โรงงานบดย่อยแร่เหล็ก
การทำเหมืองแร่เหล็กในประเทศไทย
ปัจจุบันในประเทศไทยมีเหมืองแร่เหล็กที่มีประทานบัตรเปิดดำเนินการอยู่จำนวน ๑๒ แปลง ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑ แปลง ชลบุรี ๑ แปลง นครสวรรค์ ๑ แปลง เพชรบูรณ์ ๑ แปลง อุทัยธานี ๑ แปลง และเลย ๗ แปลง โดยทั่วไปของการทำเหมืองแร่เหล็ก มีวิธีการทำเหมือง แบบเหมืองเปิด ซึ่งเหมาะสำหรับแหล่งแร่ที่อยู่ไม่ลึกจากผิวดินมาก เริ่มจากการเปิดหน้าดิน ลงไปเรื่อยๆ จนถึงแหล่งแร่เหล็ก ซึ่งหน้าเหมืองจะต้องใช้พื้นที่มาก ถ้าแหล่งแร่อยู่ในระดับที่ลึก หน้าเหมืองต้องเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อสะดวก และปลอดภัย ในการทำเหมืองและการนำแร่ขึ้นมา การทำเหมืองแร่แบบนี้ต้องใช้เครื่องมือหนัก เช่น รถขุด รถตัก รถขนแร่ขนาดใหญ่ เครื่องเจาะ รวมถึงการระเบิดบริเวณหน้าเหมือง เพื่อเข้าถึงแหล่งแร่ โดยจะต้องทำเป็นขั้นบันได วนลงไปหาแหล่งแร่ที่อยู่ลึกลงไป และเป็นเส้นทางลำเลียงแร่ขึ้นมา เพื่อเข้าสู่กระบวนการแต่งแร่ต่อไป
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต