กำเนิดของวิชาความน่าจะเป็น การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 4 ครั้งนั้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแน่ คือ การที่ลูกเต๋าไม่หงายหน้าหกเลย เพราะหงายหน้าอื่น หรือหงายหน้าหกอย่างน้อย 1 ครั้ง | |
ฉะนั้นความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าไม่หงายหน้าหกเลย รวมกับความน่าจะเป็น ที่ลูกเต๋าหงายหน้าหกอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงมีค่าเท่ากับ 1 ตามที่กล่าวแล้วในตอน แรก นั่นคือ
= 1-(5/6)4 = 0.516 จะสังเกตเห็นว่าค่า 0.516 นี้เกินครึ่ง จึงแสดงว่าโอกาสที่ลูกเต๋าหงายหน้าหก อย่างน้อย 1 ครั้งมีมาก ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 4 ครั้ง เชอวาลิเยร์จึงมีโอกาส ชนะมากกว่าและเผอิญเขาโชคดีจึงชนะในครั้งนั้น ตามปกติเขาจะไม่ชนะทุกครั้งไป เมื่อเชอวาลิเยร์พนันต่อไปว่า ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 24 ครั้ง หน้าหก จะต้องหงายพร้อมกันอย่างน้อย 1 ครั้งนั้น ปาสกาลอธิบายว่า ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก ลูกเต๋าจะหงายได้ 36 วิธี คือ ลูกที่ 1 หงายหน้าหนึ่งและลูกที่ 2 หงายหน้า หนึ่งหรือลูกที่ 1 หงายหน้าใดๆ ก็ได้ ตั้งแต่หน้าหนึ่งถึงหกและลูกที่ 2 หงายหน้า ใดๆ ก็ได้ ตั้งแต่หน้าหนึ่งถึงหน้าหกเช่นกัน | |
ทำนองเดียวกันกับในตอนแรก ความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าหกทั้ง 2 ลูกอย่างน้อย 1 ครั้ง คือ 1-(35/36 ปัญหาที่ 2 การแบ่งรางวัลในเกมที่ต้องหยุดเล่นก่อนกำหนด ในเกมที่มีผู้เล่น 2 คน แต่ละคนมีโอกาสที่จะชนะเท่าๆ กัน ทั้งสองตกลงกันว่า ผู้ที่ชนะ 5 เกมเป็นคนแรก จะเป็นผู้ชนะในที่สุด แต่ปรากฏว่า เมื่อคนแรก ชนะได้ 4 เกม และคนที่ 2 ชนะได้ 3 เกม ก็จำต้องหยุดเล่น จึงเกิดปัญหาว่า จะแบ่งรางวัลอย่างไร จึงจะยุติธรรม ปาสกาลได้อธิบายวิธีแบ่งโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็นดังนี้ | |
เพื่อให้โอกาสที่ทั้งสองจะชนะได้ จึงควรพิจารณาว่า ถ้าทั้งสองเล่นต่ออีก 2 เกม เพราะคนที่ 2 ชนะแล้ว 3 เกม ผลที่ได้มี 4 อย่าง คือ 1. คนที่ 1 ชนะทั้ง 2 เกม 2. คนที่ 2 ชนะทั้ง 2 เกม 3. คนที่ 1 ชนะเกมที่ 1 และคนที่ 2 ชนะเกมที่ 2 4. คนที่ 1 ชนะเกมที่ 2 และคนที่ 2 ชนะเกมที่ 1 จะเห็นว่าคนที่ 2 จะมีโอกาสเป็นผู้ชนะเลิศก็ต่อเมื่อ เขาต้องเป็นผู้ชนะอีกทั้ง 2 เกม ซึ่งจะมีโอกาสเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น แต่โอกาสที่คนที่ 1 จะเป็นผู้ชนะ มีถึง 3 ใน 4 ฉะนั้นเมื่อต้องหยุดเล่นก่อนกำหนด คนที่ 1 จึงมีโอกาสได้รางวัล 3 ส่วน และคนที่ 2 ได้เพียง 1 ส่วน เพราะโอกาสที่คนที่ 1 จะชนะมีเป็น 3 เท่า ของคนที่ 2 |