การบรรเลงดนตรีไทย
การบรรเลงดนตรีไทยนั้น ผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำอย่างหนึ่ง รู้วิธีบรรเลง และหน้าที่ของเครื่องดนตรี ที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ว่ามีอย่างไร (ดูหัวข้อ การผสมวง) และมีสติปัญญาแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะอีกอย่างหนึ่ง เพราะการบรรเลงดนตรี ไทยไม่ได้ดูโน๊ต จึงต้องใช้ความจำ ในขณะที่บรรเลง ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองด้วยปัญญาของ ตน ให้ดำเนินไปตามวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ก็ต้องเก็บถี่ๆ ตีเป็น คู่ ๘ พร้อมๆ กันทั้งสองมือ และต้องไม่ให้ผิดไปจากเนื้อเพลงของเพลงนั้นด้วย
การบรรเลงหมู่คือ บรรเลงพร้อมๆ กันทั้งวง ก็ต้องถือจังหวะช้าเร็วอันเดียวกัน ทุกคนต่างบรรเลงตามหน้าที่ของตนให้สอดคล้องต้องกัน โดยถือความพร้อมเพรียงเป็นใหญ่ แต่ถ้าเป็น การบรรเลงเดี่ยว คือ บรรเลงคนเดียว จะบรรเลงโลดโผนอวดฝีมือความสามารถอย่างไรก็ได้ เพราะการบรรเลงเดี่ยวเป็นเรื่องอวดความแม่นยำ อวดฝีมือ และอวดทำนองที่แต่งขึ้นไว้เป็นพิเศษ สำหรับเดี่ยวนั้น