| |
ชุมชนโบราณ คือ แหล่งที่เคยมีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่เป็นบ้านเป็นเมือง หรือเป็นชุมชนขนาดเล็กๆ ล้วนแต่เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่ควรรักษาให้คงไว้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ | |
| |
คู่คันดินรอบชุมชนโบราณ จากการใช้ภาพถ่ายทางอากาศช่วยสำรวจแหล่งชุมชนโบราณ เราได้ทราบว่า ทั่วประเทศไทยมีชุมชนโบราณถึง ๑,๒๐๘ แห่ง ในจำนวนนี้ประมาณ ๙๕๔ แห่ง เป็นแหล่งชุมชนที่มีคูคันดินล้อมรอบ ทั้งนี้สันนิษฐานว่า น่าจะมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆ อย่างรวมกัน ได้แก่ | |
| ๑. เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณของชุมชน หรือบริเวณที่มีความสำคัญโดยเฉพาะ ๒. เพื่อเป็นการป้องกันศัตรูจากภายนอก ๓. เพื่อความสะดวกในการคมนาคมเชื่อมโยงกับทางน้ำ หรือเส้นทางออกสู่ทะเล ๔. เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์สำหรับชุมชน |
คูและคันดินมีรูปแบบจำแนกออกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ "กลุ่มรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ" และ "กลุ่มรูปแบบที่ไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ" กลุ่มหลังนี้มีรูปร่างไม่สัมพันธ์กับภูมิประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบ มีรูปแบบหลากหลาย เช่น รูปแบบอิสระ คือ มีรูปแบบไม่แน่นอนในทางเรขาคณิต รูปแบบวงกลม วงรี รูปแบบมุมมน และรูปแบบมุมเหลี่ยม เป็นต้น คูคันดินขุดล้อมรอบชุมชนโบราณ : ขุดในที่ราบกักเก็บน้ำ และสร้างคันดินสูงใช้ในการป้องกันศัตรู แหล่งชุมชนโบราณที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มักเคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน: เมืองเชียงใหม่ |
ส่วนกลุ่มรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศนั้น รูปร่างคูและคันดินเป็นไปตามภูมิประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นเนิน คูคันดินนั้น ขุดล้อมรอบเนิน หรือต่อเชื่อม ระหว่างเนินกับที่ราบ เช่น ชุมชนโบราณในบริเวณภาคเหนือที่เรียกว่า "ล้านนา" หรือรูปร่างคูคันดิน ที่ขุดล้อมรอบเนินในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น วัดพระธาตุวรมหาวิหาร อ.เมืองนครศรีธรรมราช |
ขนาดพื้นที่บริเวณชุมชนโบราณ
เมืองนครราชสีมา |
ท่อปู่พระยาร่วง...คลองชลประทานสมัยสุโขทัย
ภาพถ่ายทางอากาศที่ บ.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย |
แนวคลองจากกำแพงเพชร และจากศรีสัชนาลัย มาเชื่อมต่อกันที่สุโขทัย และน้ำไหลลงตามคลองแม่รำพัน ลงสู่แม่น้ำยมนี้ มีปรากฎอยู่ในแผนที่ยุทธศาสตร์ ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อีกด้วย แผนที่แสดงแนวคลองชลประทาน "ท่อปู่พระยาร่วง" ที่เมืองสุโขทัย |
มาบัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแผนที่เส้นทางส่วนหนึ่งของคลองนี้ คือ จากกำแพงเพชรถึงเมืองบางพานให้แก่กรมชลประทาน เพื่อขุดคลองนำน้ำจากแม่น้ำปิง เข้ามาใช้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทำนา แนวคลองดังกล่าวได้สร้างแล้วเสร็จ ตามโครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง (พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๘) พสกนิกรในอาณาบริเวณนั้น จึงได้รับความร่มเย็นด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ นับว่า เป็นการอนุรักษ์แนวคลองชลประทานสมัยสุโขทัย ให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยสืบต่อไป และช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ นำความร่มเย็นมาสู่ปวงประชาของพระองค์ได้ในเวลาเดียวกัน |
เมืองอู่ตะเภา จ.สระบุรี |
ชุมชนโบราณในบริเวณรอบอ่าวไทย
เมืองคูบัว จ.ราชบุรี |
ชุมชนโบราณบริเวณรอบอ่าวไทย ส่วนใหญ่พบในบริเวณต่อไปนี้ คือ
ชุมชนโบราณบริเวณ บ.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม |
๒. บริเวณจังหวัดภาคใต้ ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ที่บ้านหนองมะเหียะอ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด |
ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งกุลาร้องไห้อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ ๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นที่ลุ่มต่ำ คล้ายท้องกระทะของบริเวณที่ราบสูงโคราช แถบลุ่มแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี มีแม่น้ำมูลเป็นขอบเขตทางใต้ บริเวณนี้รองรับด้วยชั้นหินที่มีเกลือ แม้ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขัง แต่หลังจากนั้นพื้นที่จะแห้งแล้ง มีน้ำและดินเค็มอยู่ทั่วไป แต่บางบริเวณ ก็มีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินสูงกว่าบริเวณรอบข้าง สามารถขุดกักหาน้ำจืดได้ ชุมชนโบราณมักอยู่บริเวณนี้ จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณด้วยภาพถ่ายทางอากาศพบว่า บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้นี้ มีชุมชนโบราณถึง ๙๒ แห่ง มีคูคลองชลประทาน ๖๕ สาย ขุดเชื่อมต่อระบายน้ำ จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ยาว ๕๔๓ กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังพบแนวเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อปิดกักยกระดับน้ำ ๒ แห่ง ยาว ๔.๕ กิโลเมตร และ ๓.๕ กิโลเมตร เช่น ชุมชนโบราณ ที่บ้านหลุบโมก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนปัจจุบัน จากภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ คูคันดินโบราณตื้นเขิน และในภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการขุดลอกกักเก็บน้ำจืด ใช้ประโยชน์สำหรับชุมชนปัจจุบัน |