โรคเกิดจากแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียอี.โคไลมีหลายสายพันธุ์ที่อาจก่อโรคร้ายแรง
ได้แก่ กลุ่มอาการ ท๊อกซิก-ช็อก กลุ่มอาการฮีโมลัยติก-ยูรีมิก โรคลีเจียนแนร์ แอร์ลิชิโอสิสในคน โรคลายม์ อหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่ เมลิออยโดสิส
สำหรับโรคต่อไปนี้ โปรดดูได้ในสารานุกรมไทยฯ เล่ม ๑๐ : โรคกาฬหลังแอ่น ไทฟอยด์ แอนแทรกซ์ และหนองใน
กลุ่มอาการท็อกซิก-ช็อก
โรคนี้เป็นอีกโรคหนึ่งที่เพิ่งค้นพบ เมื่อประมาณ ๒๐ ปีมานี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีชื่อโรคเป็นภาษาไทย จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษแทน ชื่อโรคนี้ประกอบไปด้วยคำสองคำคือ คำว่า "ท็อกซิก" ซึ่งมาจากคำนาม Toxin แปลว่า สารพิษ และ "ช็อก" คือ การที่ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว ความดันต่ำ จนคนไข้หมดสติ ส่วนคำว่า "กลุ่มอาการ" นั้น ทางการแพทย์แปลมาจากคำว่า Syndrome ซึ่งหมายถึง โรคที่มีอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน จึงเรียกว่า "กลุ่มอาการ"
โรคนี้มีรายงานครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ จากสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ป่วย ๕๕ ราย เป็นสตรี ๕๒ ราย อายุโดยเฉลี่ย ๒๔.๘ ปี (ตั้งแต่ ๑๓ - ๕๒ ปี) ในจำนวนนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ๗ ราย
ในจำนวนผู้ป่วย ๔๐ รายนั้น มีประวัติเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน ๓๘ ราย โดยจะเริ่มมีอาการของโรค ภายใน ๕ วัน หลังจากเริ่มมีประจำเดือน อีก ๒ ราย มีอาการ ๑๐ วัน หลังจากมีประจำเดือน ที่น่าสังเกตก็คือ ผู้ป่วยทั้งหมด ใช้ผ้าอนามัยชนิดสอดใส่ในช่องคลอด (เรียกว่า แทมปอน) และร้อยละ ๙๕ ใส่แทมปอน ไว้ตลอดเวลาที่มีประจำเดือน โดยไม่ได้ใช้ชนิดซับภายนอกสลับกันเลย และส่วนใหญ่จะใช้ แทมปอนชนิดดูดซับได้มากเป็นพิเศษ
ระยะฟักตัวประมาณ ๔๘ ชั่วโมง มีอาการที่สำคัญคือ มีไข้สูง ๓๙ องศาเซลเซียส คลื่นไส้อาเจียน มีความดันต่ำ มีผื่นแดงตามตัวและฝ่ามือ และลอกในที่สุด ที่ผนังช่องคลอด ตาและคอจะแดง มีอาการอาเจียน หรือท้องเดิน การทำหน้าที่ของตับผิดปกติ เกร็ดเลือดต่ำ ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว ตรวจได้ว่าหัวใจและปอดผิดปกติ ระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำลงกว่าปกติ การทำงานของไตมักจะล้มเหลว อาจจะมีอาการของระบบประสาทส่วนกลางร่วมด้วย
โรคที่เกิดขึ้นนี้ไปตรงกับโรคที่นายแพทย์ทอดด์ได้รายงานไว้ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ ชื่อแลนเส็ท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ นายแพทย์ ทอดด์ ตั้งชื่อไว้ว่า "กลุ่มอาการท็อกซิก-ช็อก (Toxic-shock syndrome)"
เมื่อเกิดโรคขึ้นเช่นนี้ จึงมีการศึกษา เพื่อค้นหาสาเหตุ ก็สรุปได้ว่า ผ้าอนามัยชนิดสอดใส่และซับได้ดีมากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดการหมักหมมตลอดวัน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดี สำหรับแบคทีเรียชนิด "สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)" ให้เกิดขึ้นในช่องคลอด แล้วปลดปล่อยสารพิษให้แก่ร่างกาย จึงทำให้มีอาการของโรคดังกล่าว ขณะนี้จึงมีแนวทางในการรักษาที่ได้ผลโดยปฏิชีวนะ
โรคนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์
กลุ่มอาการฮีโมลัยติก-ยูรีมิก (Hemolytic uremic syndrome และ hemorrhagic colitis)
อาหารจำพวก "ฟาสต์ ฟูด" หากยังสุกๆ ดิบๆ อาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในลำใส้ใหญ่ของคนเรานั้น มีเชื้อจุลชีพอยู่หลายชนิด เป็นจุลชีพที่อยู่ประจำถิ่น ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยจุลชีพหลายชนิด จะสังเคระห์สารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามินหลายชนิด ก็สังเคราะห์ในลำไส้ จุลชีพบางชนิด ก็สร้างกรด ช่วยทำให้ท้องไม่อืด อาหารย่อยดีขึ้น บางชนิดก็ สร้างแก๊สทำให้มีลมมาก เชื้อจุลชีพที่มีมากกว่า เชื้ออื่นๆ คือ เชื้ออุจจาระ "เอชเชอริเซีย โคไล" Escherichiacoli หรือเรียกสั้นๆ ว่า อี. โคไล (E. coli) เชื้อ อี. โคไล นี้ ตามปกติจะไม่มีพิษ แต่ก็มีหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรคได้ เช่น ถ้าไปอยู่ที่แผล ก็ทำให้เป็นหนอง ซึ่งจะไปทำให้ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ บางสายพันธุ์ก็จะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง โดยเฉพาะในเด็กๆ มีอยู่สาย พันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า อี. โคไล ๐๑๕๗ : H7 เป็นตัวการที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีรายงานการระบาดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ การติดต่อ และการแพร่ระบาดเกิดจากการบริโภคอาหารจานด่วนอย่างชาติตะว้นตก หรือที่เรียกกันว่า "ฟาสต์ ฟูด" นั่นเอง โดยเนื้อบดที่อยู่ในแฮมเบอร์เกอร์ก้อนโตๆ นั้น ยังสุกๆ ดิบๆ เชื้อตัวนี้จึงยังไม่ตาย และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ ระยะฟักตัว ประมาณ ๒๔ -๔๘ ชั่วโมง ถ้าเชื้อสายพันธุ์นี้ไปก่อโรคในเด็ก นอกจากจะทำให้มีลำไส้อักเสบคือ จะมีอาการอุจจาระร่วง และตกเลือดแล้ว ก็ยังทำให้ไตวายได้ด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดคำว่า "กลุ่มอาการฮีโมลัยติก-ยูรีมิก" นั่นเอง
ในปีหนึ่งๆ จะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อสายพันธุ์นี้ ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ ๒๕๐ ราย
อาการของโรค จะเริ่มด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และท้องเดิน ในระยะแรกๆ อุจจาระ จะไม่มีเลือดปน พอผ่านไป ๒ - ๓ วัน อุจจาระจะมีเลือดสดๆ ปนออกมาด้วย ประมาณครึ่งหนึ่ง ของผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนด้วย กลุ่มอาการนี้จะมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้เลยก็ได้ ทำให้แพทย์ที่ทำการรักษาเข้าใจผิดว่า เป็นลำไส้ ใหญ่อักเสบธรรมดาๆ หรืออาจจะวินิจฉัยว่าเป็น โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) ได้ บางครั้งก็ วินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ในรายที่มีเลือดปน อุจจาระนั้น บางครั้งแทบจะไม่มีอุจจาระปนออก มา มีแต่เลือดสดๆ เมื่อได้ทำการเพาะเชื้อจาก อุจจาระจึงจะทำให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง
นอกจากจะมีอาการท้องเดิน และมีเลือดออกแล้ว ก็ยังมีเม็ดเลือดแดงแตกสลายภายในเส้นเลือด และมีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้มีจ้ำห้อเลือด หรือพรวยย้ำ เกิดขึ้นตามตัว ปัสสาวะน้อยลง ซึ่งจะเป็นลักษณะอาการของไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางคือ ซึม ชัก และหมดสติ เป็นอัมพาตครึ่งซึก หรืออัมพฤกษ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักเป็นเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
ทางด้านการรักษานั้น จะต้องวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถวางแผนการรักษาได้ ไตวายก็จะต้องเข้าเครื่องไตเทียม เพื่อฟอกเลือดที่มีสารยูเรีย ซึ่งเป็นของเสียจากโปรตีนในอัตราสูง โดยต้องให้เลือดทดแทน เพราะเม็ดเลือดแดงแตกสลายไปมาก ส่วนการรักษา ประคับประคองด้านอื่นๆ ก็ต้องพิจารณาแก้ไขกันไปเป็นรายๆ อัตราการตายจากโรคนี้จะสูง เพราะการวินิจฉัยค่อนข้างจะยุ่งยาก
โรคลีเจียนแนร์ หรือโรคสหายสงคราม (Legionnaire's diseases)
เป็นเชื้อที่เพิ่งพบใหม่ จากผู้ป่วยในการระบาดครั้งนั้น การแพร่โรคเกิดจาก การที่มีเชื้อแพร่กระจายอยู่ในอากาศแวดล้อม เชื้อพวกนี ้จะเจริญเติบโตได้ดี ในที่อุณหภูมิสูง จึงมักจะพบเชื้อบ่อยๆ ที่ใกล้ๆ หอระบายความร้อน (cooling tower) ของเครื่องปรับอากาศชนิดระบาย ความร้อนด้วยน้ำ (water-cooled type) นอกจากนี้ อาจพบได้ในแหล่งน้ำอื่นๆ เช่น น้ำที่ระบาย ออกจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ระบายน้ำร้อนออก สู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออาจพบในดิน การ ติดต่อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป ระยะ ฟักตัวของโรคจะใช้เวลาประมาณ ๒ -๑๐ วัน ลักษณะอาการของโรค เริ่มด้วยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก ซึ่งเกิดจากการที่ ปอดอักเสบ บางรายมีอาการทางสมอง ซึม ชัก มีมีรายงานโรคครั้งแรก ในการประชุมทหารผ่านศึก ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Legionella pneumophila อาการของทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องเดิน ขณะที่ไอ เชื้อจะออกมาทางเสมหะ แต่ก็ยังไม่มีรายงานการติดโรค โดยตรวจจากผู้ป่วยโดยตรง การวินิจฉัยโรค ทำได้โดยการตรวจร่างกายทางกายภาพ ตรวจภาพรังสีปอด และเพาะเชื้อจากเสมหะ บางรายมีอาการอ่อนคือ มีอาการคล้ายไข้หวัด ชันสูตรได้ว่า ติดเชื้อนี้ โดยปฏิกิริยาน้ำเหลือง ในกรณีเช่นนี้อาจเรียกชื่อว่า "ไข้ ปอนติแอค" (Pontiac Fever) ถ้าผู้ป่วยมีอายุมากมักมีอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นโรคปอดอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะโรคปอดจากการสูบบุหรี คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเป็นโรค ถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง อาการของโรคมักจะมีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อนี้ ไวต่อปฏิชีวนะ จึงสามารถใช้ยาอีรีโธรมัยซิน เตตราซัยคลีน ไรแฟมปิซิน แมคโครลิด ไคโตรม๊อกซาโซล และฟลูโรควิโนโลน ในการ รักษาโรคนี้ได้ ในปัจจุบัน มีรายงานโรคนี้จากทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โรคนี้เป็นตัวอย่างของโรค ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีความเป็นอยู่ของมนุษย์ คือ การใช้เครื่องปรับอากาศ
แอร์ลิชิโอสิสในคน (Human erhlichiosis)
คนที่ถูกเห็บสุนัขกัดจะเกิดโรคแอร์ลิชิโอลิส
โรคนี้พบในคนเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ปกติเป็นโรคของสุนัข ติดต่อมายังคน โดยคนถูกเห็บสุนัขกัด ในสหรัฐอเมริกา เชื้อที่ก่อโรคแบคทีเรีย ได้แก่ Ehrlichia canis โรคนี้ เกิดในคน จะมีระยะฟักตัว ๒ - ๓ สัปดาห์ มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดบวม ขาและอัณฑะบวม เลือดกำเดาไหล ตับอักเสบ ม้ามโต เม็ดเลือด ขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย ตรวจทาง ห้องชันสูตร จะพบเม็ดที่เรียกว่า "inclusion body" เกิดขึ้นในเม็ดเลือดขาว โรคนี้สามารถรักษาได้ โดยโดซิซัยคลีน และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
โรคนี้เกิดจากการท่องเที่ยวสันทนาการ โดย การเดินทางเข้าไปเที่ยวในป่า
โรคลายม์ (Lyme Disease)
เป็นโรคที่พบมากขึ้นในสหรัฐอเมริการ และยุโรป มีรายงานโรคเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ จากตำบลลายม์ รัฐคอนเนกติคัท สหรัฐอเมริกา โดยเกิดในฤดูร้อน และเกิดในเด็กที่มีครอบครัว อาศัยอยู่ตามป่า ระยะฟักตัว ๒ - ๓ สัปดาห์ อาการสำคัญคือ มีไข้ ปวดตามข้อ มีผื่นแดง ตามตัวจนเกือบทั่วตัว รอบผื่นมีขอบชัดเจน ขนาดเล้นผ่าศุนย์กลางตั้งแต่ ๒ - ๓ ซม. มี อาการเจ็บปลายประสาท อาจมีอาการทางสมอง เช่น ชัก หลงลืม และอาจเป็นลมจากการที่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคนี้มีเชื้อก่อโรคเป็น แบคทีเรียชื่อ Borrelia burgdorferi มีเห็บกวาง (deer tick; ixodes dammini, Ioxodes ricinus) เป็น พาหะ โรคนี้รักษาให้หายได้โดยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนิซิลลิน โดซิซัยคลีน เตตราซัยคลีน และ เซฟไตรอะไซน ขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาแล้ว
โรคนี้เกิดจากการบุกรุกป่าเข้าไปอาศัยอยู่ ตามชายป่า
อหิวาตกโรคสายพันธุ์ 0 139 (Vibrio cholerae)
ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ของเชื้ออหิวาตกโรคจากอุจจาระของผู้ป่วย
ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ และอาจมีอาเจียนร่วมด้วย ลักษณะของอุจจาระครั้งแรกๆ จะมีเศษ อาหารปน ต่อไปจะมี mucous membrane ตะกอน แขวนลอย เมื่อทิ้งไว้นานจะจมลงไป สีขุ่น จะ ไม่ขาวเหมือนน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นคาวจัด เป็นกลิ่นเฉพาะ ความรุนแรงของอาการมีหลาย ระดับ กว่า ๙๐% ของผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระ ร่วงไม่รุนแรง แต่ลักษณะอาการแทบจะไม่ต่าง จากโรคอุจจาระร่วงรุนแรง การวินิจฉัยโรคทำได้ โดยการตรวจอุจจาระหรืออาเจียน พบเชื้อ Vibrio cholerae 0 139 ทุกรายต้องมีการตรวจทางห้อง ชันสูตรยืนยัน เพราะถือว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากผลตรวจสอบโรคพบว่ามีผู้ป่วยเพียง ๑ ราย ก็ถือว่าเป็นการระบาด
เชื้ออหิวาต์ V. cholerae O 139 นี้เพิ่งพบ เป็นครั้งแรก ที่เบงกอล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเชื้อที่เปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากเดิม ทำให้มีการระบาดของอหิวาตกโรคขึ้นหลายประเทศ ในเอเชีย
เมลิออยโดสิส (Melioidosis)
โรคเมลิออยโดสิสมีสัตว์จำพวกโค กระบือ เป็นพาหะแพร่โรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia Pseu- domallei ระยะฟักตัวไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง ๒ - ๓ วัน หรือยาวนานเป็นปี เชื้อมีอยู่ในดิน น้ำ สัตว์หลายชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ลิง และสัตว์แทะ โดยเฉพาะสิงโต เป็นแหล่งแพร่โรค โรคนี้ติดต่อโดยการได้รับ เชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และ การหายใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดง อาการที่พบมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้น รุนแรงมาก เช่น มีไข้ ปอดบวม มีการติดเชื้อ ในกระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว มาก อาจมีอาการคล้ายไขไทฟอยด์ หรือวัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ฝีเรื้อรังหรือข้อกระดูกอักเสบ เป็นต้น โรคนี้พบได้บ่อยในประเทศไทยโดย เฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การ ชันสูตรทำได้โดยการเพาะเชื้อจากตัวอย่าง แล้ว ตรวจวินิจฉัย และการตรวจปฏิกิริยาน้ำเหลือง ในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ โดยใช้ยาปฏิชีวนะ โรคนี้เกิดจากมีเนื้ออยู่ใน สิ่งแวดล้อมมาก