วัสดุในการทำอาหารไทย ข้าว อาหารไทยใช้ข้าวเป็นหลัก ข้าวของไทยมีหลายประเภท คือ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว (ข้าวเหนียวดำและขาว) และข้าวฟ่าง กรรมวิธีในการประกอบอาหาร ๑. หุง ใช้ข้าวเจ้าหุงให้เป็นข้าวสวย เดิมหุงโดยใช้หม้อดิน แล้ววิวัฒนาการมาเป็นหม้ออะลูมิเนียม ปัจจุบันนิยมใช้หม้อไฟฟ้า ถ้าหุงใส่กะทิแทนน้ำ เรียกว่า "ข้าวมัน" ใช้รับประทานกับแกงไก่ หรือส้มตำ | |
การนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด | ๒. นึ่ง ใช้ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า ในการนึ่ง เดิมนึ่งด้วย "หวด" ปัจจุบันนึ่งด้วยลังถึง ข้าวเเหนียวที่นึ่งแล้ว ใช้เป็นอาหารคาวและหวานได้ |
ข้าวเหนียวที่ใช้เป็นอาหารคาว ใช้รับประทานกับไก่ย่าง ส้มตำ ลาบ แกงแห้ง เช่น พะแนง แกงฮังเล ข้าวเหนียวที่ใช้เป็นอาหารหวาน ใช้มูนกับกะทิ เป็นข้าวเหนียวที่นำมารับประทานกับสังขยา มะม่วง หรือทุเรียน นำมานึ่งใส่กะทิ เป็นข้าวเหนียวตัด หรือนึ่งแล้วกวนกับกะทิน้ำตาล เป็นข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวกวน รับประทานกับหน้ากุ้ง สังขยา ปลาแห้ง และกระฉีก ๓. ย่าง ใช้ข้าวเหนียวดำหรือขาวก็ได้ ใส่กะทิ แล้วใส่กระบอกย่างเป็นข้าวหลาม หรือนำมาปั้นเป็นก้อน เสียบด้วยไม้ แล้วชุบไข่ย่างไฟอ่อนๆ เรียกว่า "ข้าวจี่" เป็นอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
๔. เปียกหรือกวน ใช้ข้าวเหนียวทำข้าวเหนียวเปียก ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว มีการทำอาหารชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ข้าวยาคู" ใช้ข้าวเจ้าที่ออกรวงใหม่ๆ เปลือกสีเขียว ลักษณะภายในของเมล็ดข้าว ยังเป็นน้ำนม นำมากวนกับกะทิ น้ำตาลให้มีลักษณะข้นๆ ใช้ในพิธีทำบุญสารทตอนสิ้นเดือน ๑๐ | |
เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารมีทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก ที่นิยมรับประทานกันเป็นอาหารประจำวัน ได้แก่ เนื้อหมู วัว ไก่ ปลา ปู กุ้ง หอย กบ และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในนาหรือหนองใกล้บ้าน สัตว์ปีก เช่น นก นิยมรับประทานกันมาก เพราะหาได้ง่าย สำหรับสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ในสมัยก่อน จะรับประทานเนื้อสัตว์เหล่านี้เฉพาะเมื่อมีงานบุญพิเศษเท่านั้น แต่ปัจจุบัน รับประทานได้ทุกโอกาส เพราะมีขายตามท้องตลาด นอกจากนำมาปรุงเป็นอาหารประจำวันแล้ว ยังมีวิธีเก็บไว้รับประทานนานๆ โดยนำไปตากแห้งเป็นเนื้อเค็ม ปลาเค็ม หรือหมักเป็นปลาร้า ปลาเจ่า หรือแช่เย็น เป็นต้น พืชผัก พืชผักประเภทที่มีผู้นิยมรับประทาน ได้แก่ |
ผักกระเฉด | ๑. พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ที่ข้างบ้าน ริมทาง ในไร่นา ป่าดง เช่น ผักหวาน ผักหนาม ผักเสี้ยน กระถิน ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด และใบบัวบก เป็นต้น ในแต่ละภาคจะมีผักแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน |
๒. พืชปลูก ทั้งที่ปลูกแบบสวนครัว และสวนผักทั่วไป เช่น พริก มะเขือ ผักบุ้ง ข่า และตะไคร้ เป็นต้น ส่วนต่างๆ ของผักที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ | |
ใบยอ | ใบ เช่น ใบยอ ใบชะมวง ใบย่านาง ใบบัวบก ใบสะระแหน่ ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบโหระพา ฯลฯ ราก หัว เหง้า เช่น ขิง ข่า กระชาย รากผักชี หัวผักกาด หัวหอม หัวกระเทียม หัวสาคู เมล็ด เช่น พริกไทย แมงลัก งา ถั่ว ผักชี ฯลฯ ผล เช่น มะกรูด มะนาว มะระ ส้มซ่า มะอึก มะเขือพวง ฯลฯ เปลือก เช่น อบเชย ฯลฯ ดอก เช่น ดอกขจร ดอกแค ดอกโสน ลำต้น เช่น บอน คูน (พืชหัวชนิดหนึ่งคล้ายเผือก ก้านใบ และแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบใช้เป็นผักได้) ฯลฯ |