การบอกตำแหน่งจุด
เราได้ความรู้จากนักปราชญ์ชาวกรีก สมัย โบราณ เมื่อประมาณ ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ว่าโลกเรามีสัณฐานทรงกลม แต่ก็ยังไม่มีใครคำนวณ ได้ดี จนถึงเมื่อประมาณ ๒๔๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ชื่อ เอราโทรเทเนส (Eratosthenes, ประมาณ ๒๗๖ - ๑๙๔ ปี ก่อนคริสต์ศักราช, ชาวกรีก, นักคณิตศาสตร์) ได้วัดขนาด ของโลกว่ามีเส้นรอบวงยาว ๔๐,๐๐๐ กิโลเมตร
เอราโทสเทเนส ผู้วัดขนาดโลกเมื่อ ๒๔๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชก่อนที่ แมเกลแลน เดินทางทางเรือไปรอบโลก ๑,๗๐๐ ปี พบว่าเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือสุด ประมาณ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ที่อะเล็กซานเดรียแสงอาทิตย์ส่องตรงในบ่อน้ำที่ไซเอน เมื่อแสงอาทิตย์ส่องที่อะเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ห่างจากไซเอน ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร เงาเสาเอนประมาณ๗.๒ องศา เขาคำนวณมุมศูนย์กลางโลก ระหว่างไซเอน และอะเล็กซานเดรีย เท่ากับ ๑/๕๐ ของ ๓๖๐ องศา ได้เส้นรอบวงของโลก๕๐ เท่า ระยะระหว่างไซเอน และอะเล็กซานเดรียเท่ากับ ๔๐,๐๐๐ กิโลเมตร
เอราโทสเทเนสได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์ พบว่าดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวันในฤดูร้อน เมื่อวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ทางด้านเหนือเส้นศูนย์สูตร ท้องฟ้าเหนือที่สุด ได้ส่องแสงตรงลงมาเห็นเงาอยู่ใน บ่อๆ หนึ่งที่ไซเอน (Syene) ปัจจุบันนี้เรียกว่า อาสวาน (Aswan) เขาทราบว่าขณะเดียวกับที่อะเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งอยู่ทางเหนือไซเอนขึ้นไป ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ดวงอาทิตย์ทำเงาเอียง วัดได้ ๗.๒ องศา หรือประมาณ ๑/๕๐ ของ ๓๖๐ degree เขาจึงคำนวณได้รอบวงของโลกเป็น ๕๐x๘๐๐ หรือ ๔๐,๐๐๐ กิโลเมตร ขนาดจริงของโลกที่วัดได้ด้วย เครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่แตกต่างจากที่เอราโทสเทเนสวันได้ไม่ถึง ๑๖๐ กิโลเมตร
แผนที่โลก ในหนังสือภูมิศาสตร์ของโตเลมี
โดยที่โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม และมีขนาดใหญ่โตมาก จุดใดจุดหนึ่งบนทรงกลม มีลักษณะเหมือนจุดอื่นๆ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ระบบการบอกตำแหน่งจุดมาจากเคลาดิอุส โตเลมี (Claudius Ptolemy ประมาณ ค.ศ. ๒๐๐, ชาวกรีก, นักคณิตศาสตร์) โตเลมีอยู่ในอียิปต์ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุด และสอน ที่โรงเรียนในนครอะเล็กซานเดรีย เป็นผู้ให้ความคิด และให้แบบอย่างไว้ในแผนที่ที่เขาได้รวบรวมทำขึ้น เขาแบ่งผิวโลกโดยใช้ระบบพิกัดทางเรขาคณิต ระบบ พิกัดนี้ก็คือวงขนานละติจูดและวงเมริเดียนลองจิจูด ใช้บอกตำแหน่งจุดทั้งบนบกและในทะเล วงขนาน ละติจูดเป็นวงขนานกับศูนย์สูตรของโลก ส่วนวงขนาน ลองจิจูด เป็นวงซึ่งตั้งได้ฉากกับศูนย์สูตรโลกซึ่งไป รวมกันที่ขั้วโลก