ประเภทของเวลา
เวลาจากดวงอาทิตย์
เมริเดียนของจุดใดจุดหนึ่งบน ผิวโลก จะผ่านตรงใต้ดวงอาทิตย์วันละครั้งเท่านั้น อันตรภาคของเวลา ขณะที่เมริเดียนของจุดนั้นเคลื่อนที่มาบรรจบครบรอบเรียกว่า วันสุริยคติปรากฎ ๑วัน เวลาซึ่งนับจาก วันชนิดนี้เรียกว่า เวลาสุรคติปรากฎ (apparent solar time) นาฬิกาแดดบอกเวลาชนิดนี้
วันสุริยคติปรากฏ มีความนานไม่เท่ากันทุกวัน ซึ่งเป็นเพราะการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ไม่สม่ำเสมอกัน และแกนโลกเอนทับเส้นทางโคจรปรากฏของดวงอาทิตย์
เพื่อให้เวลานานของวันหนึ่งนานสม่ำเสมอเท่ากัน สามารถใช้นาฬิกาเชิงกลบอกเวลาได้ ได้มีการใช้ วันสุริยคติปานกลาง (mean solar day) เฉลี่ยเวลาที่ เมริเดียนของจุดหนึ่งๆ เคลื่อนที่ได้ครบหนึ่งรอบ เวลา สุริยคติปานกลาง เป็นเวลาที่ใช้กันในความเป็นอยู่ของ ชีวิตประจำวัน ความต่างกันระหว่างเวลาสุริยคติ ปรากฏ และเวลาสุริยคติปานกลาง นี้เรียกว่า "สมการของเวลา" ระหว่างปีมีอยู่ ๔ ครั้ง ที่เวลาทั้ง ๒ ชนิดนี้ เหมือนกัน ประมาณ ๑๕ เมษายน ๑๔ มิถุนายน ๑ กันยายน และ ๒๕ ธันวาคม
การนับเวลาสุริยคติของไทยในสมัยโบราณ วันหนึ่งแบ่งออกเป็น ๒๔ ชั่วโมง กลางวัน ๑๒ ชั่วโมง และกลางคืน ๑๒ ชั่วโมง ตั้งต้นวันเวลาย่ำรุ่ง ชั่วโมงต่อไปเป็นเช้า หนึ่งโมง สองโมง สามโมง สี่ โมง ห้าโมง และเที่ยง (วัน) บ่ายหนึ่งโมง สองโมง สามโมง สี่โมง ห้าโมง และย่ำค่ำ รวม ๑๒ ชั่วโมง เวลากลางวัน เวลากลางคืนภายหลังย่ำค่ำต่อไปเป็น หนึ่งทุ่ม สองทุ่ม หนึ่งยาม สี่ทุ่ม ห้าทุ่ม สองยาม เจ็ด ทุ่ม แปดทุ่ม สามยาม สิบทุ่ม สิบเอ็ดทุ่ม แล้วสิ้นวัน เป็นเวลาย่ำรุ่ง
การนับเวลาเป็นชั่วโมง ทุ่ม ย่ำรุ่ง เที่ยง ย่ำค่ำ และยาม สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานความรู้ไว้ว่า มีประเพณีในโบราณกาล การจัดยามรักษาการณ์ในพระบรม มหาราชวัง เวลากลางคืนใช้ผลัดยามๆ ละ ๖ ชั่วโมง และเวลากลางคืนใช้ผลัดยามๆ ละ ๓ ชั่วโมง เมื่อถึงกำหนดเวลาผลัดเปลี่ยนยาม มีการตีย่ำฆ้องระฆัง เป็นสัญญาณการเปลี่ยนยามกลางวัน เวลาย่ำรุ่ง ย่ำเที่ยง (ซึ่งภายหลังเรียกกันว่า เที่ยงวัน) และย่ำค่ำ เวลากลางคืน การตีย่ำฆ้องระฆังเป็นสัญญาณผลัดเปลี่ยนยามเวลาหนึ่ง สองยาม และสามยาม
ในสมัยต่อมา มีการนับวันตามแบบสากลนิยม วันเริ่มเวลาสองยาม แล้วเรียงลำดับเป็นเช้า ๑ โมง ไปจนถึงเที่ยง ต่อจากนั้นนับเป็นบ่าย ๑ โมงจนถึง ย่ำค่ำ ซึ่งมีความหมายชั่วโมงเช้าเป็นชั่วโมงก่อน ดวงอาทิตย์โคจรมาถึงเมริเดียนเรียกว่า แอนทริเมริเดียน หมายถึงก่อนเมริเดียน (ante neridian) ใช้อักษร ย่อ A.M. และชั่วโมงบ่ายเป็นชั่วโมงภายหลังดวง อาทิตย์โคจรผ่านเมริเดียนไปแล้วเรียกว่า โพสต์เมริเดียน หมายถึงหลังเมริเดียน (post meridian) ใช้อักษร ย่อ P.M.
ปัจจุบันนี้ นับเริ่มวันใหม่จากเที่ยงคืน แต่การนับเรียกเป็น ๐ นาฬิกา และลำดับต่อไปเป็น ๑ นาฬิกา จนถึง ๒๔ นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาสิ้นวันเก่า และตรงกับเริ่มวันใหม่ ๐ นาฬิกา
เวลาดวงดาว
ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องรักษาเวลาธรรมชาติ แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับนักดาราศาสตร์ เพราะดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ระหว่างดาวไปทางตะวันออก นักดาราศาสตร์จึงต้องใช้ "เวลาดาราคติ" ซึ่งใช้หลัก อันตรภาคของเวลาระหว่างที่ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งผ่าน เมริเดียนบรรจบครบหนึ่งรอบติดๆ กัน หนึ่งวันดารา คตินาน ๒๓ ชั่วโมง ๕๖ นาที ๔.๐๙ วินาทีของวัน สุริยคติปานกลาง ในปีหนึ่งมีจำนวนวันดาราคติมาก กว่าวันสุริยคติปานกลางหนึ่งวัน นาฬิกาซึ่งรักษา เวลาดาราคติที่หอสังเกตการณ์ดาว และนาฬิกา ซึ่งรักษาเวลาสุริยคติปานกลาง จะบอกเวลาเท่ากัน ประมาณ ๒๑ กันยายน
เวลาท้องถิ่น
เวลาท้องถิ่นที่บริเวณใดเป็นเวลาดวงอาทิตย์ชี้บอกที่เมริเดียนนั้น เวลาชนิดนี้จึงแตกต่างกันตามลองจิจูดที่ต่างกัน บนผิวโลกต่างกัน ๑ ชั่วโมงเท่ากับลองจิจูดต่างกัน ๑๕ องศา หรือ ๔ นาทีสำหรับทุกๆ ๑ องศาลองจิจูด ความต่างกันระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาที่ลองจิจูด ๐ องศา ซึ่งผ่านกรีนิชขณะเดียวกันเท่ากับ ความต่างของลองจิจูดที่ท้องถิ่นกับกรีนิช
เวลามาตรฐาน
ถ้าทุกแห่งใช้เวลาท้องถิ่น จะเกิดความสับสน สำหรับผู้ที่ท้องเที่ยวจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และสำหรับกิจการอื่นๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งเรื่อง ที่เกี่ยวกับการส่งรับวิทยุโทรทัศน์และการสื่อสาร
ประเทศอังกฤษทั้งประเทศใช้เวลาของเมริเดียน กรีนิช ประเทศฝรั่งเศสแต่ก่อนเคยใช้เวลาของเมริเดียนปารีส แต่ได้เปลี่ยนมาใช้เวลาของกรีนิช ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นการยากที่จะใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศ จากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ซานฟรานซิสโก (Sanfrancisco) ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาประมาณ ๔ ชั่วโมง ภายหลังที่ขึ้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือในรัฐเมน (Maine)
เวลามาตรฐานที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นับจากเวลากรีนิชเป็นหลักพื้นที่ต่างๆ ใช้เวลาแตกต่างกันเป็นจำนวนชั่วโมงเต็มๆ ให้เมริเดียนกลางของแถบภูมิประเทศ ๒ ข้างเป็นแถบกำหนดเวลามาตรฐาน เช่น เมริเดียนกลาง ๗๕ องศา จากกรีนิช ๙๐ องศา ๑๐๕ องศาและ ๑๒๐ องศา จากกรีนิช โดยทั่วไป ให้ภูมิประเทศ ๒ ข้างของแถบเมริเดียนกลางใช้เวลาเดียวกัน มีพิเศษอยู่บางตอน เพื่อความเหมาะสมกับการแบ่งเขตของรัฐ
ในประเทศไทยเราใช้เวลามาตรฐานของลองจิจูด ๑๐๕ degree หรือ ๗ ชั่วโมง ต่างกันกับเวลากรีนิช ที่กรุงเทพมหานคร เวลาท้องถิ่นกับเวลามาตรฐานต่างกันประมาณ ๑๘ นาที กล่าวคือ เวลามาตรฐานของ กรุงเทพมหานคร เร็วขึ้นหน้าเวลาจริงของท้องถิ่น ประมาณ ๑๘ นาที
เวลาเร็วขึ้นหรือช้าลงทุกๆ ๑๕ องศาลองจิจูด ก็มีการเปลี่ยน ๒๔ ชั่วโมง เมื่อเราเดินทางไปรอบโลก โดยที่วันหนึ่งมีเพียง ๒๔ ชั่งโมง ก็ต้องมีทาง แก้ไขไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ทำเช่นนั้น วันตามปฏิทินในตำบล ต่างๆ ของโลกก็จะสับสนกันมาก การแก้ไขปัญหานี้ ได้มีการกำหนดเริ่มต้นของวันปฏิทินที่เส้นซึ่งเลือกขึ้น ในมหาสมุทรแปซิฟิก เส้นนี้มีชื่อว่า เส้นวันสากล (international date line)
เวลามาตรฐานของดินแดนต่างๆ ในโลกเทียบกับเวลาสากลที่กรีนิช
เส้นวันสากลไปตามเมริเดียน ๑๘๐ องศา ครึ่งหนึ่งของรอบโลกของกรีนิช มีเบี่ยงเบนไปบ้างบางแห่ง กำหนดให้รอบๆ เกาะอาลิวเชียน (Aleutian) นับเวลา เหมือนกับทางอะแลสกา (Alaska) และเกาะในทะเลใต้ บางเกาะเหมือนกับออสเตรเลีย เมื่อเดินทางไปทาง ตะวันตกผ่านถึงเส้นนี้ ทิ้งวันตามปฏิทินออกไป ๑ วัน และตรงกันข้าม เมื่อเดินทางไปทางตะวันออกถึง เส้นวันสากล ต้องซ้ำวันตามปฏิทินวันเดียวกันนั้นอีก