การดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสุขภาพ
หมายถึง การดูแลสุขภาพโดยคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ไปติดตามดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน หรือให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ในชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประกอบ ด้วยบุคลากรหลายด้าน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ นักชีวบำบัด เภสัชกร และอาจมีผู้ช่วยฯ ดูแลสุขภาพที่บ้าน และคนทำงานบ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
ประโยชน์หรือผลที่ได้จากการดูแลสุขภาพที่บ้าน
• ลดปริมาณผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องมา รับบริการในสถานบริการได้จำนวนหนึ่ง
• ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางมารับบริการที่ง่ายๆ โดยครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้
• ลดค่าใช้จ่ายของสถานบริการในการ จัดบริการให้แก่ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องมารับการตรวจรักษาเบื้องต้นจากสถานบริการ
• โดยทั่วไปประชาชนไม่ต้องการใช้บริการที่สถานบริการ แต่ถ้ามีเจ้าหน้าที่ หรือทีมสุขภาพยืนยันรับรองความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว ประชาชนจะเลือกอยู่ที่บ้าน มากกว่ามารอรับบริการเพียงเล็กๆ น้อยๆ จาก สถานบริการ
• ประหยัดเวลาของประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
• ผู้ป่วยและญาติดูแลสุขภาพตนเองได้
• เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล
• ผู้ป่วยมีภาวะจิตใจดีขึ้น
• ลดภาระและความวิตกกังวลของครอบครัว
• สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย และญาติกับสถานบริการ
หน่วยงานบริการดูแลสุขภาพที่บ้าน มีดังนี้
• หน่วยงานบริการของรัฐ ที่อาจเป็นโรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน หรือหน่วยงานเฉพาะ
• หน่วยงานบริการของมูลนิธิหรืออาสาสมัคร ซึ่งให้บริการโดยไม่หวังผลกำไร
•หน่วยงานบริการที่ผสมผสานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ไม่หวังผลกำไร
• หน่วยงานเอกชนที่ให้บริการสุขภาพ ที่บ้าน โดยคิดค่าบริการจากผู้รับบริการ หรือบริษัทประกัน
การดูแลสุขภาพโดยทีมสุขภาพ มีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
• ติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ได้แก่
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องดูแล อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
- หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด
- มารดาและเด็กทารกหลังคลอด
- ผู้ป่วยหลังจากแพทย์ให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน
- กลุ่มผู้พิการ
- กลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
• เลือกเยี่ยม หรือเลือกติดตามดูแลให้เหมาะสมในแต่ละครั้งที่ออกเยี่ยมบ้าน ตามความสำคัญ ความเร่งด่วน และความจำเป็นของผู้รับการเยี่ยมแต่ละราย
• ศึกษารายละเอียดของผู้ป่วย หรือกลุ่มที่จะติดตามเยี่ยม ให้ครอบคลุมทั้งหมด แบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
• ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่และทีมสุขภาพ ได้แก่
แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักโภชนาการ โดยมีแนวทางดังนี้
- สร้างสัมพันธภาพและแนะนำทีม สุขภาพที่ร่วมติดตามเยี่ยมบ้านในแต่ละครั้ง
- ตรวจวัดสัญญาณชีพ คือ ชีพจร ความดันโลหิต อุณหภูมิ และอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น น้ำหนักตัว ส่วนสูง
- ประเมินสภาพความเจ็บป่วยและ สภาพแวดล้อมอื่นๆ ของผู้ป่วยและครอบครัว พร้อมทั้งค้นหาปัญหา
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค การใช้ยา การปฏิบัติตน การดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติหรือบุคคลใกล้ชิด
- ในกรณีต้องติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง ทีมสุขภาพจะมีการวางแผน ติดตามเยี่ยมครั้งต่อไป พร้อมทั้งนัดหมาย
ผู้ป่วยหรือกลุ่มที่จะติดตามเยี่ยม ให้ทราบถึงแผนการเยี่ยมในครั้งต่อไป
- หากพบว่าผู้ป่วยหรือกลุ่มที่ได้รับการติดตามเยี่ยม มีปัญหาที่ซับซ้อน หรือจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์
เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพก็จะนัดให้ผู้ป่วยมารับการปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
• ลงบันทึกรายละเอียดการเยี่ยมบ้านทุกครั้ง และวางแผนรายละเอียดการเยี่ยมในครั้งต่อไป
• ยุติการเยี่ยมในกรณีผู้ป่วยเสียชีวิต หรือย้ายออกนอกเขตพื้นที่ ที่ทีมสุขภาพรับผิดชอบ หรือเมื่อผู้ป่วย และครอบครัว สามารถดูแลตนเองได้แล้ว
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน