โรคของเส้นผม ขน และเล็บ ในกลุ่มนี้โรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ผมร่วง ผมหงอก และศีรษะล้านโดยไม่เกิดเป็นแผลเป็นที่บนศีรษะ และในกรณีที่ผมร่วงหรือศีรษะล้าน โดยทั่วๆ ไปก็ย่อมจะมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น กรรมพันธุ์เป็นมาแต่กำเนิด การบกพร่องในโภชนาการ โรคของต่อมไร้ท่อ ยา สารเคมีบางชนิด และพิษไข้ เป็นต้น | |
แผนภาพผิวหนังตัดขวางแสดงเส้นผมหรือขน | |
ที่จริงผมร่วงธรรมดาๆ นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ เมื่อทารกแรกเกิดย่อมมีผมขึ้นเป็นปกติ จะหนาจะบาง แล้วแต่ทารกแต่ละคน แต่ในอีก ๖-๑๒ สัปดาห์ ถัดมามีผมร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวท้ายทอย ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า "ผ้าอ้อมกัด" เพราะเห็นศีรษะถูไถอยู่กับหมอนหรือเบาะอยู่เสมอ และหลังจาก ๖ เดือน ไปแล้วก็จะมีเส้นผมเกิดขึ้นมาแทนที่ใหม่ ผมที่ร่วงจนศีรษะล้านตามแบบฉบับของบุรุษเพศที่เห็นๆ กันอยู่เป็นธรรมดานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกันคือ อายุ เมื่อผ่านวัยหนุ่มไปสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่เมื่ออายุเลย ๖๐ ปีขึ้นไป ก็เริ่มเข้าสู่กลไกของความชราภาพ ซึ่งจะช้าหรือเร็ว ย่อมแล้วแต่ดินฟ้าอากาศ กรรมพันธุ์ฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน และเชื้อชาติ เช่น ในชาวตะวันออก และพวกนิโกร ศีรษะจะล้านน้อยกว่าชาวคอร์เคเชียน (Caucasian) ความเคร่งเครียดทางด้านจิตใจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ศีรษะล้านเร็วขึ้น ผมที่ร่วง ทำให้ศีรษะล้านตามแบบของบุรุษเพศนี้จะไม่ร่วงทั่วไปหมดทั้งศีรษะในโอกาสเดียวกัน แต่จะเริ่มเป็นเฉพาะแห่งก่อน เช่น ที่หน้าผาก หรือสองข้างหน้าขมับ ซึ่งจะค่อยๆ เว้าเข้าไปอย่างที่เรียกกันว่า "หัวล้านง่ามถ่อ หรือง่ามกีบโค" เมื่ออายุสูงขึ้น ที่กลางศีรษะก็จะเริ่มล้านด้วย อย่างไรก็ดี เส้นผมจะไม่ล้านจนเกลี้ยงศีรษะเลยทีเดียว จะยังคงมีเหลืออยู่บ้างทางด้านหลังของศีรษะ จากหลังหูข้างหนึ่ง ไปถึงอีกข้างหนึ่ง ในสตรีเพศเองก็มีผมร่วงตามแบบฉบับนี้เช่นกัน แต่จะไม่ถึงกับศีรษะล้านเหมือนในผู้ชาย เพียงแต่มักจะมีผมบางลงไปมาก เหนือเชิงผมตอนหน้าผากเข้าไป หรือตรงกลางๆ ศีรษะ ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำผมเกล้ามวย และดึงจนตึง มักจะมีผมบางเป็นหย่อมเช่นนี้ได้ง่าย ผมร่วงเป็นหย่อม โรคนี้เป็นในเพศและวัยใดก็ได้ สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ ถึงแม้จะมีผู้อ้างอิงถึงการกระทบกระเทือนทางจิต และการเกิดขึ้นพร้อม หรือร่วมกับโรคอื่นๆ อีกมากมายด้วยกัน | |
ผมร่วงเป็นหย่อม | ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไร นอกจากมีผมร่วงเป็นหย่อมอย่างชัดเจน หรือแม้แต่หนวด หรือขนคิ้ว ก็เป็นได้ |
โดยมากจะเป็นหย่อมเดียวขนาดกว้างประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร และอาจขยายกว้างขึ้นหรือมีหย่อม ใหม่เกิดขึ้นติดๆ กัน และขยายออกมารวมกันกับ หย่อมแรก และในเวลาเพียง ๒-๓ สัปดาห์อาจร่วง เป็นบริเวณกว้างใหญ่ได้ |
ในระยะแรกๆ หนังศีรษะบริเวณนั้นอาจบวมและ เจ็บได้เล็กน้อย แต่ต่อๆ ไปจะยุบลง และเห็นผิวหนัง เรียบเกลี้ยงเกลาทีเดียว | ผมร่วงเป็นหย่อม |
ในบางราย โรคนี้อาจเกือบหายได้เองในระยะ เวลาอันรวดเร็ว ตอนแรกมักจะมีเส้นผมละเอียดอ่อน ขึ้นมาก่อน แล้วจึงมีเส้นผมที่หยาบและใหญ่อย่างปกติ ขึ้นมาแทนที่ สตรีบางคนอาจมีผมดกผิดธรรมดาในตำแหน่งที่บุรุษเขามีกัน เช่น ที่ใบ หน้า แขนขา และลำตัว ทำให้รู้สึกน่าเกลียด และเป็นผลให้กระเทือนทางจิตใจได้ ส่วนใหญ่จะไม่พบอะไรผิดปกติในผู้ป่วยเหล่านี้ แต่มีบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทางฮอร์โมน เช่น ภายหลังการหมดประจำเดือนแล้ว หรือภายหลังการผ่าตัดเอารังไข่ออก ในการใช้ยาบางชนิดโดยเฉพาะพวกสตีรอยด์ ในรายที่เป็นไม่รุนแรงนักจะมีแต่เพียงขนเส้นหยาบหนา สีเข้มที่เหนือริมฝีปากบน หรือคางด้าน ข้างของใบหน้า เต้านม และหน้าอก ที่เหมือนบุรุษเพศทีเดียวนั้น นอกจากมีขนขึ้นดกในบริเวณดังกล่าวแล้ว ยังมีขึ้นที่ขอบสะดือ โคน ขา หน้าแขน และแขนด้วย การที่จะหาสาเหตุของสภาพเช่นนี้เป็นของยากมาก และก็มีเพียงน้อยรายเท่านั้นที่ต้องรับการรักษาโดยเฉพาะ เส้นผมที่มีสีซีดขาวหรือเรียกกันว่า "หงอก" นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในผู้สูงอายุจากการเสื่อมของเซลล์ ที่ผลิตเม็ดสีเมลาโนไซต์ (melanocyte) แต่ถ้าผมหงอกก่อนวัยสมควร เช่น เกิดขึ้นเมื่ออายุต่ำกว่า ๒๐ ปี อาจต้องนึกถึงโรคบางโรคที่เป็นร่วมด้วย เช่น โรคด่างขาวและเลือดจาง เป็นต้น เล็บ ในผู้ที่มีสุขภาพปกติ เล็บจะงอกยาวออกมาประมาณ ๐.๑ มิลลิเมตรต่อวัน ฉะนั้นเมื่อเล็บถูกถอดออก หรือเป็นอันตรายเสียไป จะใช้เวลาประมาณ ๑ ปีที่จะบอกออกยาวสู่สภาพเดิม และจะงอกช้าลงตามอายุที่สูงขึ้น | |
แผนภาพแสดงส่วนประกอบของเล็บ | |
เด็กบางคน หรือแม้แต่ผู้ใหญ่มักมีนิสัยชอบกัดเล็บเป็นประจำจนกุดกร่อน เด็กๆ มักจะเลิกไปเองในสองหรือสามปี สตรีที่ให้มือเปียกน้ำอยู่เป็นประจำ เช่น ซักผ้า ล้างจาน มักจะมีเล็บเปราะ แล้วแตกหรือแยกออกได้ เช่นเดียวกับผู้ที่ต้องสัมผัสกับเคมีวัตถุบางชนิดบ่อยๆ | |
โรคของเล็บที่เกิดจากเชื้อรา | |
การที่มือเปียกอยู่เสมอเช่นนี้ จะทำให้เชื้อโรค เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณรอบๆ เล็บได้ง่าย โดยเฉพาะ เชื้อแคนดีดา อัลบิชแคนส์ ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และเล็บขรุขระ นอกจากนี้การผิดปกติของเล็บยังอาจเกิดขึ้น ในโรคผิวหนังอีกหลายชนิด เช่น เอ็กซีมา โซริอาซิส และโรคเชื้อราอื่นๆ เป็นต้น |