป็นต้นขึ้นใหม่ ติดต่อกับต้นเดิมและปลายยอดของ ต้นใหม่ก็จะเกิดเป็นต้นปลอม ทำให้เกิดการเจริญ เป็นกอขึ้น ที่ข้อรวมทั้งที่โคนของต้นปลอมจะเกิด ราก ซึ่งมีลักษณะอวบสดและเป็นรากที่เก็บสะสม อาหารไปในตัวด้วย

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างต้นหน่อไม้ฝรั่งเป็น พืชตัวแทนในพืชประเภทกอ

แคทลียาเป็นพืชประเภทกอชนิดหนึ่ง

ลักษณะการเจริญของต้นหน่อไม้ฝรั่ง

            เมื่อเราเพาะเมล็ดหน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเดี่ยวๆ เพียงต้นเดียว และเมื่อต้นโตขึ้น จนมีใบพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ดีแล้ว ต้นพืชก็จะเริ่ม เกิดกอ โดยที่ตาบริเวณโคนต้นจะเจริญเป็นลำต้น ขนานไปกับผิวดิน เมื่อต้นเจริญไปได้ระยะหนึ่งตา ยอดก็จะเจริญเป็นต้นอากาศหรือต้นปลอมซึ่งออก ดอกและติดเมล็ดได้ ต้นอากาศดังกล่าวนี้ เมื่อขณะยังเล็กและอ่อนอยู่ จะใช้เป็นส่วนที่รับประทานได้ จึงได้ชื่อว่า "หน่อไม้ฝรั่ง" แต่เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งมีช่วงปล้องถี่ การเจริญของต้นจริงจึงสั้น ซึ่งจะ เจริญได้เพียง ๑-๒ นิ้วเท่านั้น และในขณะเดียวกับ ที่ตายอดเจริญ ตาข้างก็สามารถจะเกิดต้นจริง และต้นปลอมขึ้นได้ในทำนองเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิด เป็นกอ (กลุ่มของ rhizomes) ของหน่อไม้ฝรั่งขึ้น พืชอื่นๆ เช่น ไผ่ กล้วย ขิง ข่า ตะไคร้ เยอบีรา และหญ้าคา ก็มีการเจริญในลักษณะเดียวกัน
เนื่องจากต้นประเภทนี้สามารถเกิดรากได้ รวดเร็วเพราะเป็นส่วนที่เก็บสะสมอาหารไว้ได้มาก ดังนั้นจึงเกิดต้นอากาศ และสร้างกอได้ไว ด้วยเหตุ นี้วัชพืชอยู่ในพืชประเภทนี้ เช่น หญ้าคา แห้วหมู ชันกาด จึงเป็นวัชพืชที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ ไม่เหมาะสม ตลอดจนทนทานต่อการกำจัดได้ดี ซึ่ง ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในวงการเกษตร การทำไร่ และการทำสวนเป็นอย่างมาก

การขยายพันธุ์พืชประเภทกอ

            การขยายพันธุ์พืชประเภทกอ อาจจะทำได้ ง่ายโดยการแบ่งกอ หรือแบ่งต้น (division of rhizome) ออกเป็นส่วน ซึ่งขนาดของส่วนที่แบ่งจะ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของพืชและปริมาณการสะสม ธาตุอาหารที่มีอยู่ในส่วนของต้นที่ใช้ขยายพันธุ์นั้น โดยปกติมักจะใช้ส่วนของกอหรือต้นแก่ และจะ ขยายพันธุ์ในระยะที่ต้นหยุดหรือชะงักการเจริญใน รอบปีก่อนที่จะเริ่มเจริญใหม่ในปีต่อไป เพราะ อาหารที่เก็บสะสมอยู่จะได้นำไปใช้ในการเริ่มชีวิต ใหม่ ก่อนที่จะใช้ไปในการเจริญตามส่วนต่างๆ ของ ต้นพืช การแบ่งกออาจทำได้ง่ายโดยการตัดแบ่งหัก หรือแยกส่วนของต้นออกจากกัน ทั้งนี้ต้องพิจารณา ตามสะดวกและขนาดต้นที่แบ่งด้วย