เล่มที่ 22
อาชีวอนามัย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
สารหนู (Arsenic)

            สารหนู (อาร์เซนิก) ในสภาพของโลหะ จะมีสีเทา เปราะ อาร์เซนิกไตรคลอไรด์ มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน ส่วนอาร์เซนิกไตรออกไซด์ มีลักษณะเป็นผลึกแข็ง

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสารหนู

            ได้แก่ อาชีพการผลิตสารเคมีกำจัดแมลงและสัตว์แทะ สารกำจัดวัชพืช สิ่งทอ ย้อมผ้า ทำสี เครื่องเคลือบดินเผา ทำแก้ว กระจก ทำยา ยาถนอมรักษาหนังสัตว์ ขนสัตว์ เป็นต้น

เกษตรกรมีโอกาสได้รับพิษสารหนูเข้าสู่ร่างกาย
โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่เหมาะสม


ตัวอย่างสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ทางเข้าสู่ร่างกาย

๑. การหายใจ
๒. การกิน
๓. การสัมผัสทางผิวหนัง

อาการรับพิษจากสารหนู

๑. แบบเฉียบพลัน (จากการกิน)

            ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง อุจจาระอาจมีเลือดปน คนไข้จะอ่อนเพลีย อาจช็อก และตายได้

๒. แบบเรื้อรัง (จากการกินหรือหายใจ)

            จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ระบบทาง เดินอาหารผิดปกติ ตับอาจถูกทำลาย นอกจากนี้ อาจมีอาการทางผิวหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของผิวหนัง ทำให้หนังด้าน อาการนูนบวมแข็ง อาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนังได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับเหงื่อ และทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณนิ้ว

หลักการควบคุมและป้องกัน
๑. ดูดฝุ่นที่ฟุ้งกระจายเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
๒. หมั่นรักษาความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงาน
๓. จัดการระบายอากาศให้เหมาะสม
๔. สวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
๕. รักษาความสะอาดของร่างกายหลังการปฏิบัติงาน
๖. คนที่มีเหงือออกมาก ไม่ควรทำงานเกี่ยวข้องกับสารหนู
๗. ตรวจร่างกายเป็นประจำ ตลอดจนตรวจหาปริมาณของสารหนู
๘. ไม่นำอาหาร เครื่องดื่ม เข้าไปรับประทาน ในสถานที่ทำงาน ตลอดจนงดการสูบบุหรี่ ในที่ทำงาน

ค่ามาตรฐาน

            ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) กำหนดให้

            สารหนู และสารประกอบของสารหนู มีความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติ ไม่เกิน ๐.๕ มิลลิกรัมต่ออากาศ ๑ ลูกบาศก์เมต