เล่มที่ 1
ดนตรีไทย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
เพลงดนตรีไทย

            เพลงดนตรีของไทยนั้น มีทำนองต่างๆ เพลงบางชนิดก็มีทำนองพื้นๆ เรียบๆ ไม่มีพลิกแพลงอย่างใด เรียกว่า "เพลงพื้น" บางชนิดก็เดินทำนองเป็นเสียงยาวๆ เพลงชนิดนี้เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีก็จะต้องตีกรอ ทำให้เสียงยาว จึงเรียกว่า "เพลงกรอ" และเพลงบางชนิดก็มีทำนองพลิกแพลงโลดโผน มีแบ่งเครื่องดนตรีเป็นพวกผลัดกันหยุด ผลัดกันบรรเลง ก็เรียกว่า "เพลงลูกล้อลูกขัด"


ท่ารำเพลงเชิด
ถ้าจะแบ่งตามลักษณะของเพลง ก็จะแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท คือ

เพลงหน้าพาทย์

ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งของมุนษย์ ของ สัตว์ ของวัตถุต่างๆ และอื่นๆ เช่น เดิน นอน วิ่ง กลายร่าง เกิดขึ้น สูญไป เป็นต้น ไม่ว่ากิริยานั้น จะแลเห็นตัวตน เช่น การแสดง โขน ละคร หรือกิริยาสมมุติ แลไม่เห็นตัว เช่น การเชิญเทวดาให้ เสด็จมา ถ้าเป็นการบรรเลงประกอบกิริยานั้นๆ แล้ว ก็เรียกว่าหน้าพาทย์ทั้งสิ้น เช่น
  • บรรเลงเพลงเชิด ประกอบกิริยาไปมาไกลๆ หรือรีบเร่ง หรือรบกัน 
  • บรรเลงเพลงเสมอ ประกอบกิริยาไปมาใกล้ๆ จากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง
  • บรรเลงเพลงโอด ประกอบกิริยาร้องไห้ หรือสลบ หรือตาย 
  • บรรเลงเพลงเหาะ ประกอบกิริยาไปมาในอากาศของเทวดา 
  • บรรเลงเพลงโล้ ประกอบกิริยาไปมาในน้ำทั้งของมนุษย์ สัตว์ หรือวัตถุ

ท่ารำเพลงเชิด

เพลงรับร้อง

            บางทีก็เรียกว่า เพลงเสภา เพราะเพลงประเภทนี้ใช้บรรเลงประกอบการขับเสภามาก่อน เพลงประเภทรับร้องนี้ มีทั้งเพลงพื้น เพลงกรอ และเพลงลูกล้อลูกขัด ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วย บรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อน นั้นๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา ๓ ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว ๓ ชั้น เพลงสี่บท ๓ ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น

เพลงละคร

            หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่างๆ ความจริงการ แสดงโขนละครนี้ ก็จะต้องมีเพลงหน้าพาทย์ด้วย แต่เพลงหน้าพาทย์ได้แยกไปอธิบายอยู่ส่วนหนึ่ง แล้ว เพลงละครในที่นี้จึงหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่านั้น เพลงละครได้แก่เพลง อัตรา ๒ ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น กับเพลงจำพวกพิเศษที่ใช้เฉพาะละครแท้ๆ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงโอ้ปี่ เพลงโอ้ ชาตรี เพลงโอ้โลม เพลงชมตลาด เป็นต้น

เพลงที่ใช้ร้องประกอบละคร หรือมหรสพอื่นๆ จะต้องใช้ให้ถูกอารมณ์ของตัวละคร เช่น

  • เพลงพญาโศก เพลงสร้อยเพลง ใช้ในอารมณ์โศกอยู่กับที่ 
  • เพลงทยอย เพลงโอ้ร่าย ใช้ในอารมณ์โศกเมื่อเดินหรือเคลื่อนที่ไป 
  • เพลงลิงโลด ใช้ในอารมณ์โกรธ 
  • เพลงชมโฉม ใช้ในเวลาชมรูปร่างคนที่เราพอใจ 
  • เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ชาตรี ใช้เวลาเกี้ยวพาราสี 
  • เพลงโอ้ป ใช้เวลาครวญคร่ำรำพันด้วยความโศก 
  • เพลงเย้ย ใช้เวลาเยาะเย้ย

เพลงเบ็ดเตล็ด

            ได้แก่ เพลงเล็กๆ สั้นๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็น เพลงลูกบท หรือเพลงภาษาต่างๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

            เพลงภาษานั้น ก็คือเพลงที่มีสำเนียงภาษาต่างๆ เช่น เพลงจีน เพลงเขมร เพลงญวน เพลงฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งมีทั้งเอาเพลงของชาตินั้นจริงมาบรรเลง และเพลงที่ไทยเราแต่งขึ้นโดย เลียนสำเนียงภาษานั้นๆ