เล่มที่ 18
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
พระราชพิธีและประเพณีท้องถิ่น

พระราชพิธีที่เกี่ยวกับการทำ มาหากิน


            ประเพณีหลวงมักมีศูนย์กลางในการสร้างสรรค์อยู่ที่ราชสำนัก หรือพระราชวังซึ่งตามความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลกภูมิของพระพุทธศาสนาแล้ว ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาลในส่วนของพื้นโลก ราชธานีก็คือ ศูนย์กลางอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรวรรดิ์ ซึ่งมีการสร้างให้มีรูปในทางสถาปัตยกรรมให้เหมือน "จริง" กับจักรวาล จนกลายเป็นอนุจักรวาลขนาดย่อม มีพระมหากษัตริย์และข้าราชสำนักประทับ และแสดงบทบาทในทางโลก พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนตัวแทนของพระอินทร์บนเขาพระสุเมรุเหตุนี้จึง ทรงมีพระราชภารกิจต่างๆ ที่มุ่งหมายที่จะรักษา และส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินในสมัยอยุธยาพระราชพิธีต่างๆ จะมีทุกเดือนในหนึ่งปี ที่เรียกกันว่า พระ ราชพิธีสิบสองเดือน ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้แผ่นดินมีความสมบูรณ์และเพื่อความเจริญงอกงามของพืช พันธุ์ธัญญาหาร พระราชพิธีต่างๆ มักจะเกี่ยวกับการทำมาหากิน หรือการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ดังปรากฏระเบียบอยู่ในกฎหมายตราสามดวงในหมวด "กฎมนเทียร บาล" ว่า
เครื่องบวงสรวงในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สะท้อนความเชื่ออันเนื่องในศาสนพราหมณ์
เครื่องบวงสรวงในพระราชพิธีจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญ สะท้อนความเชื่ออันเนื่องในศาสนพราหมณ์
            เดือนหกมี พิธี จรดพระราช นังคัล หรือ พระ ราชพิธีแรกนา ซึ่งกระทำติดต่อกันมา จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน นอกจากนี้ถ้าฝนไม่ตก พระเจ้าแผ่นดินยังมีพระราชภาระ ที่จะต้องประกอบพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ หรือขอฝน
เครื่องบวงสรวงในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สะท้อนความเชื่ออันเนื่องในศาสนพราหมณ์
เครื่องบวงสรวงในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สะท้อนความเชื่ออันเนื่องในศาสนพราหมณ์
            เดือนสิบเอ็ดจะมี พิธี อาสยุ ชแข่งเรือ เสี่ยงทายผลิตผลในนาอีกครั้ง โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเรือชื่อ สมรรถไชย ส่วนไกรสรมุข เป็นเรือทรงของสมเด็จพระอัครมเหสี และมีคำทำนายเป็นแบบแผนไว้ในกฎมนเทียรบาลว่า "ถ้า สมรรถ ไชยแพ้ไซ้เข้าเหลือเกลืออิ่ม ศุกขเกษมเปรมประชาถ้าสมรรถไชยชำนะจะมียุค"
การเสี่ยงผ้านุ่งในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
การเสี่ยงผ้านุ่งในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

การเล่นโขน มหรสพที่พัฒนามาจากพิธีกวนเกษียรสมุทรในพระราชพิธีอินทราภิเษก
การเล่นโขน มหรสพที่พัฒนามาจากพิธีกวนเกษียรสมุทรในพระราชพิธีอินทราภิเษก  
            เดือนสิบสองจะมี พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม หรือพิธีที่เกี่ยวกับการลอยโคมพระประทีปลงน้ำ เพื่อแสดงความสำนึกในพระคุณของน้ำ และเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดแก่บ้านเมือง และอาณาจักรด้วย

            ส่วนในเดือนอ้าย หรือเดือนหนึ่งจะมี พิธีกรรม ไล่เรือ หรือการประกอบ พระ ราชพิธีฟันน้ำ เพื่อมิให้น้ำท่วมมากจนเกินไป มิฉะนั้นข้าวจะแก่เน่าเก็บเกี่ยวไม่สะดวก ดังมีบันทึกในคำให้การของขุนหลวงหาวัด ถึงบุญญาภินิหารของสมเด็จพระนารายณ์ว่า "วัน หนึ่ง เสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกชัยในเวลาน้ำขึ้น รับสั่งว่าให้น้ำลดแล้วทรงพระแสงฟันลงไป น้ำก็ลดลงตามพระราชประสงค์" แต่พิธีนี้มิได้ทำทุกปี เพราะถ้าปีไหนน้ำไม่ท่วม ก็ไม่ต้องประกอบพิธีนี้

            พิธีกรรมในเดือนห้า ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่เสร็จการเก็บเกี่ยว และเตรียมที่จะถึงฤดูการผลิตใหม่ถือเป็น วัน สงการนต์หรือวันขึ้นปีใหม่ ที่นับตามคติพราหมณ์จากอินเดีย ที่ราชสำนักในสมัยอยุธยาเปลี่ยนจากวันปีใหม่ดั้งเดิมของชาวบ้าน ที่ถือเอาวันแรกของเดือนอ้ายเป็นสำคัญ พระราชพิธีในราชสำนักของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาจะเริ่มต้นด้วยการรัวกลอง มโหระทึก และจับระบำ ต่อด้วยการเล่นโมงครุ่ม และการละเล่นหน้าพระที่นั่ง รวมทั้งการประโคมดนตรีอีกหลายชนิด ซึ่งล้วนมีความหมาย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ และความปลอดภัยมั่นคงในชีวิต และสังคมส่วนรวม

            นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีอื่นๆ อีกมาก ที่เกี่ยวกับการทำหากิน ความมั่นคง และความอุดมสมบูรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งพระราชพิธีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว คงมีพัฒนาการมาจากประเพณีราษฎร์ ในขณะที่สังคมยังอยู่รวมกันเป็นชนเผ่า ทำการกสิกรรม และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่ถือว่า ธรรมชาติมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและการทำมาหากิน ของตน ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อเซ่น ไหว้ หรือบวงสรวงอำนาจเหนือธรรมชาตินั้นๆ ซึ่งมักเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ผี" หรือ "เจ้า" ยังมิได้เรียกว่า เทพ จนเมื่อมีการรับศาสนาฮินดูเข้ามาผสมผสานในการปกครอง และการประกอบพิธีกรรมของชนชั้นปกครอง หรือราชสำนักแล้ว ประเพณีต่างๆ จึงเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงให้ดูโอ่อ่าน่าเลื่อมใส และมีศักยภาพในการสื่อสารกว้างขวางออกไปในหมู่ชนต่างเผ่าต่างพันธุ์ได้ ประเพณีที่นำคติฮินดูเข้ามาผสม โดยมีพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพิธี ก็เพื่อให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์ ยกฐานะของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายต่างๆ ให้สูงกว่าสามัญชนทั่วไป

            รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้วิเคราะห์ถึงพระราชพิธีสิบสองเดือนว่า แม้จะมีการรับศาสนาฮินดูเข้ามาผสมผสานอยู่ด้วย แต่พระราชพิธีเหล่านี้ ก็มีฐานะเป็นเพียงเรื่องทางไสยศาสตร์ ที่แสดงถึงความพยายาม ที่จะควบคุมพิธีแต่ละเดือนของมนุษย์ ซึ่งมักมีมหรสพ การละเล่นสนุกสนานรวมอยู่ด้วย ทำให้มีลักษณะเป็นปฏิทินที่มีกำหนดเวลาแน่นอน สำหรับกิจกรรมที่เนื่องในการสนุกสนานหย่อนใจของประชาชนในสังคมเกษตรกรรม ด้วย และพระราชพิธีที่มีลัทธิฮินดูปนเปอยู่นี้ ต่อมาก็หมดความสำคัญในเรื่องความเชื่อ แต่ได้พัฒนาเป็นมหรสพการละเล่น เช่น พิธีกวนเกษียรสมุทรในพระราชพิธีอินทราภิเษก ที่เป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับการเสริมฐานะของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพระจักรพรรดิราช ได้กลายมาเป็นการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ และโมงครุ่ม เรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ ก็กลายเป็นการเล่นโขนไปในที่สุด
ประเพณี ท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน

            พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินในหมู่ประชาชนทั่วไป ดูจะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และจะมีอยู่เกือบตลอดปี ที่ทางอีสานเรียกว่า ฮีตสิบสอง แต่ช่วงของความสำคัญจะอยู่ระหว่างหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผล และก่อนจะเริ่มฤดูการผลิตใหม่ เช่น ก่อนชาวนาจะลงมือดำนา จะสร้างนาจำลอง มีขนาดประมาณหนึ่งตารางเมตรขึ้นก่อน แล้วดำกล้าลงในนานั้น ห้าหกกอ นาจำลองนั้นเรียกว่า "ตา แรก" หรือ "ตา แฮก" จากนั้นจะสร้างศาลเล็กๆ สำหรับเป็นที่สิงสถิตของเจ้าแม่โพสพ ซึ่งชาวนาจะเซ่นด้วยหมากพลู ดอกไม้ และธูป เพื่ออัญเชิญแม่โพสพมาสถิตในศาล มีการปักเฉลวไว้ ที่มุมของที่ดินแปลงนี้ ตามความเชื่อว่า จะเป็นเครื่องป้องกันแม่โพสพ และพืชที่ปลูก ให้พ้นจากการทำลายของพวกผีและสัตว์ร้ายต่างๆ ชาวนาเชื่อว่า ถ้าบำรุงข้าวในนาตาแรกนั้น ได้งาม ข้าวในนาทั้งหมดก็จะงามตามไปด้วย พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่า ถ้ามนุษย์สามารถบังคับธรรมชาติได้ ด้วยการจำลองแบบธรรมชาติย่อส่วนลงมาทำด้วยมือมนุษย์เองก่อน ก็จะบันดาล หรือบังคับให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงดังใจปรารถนา พิธีแรกนานี้ทางภาคอีสานเรียกว่า พิธีเลี้ยงผีตาแฮก คือ ก่อนจะทำนา ชาวนาจะปลูกศาลผีตาแฮกไว้กลางนาในที่นาของตน แล้วจะทำพิธีเซ่นสังเวยบวงสรวงด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ ส่วนทางภาคเหนือจะเรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณีแฮกนา โดยจะทำพิธีปลูกปะรำจัดราชวัตรฉัตรธง ซึ่งทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณ ๒ วา ภายในทำร้านไว้สูงเพียงตา วางเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวง ทั้งแม่พระธรณี เจ้าที่ท้าวทั้งสี่ และแม่โพสพ เสี่ยงทายว่า ข้าวกล้านาดีหรือไม่อย่างไร
พิธีถวายกองทรายและการก่อพระเจดีย์ทรายเป็นการนำทรายเข้าวัดในประเพณีสงกรานต์ชาวเชียงใหม่
พิธีถวายกองทรายและการก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นการนำทรายเข้าวัดในประเพณีสงกรานต์ชาวเชียงใหม่
กระทง
กระทง 
            พิธีแรกนานี้ แสดงให้เห็นถึงการต้องการความมั่นใจในการปลูกข้าว ของผู้คนที่ทำสืบมาแต่เป็นชนเผ่า จนเมื่อสังคมมีพัฒนาการขึ้นเป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นแว่นแคว้น มีกษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน พิธีกรรมก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมเมือง ดังกรณีที่พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะต้องทรงทำพิธีกรรมนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ในหนังสือ "พระราชพิธีสิบ สองเดือน" เอาไว้ว่า จรดพระนังคัลเป็นพิธีลงมือไถ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งในความหมายรวมๆ ว่า "แรก นาขวัญ" คำว่า "แรก นา" ก็มีความหมายเดียวกันว่า "นา แรก" หรือ "ตา แรก" การที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือแรกนา และมีพิธีกรรมต่างๆ ที่รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูเข้ามาผสมผสาน ก็โดยมีจุดประสงค์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ แก่ผู้คนในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และหากต่อมา ฝนฟ้ายังไม่ตกทั้งๆ ที่ถึงเวลาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินยังมีพระราชภาระทรงประกอบพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ขอฝน ขณะที่ชาวนาก็จะต้องประกอบพิธีขอฝนเช่นกัน เช่น ทำพิธีแห่นางแมว เพื่อลอกเลียนการกำเนิดพืชพันธุ์ของธรรมชาติ ในกลุ่มชาวอีสานก็จะมีพิธีจุดบั้งไฟ เพื่อบูชาพญาแถน ที่อยู่บนฟ้า ให้บันดาลให้ฝนฟ้าตกมาตามฤดูกาล จะเห็นว่า ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมไปตามระบบการเมือง การปกครอง ประเพณีหลวงหลายอย่างได้ยกเลิกไป แต่ในหมู่ประชาชนยังคงมีการสืบเนื่องปฏิบัติอยู่ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลอยกระทง และประเพณีสงกรานต์ ที่มีแนวโน้มว่าจะหมดความสำคัญเรื่องความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ มาเน้นในเรื่องความสนุกสนานหย่อนใจแทน