ตุ๊กตาเป็นของเล่นที่เด็กชอบมากมาตั้งแต่ ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตารูปคนหรือรูปสัตว์ ตุ๊กตาที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นตุ๊กตารูปคน เป็น ศีรษะผู้หญิง ไว้ผมแสกกลาง (ลำตัวสูญหายไป) ทำด้วยดินเผาหรือปูนปั้น ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อีกแบบหนึ่งที่พบเห็นเป็น ศีรษะผู้หญิงมุ่นผมสูงกลางกระหม่อม มีเกี้ยว รัดผมตุ๊กตาที่น่าสนใจเป็นพิเศษได้แก่ ตุ๊กตา รูปคนเลี้ยงลิง ทำด้วยดินเผาสีแดง พบในบริเวณ ขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๓ ซึ่งเป็นเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม สันนิษฐานว่าอาจเป็นตุ๊กตาสำหรับเด็ก เล่นหรืออาจจะเป็นเครื่องรางของขลังตามคติ ชาวอินเดีย
ตามประวัติความเป็นมาของตุ๊กตา เดิมที เดียวคงจะไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับให้เด็กเล่น แต่มุ่งหมายจะใช้ในพิธีฝังศพบ้าง หรือบรรจุ ในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ต่อมามีคน ไปขุดพบจึงนำรูปปั้นที่อาจจะมีทั้งคนและสัตว์ กลับบ้านเพื่อมาฝากเด็ก เมื่อเด็กชอบ ผู้ใหญ่ จึงทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้เล่นโดยตรง จึงเกิดมี ตุ๊กตาขึ้น ตุ๊กตาสมัยก่อนๆ มักทำง่ายๆ รูป แบบไม่ซับซ้อน โดยใช้วัสดุใกล้ตัว เช่น ดิน ผ้า ไม้ รังไหม ฯลฯ ไม่ต้องซื้อหา เล่นเสียแล้ว ก็ทำใหม่ได้ นอกจากจะปั้นตุ๊กตาเป็นรูปคนแล้ว ยังมีตุ๊กตาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่เห็นในชีวิต ประจำวันด้วย เช่น วัว ควาย หมู สุนัข เป็ด ไก่ นก ฯลฯ | |||
ตุ๊กตาผ้าขนหนู ทำเป็นรูปชะนี ใช้สำหรับแขวนกิ่งไม้ในพิธีทอดผ้าป่า | ในสมัยกรุงสุโขทัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ นอกจากจะมีตุ๊กตาดินเผาแล้ว ยังมีตุ๊กตาเคลือบด้วยน้ำยาสีเขียว แม้แต่ของใช้ในบ้านก็ทำเป็นรูปคนหรือสัตว์ เช่น แจกันรูปช้างชูดอกบัวด้วยงวง มีควาญช้างนั่งอยู่บนคอช้าง เหยือกและกาน้ำรูปหงส์ เป็นต้น ชาวสุโขทัยนั้น มีฝีมือทางช่างสูงมาก การปั้นตัวตุ๊กตาจึงพัฒนาไปจากของเดิม และประณีตขึ้นมาก | ||
เรานำตุ๊กตาไปใช้ด้วยจุดมุ่งหมายต่างๆ กัน เราจึงแบ่งตุ๊กตาออกได้หลายประเภท ดังนี้ ๑. ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ๒. ตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่น ๓. ตุ๊กตาฝีมือ หรือตุ๊กตาที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ๔. ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ๕. ตุ๊กตาอื่นๆ |