การพัฒนาชนบท
ชนบทนอกจากจะเป็นที่รวมของเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิต และเป็นตลาดรองรับการขยายตัวของความเจริญเติบโต ในภาคเศรษฐกิจสาขาอื่น ด้วยเหตุนี้ชนบท จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญ และความมั่นคงของชาติ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชนบท จึงเป็นปัญหาที่มีผลกระทบโยงใยถึงทุกส่วนของสังคม
การพัฒนาชนบทเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ในสภาพแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็ว จึงประสบอุปสรรค และข้อขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงลงได้โดยง่าย
ปัญหาของชนบทไทยนั้นมีมากมายหลาย ด้าน มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วปัญหา สำคัญที่ชนบทส่วนใหญ่มีเหมือนๆ กัน คือ ปัญหา ความยากจน และความล้าหลังทางเศรษฐกิจ ซึ่ง มีผลต่อเนื่องไปถึงความเสื่อมโทรมในคุณภาพชีวิต วงจรของปัญหาดังกล่าวหมุนเวียนต่อเนื่องมาเป็น เวลานานและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวชนบท ไม่สามารถพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง
ปัญหาหลักของชาวชนบทคือ การขาดแคลน ความรู้ความสามารถในเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรอย่างมี หลักวิชา และการปรับปรุงรักษาคุณภาพ ปัจจัย การผลิตที่สำคัญ เช่น ที่ดิน ในขณะที่ธรรม- ชาติแวดล้อมที่มีผลต่อการผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็มีสภาพ เสื่อมโทรมลงตลอดเวลา เป็นผลให้การพัฒนา ชนบทที่ผ่านมาไม่บรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากนัก