เส้นสินเทา (หยักฟันปลา) เหนือปราสาทราชมณเฑียร จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
| การ จัดวางภาพในงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ที่เป็นไป เพื่อความเข้าใจของผู้ดูนั้น ช่างเขียนโบราณของไทยมีวิธีการโดยเฉพาะ คือ เรียงภาพเหตุการณ์ก่อน - หลังตามเนื้อเรื่อง และเพื่อไม่ให้ฉากเหตุการณ์เหล่านั้นสับสนปนกัน ก็คั่นแต่ละฉากแต่ละตอน ด้วยภาพทิวทัศน์ เช่น ต้นไม้ หรือบ้านเรือน ช่างเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังประดิษฐ์กรอบรูปสามเหลี่ยม ที่ขอบหยักคล้ายฟันปลา เรียกตามภาษาช่างว่า "สินเทา" เพื่อแบ่งฉากเหตุการณ์หนึ่งให้แยกออกจากฉากอีกเหตุการณ์หนึ่ง วิธีการนี้ยังได้ผลดีในการเน้นฉากเหตุการณ์ให้เด่นชัด นับเป็นงานออกแบบที่งดงาม และแนบเนียน สอดคล้องกับลักษณะแสดงออก ที่เป็นอุดมคติ ซึ่งแตกต่างจากจิตรกรรมเล่าเรื่องจริง อันเป็นแนวสัจนิยม ที่เข้ามาแพร่หลายเป็นที่นิยม พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตก ภาพเขียนเช่นนี้จะไม่มีลักษณะอุดมคติเข้าปะปน |