การก่อสร้างบ้านตึก การก่อสร้างบ้านตึกจะต้องขุดหลุม ตอกเข็ม แล้วจึงทำฐานราก ต่อจากนั้นก็หล่อคอนกรีตเสา คาน พื้น แล้วก่ออิฐ ติดวงกบหน้าต่าง ติดตั้งโครงหลังคา มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง หลังคา เมื่อมุงหลังคาเรียบร้อยแล้วจึงถือปูนผนัง ปูพื้นปาร์เกต์ หรือทำพื้นหินขัด การทาสีใช้สีพลาสติกหรือสีน้ำปูนทา เพื่อ ความสวยงามของอาคาร การสร้างบ้านตึกมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การสร้างฐานราก ฐานรากที่ตั้งอยู่บนดินอ่อน เช่น ดินในกรุงเทพมหานคร หรือดินในจังหวัดข้างเคียง จะต้องมีการตอกเข็ม เพื่อให้เข็มรับน้ำหนักตัวบ้าน เข็มที่ใช้ถ้าเป็นเข็มไม้จะต้องตอกให้หัวเข็มอยู่ ลึก จากระดับผิวดิน ประมาณ ๑.๕๐ เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้หัวเข็ม อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อกันมิให้เข็มผุ ถ้าใช้เข็มคอนกรีต ก็อาจจะตอกเข็มให้หัวเข็มอยู่ต่ำกว่าดิน หรือเสมอระดับดินก็ได้ เมื่อตอกเข็มแล้ว โกยเลนหัวเข็มออกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร แล้วใช้ทรายหยาบอัดแน่นหรืออิฐหัก ลงหนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร แล้วเทคอนกรีตหยาบเพื่อทับหัวเข็ม (ส่วนผสมซีเมนต์ ทราย และหิน ๑ : ๓ : ๕) ลงให้หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร แล้วจึงตั้งตะแกรงเหล็กฐานราก และเหล็กเสาเทคอนกรีต (ส่วน ผสม ๑ : ๒ : ๔) ลงยังฐานราก ให้ได้ความกว้าง ยาว และความ หนาตามที่กำหนดไว้ในแบบ เวลาเทคอนกรีตต้องคอยตักน้ำที่ ซึมเข้ามาในหลุมออกอยู่เสมอ และต้องกระทุ้งคอนกรีตให้แน่น เครื่องกระทุ้งอาจใช้เหล็กเส้น หรือไม้ระแนงก็ได้ เทเสาขึ้นมาจนถึงใต้ท้องคานคอดิน ไม้แบบข้างเสาจะถอดออกได้ ภายหลังจากที่ได้เทคอนกรีตแล้ว นานประมาณ ๔๘ ชั่วโมง เมื่อแกะแบบแล้ว จึงกลบหลุมแต่ละหลุม ด้วยดินที่ขุดกองไว้ข้างเคียง | |
การขุดหลุมฐานรากพร้อมเข็มที่ตอกแล้ว | |
การทำเสา คาน และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก วิศวกรจะเป็นผู้คำนวณหาขนาดเสา คาน และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมทั้งเหล็กเสริมที่ใช้เป็นโครงคอนกรีตด้วย ผู้ก่อสร้างจะต้องผูกเหล็กให้ตรงตามขนาด และมีระยะห่างเท่าที่กำหนดไว้ในแบบ เมื่อผูกเหล็กแล้วจึงทำการปิดแบบ ใช้ดินเหนียว หรือถุงปูนอุดยาแนวกันน้ำปูนรั่ว แล้วจึงเทคอนกรีตส่วนผสมซีเมนต์ : ทราย : หิน ๑ : ๒ : ๔ โดยปริมาตรลงในแบบดังกล่าว คอนกรีตที่ใช้เทนี้ ต้องผสมโดยใช้น้ำให้พอเหมาะ มิให้เปียกหรือแห้งเกินไป คอนกรีตที่เหลว เพราะใช้น้ำมาก จะรับกำลังต้านทานได้น้อย คอนกรีตที่ใช้น้ำน้อยเกินไปก็จะทำให้เทลงในแบบได้ยาก และถ้ากระทุ้งไม่ดีพอ เมื่อแกะแบบแล้ว จะขรุขระ ไม่เรียบร้อย บางทีเห็นเหล็กเสริมโผล่ออกมา มิได้จมอยู่ในคอนกรีตตามต้องการ ทำให้เสียความแข็งแรงไป และเหล็กเสริมอาจเกิดสนิมได้ด้วย | |
งานขุดดินทำฐานราก | |
ไม้ที่ใช้หนุนใต้ท้องคานหรือพื้นคอนกรีต ต้องทิ้งให้หนุน คานพื้นไว้อย่างน้อย ๔ สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อคอนกรีตจะได้มีกำลังสูง สามารถรับแรงภายนอกได้ คอนกรีตที่แข็งตัวใหม่ต้อง ระวังอย่าให้ถูกแดดกล้า มิฉะนั้น คอนกรีตอาจจะแตกร้าว เพราะการขยายตัวต้องราดน้ำวันละหลายๆครั้งด้วย หรือจะ ใช้กระสอบชุบน้ำให้ชุ่มคลุมไว้ การบ่มคอนกรีตดังกล่าว ควรจะกระทำอย่างน้อย ๗ วัน นับแต่คอนกรีตเริ่มแข็งตัว การก่ออิฐและการถือปูน ปูนก่อ ใช้เป็นเครื่องยึดแผ่นอิฐแต่ละแผ่นให้ติดกัน ส่วนผสมของปูนก่อนั้น เขาใช้ปูนซีเมนต์ : ปูนขาว : ทราย ใน อัตราส่วน ๑:๑:๔ โดยปริมาตรผสมกับน้ำ สำหรับปูนฉาบ หรือปูนถือนั้น ก็ใช้ส่วนผสมอย่างเดียวกัน ก่อนก่ออิฐต้องนำอิฐไปจุ่มน้ำ หรือราดน้ำให้เปียกชุ่มเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้อิฐแย่งน้ำจากส่วนผสมของปูนก่อ ปกติเขามักจะหมักทรายกับปูนขาวไว้ค้างคืน เมื่อถึงเวลาจะก่ออิฐ หรือถือปูนจึงผสมปูนซีเมนต์ลงไป เมื่อผสมปูนซีเมนต์กับน้ำ แล้วจะต้องใช้ให้หมดภายใน ๑ ชั่วโมง ถ้าช้ากว่านี้ ปูนซีเมนต์จะเริ่มแข็งตัว ซึ่งจะนำไปใช้อีกไม่ได้ | |
การเทคอนกรีตฐานราก | อิฐที่ใช้ก่อสร้างทำจากดินเหนียวผสมทรายประมาณร้อยละ ๑๐ ปั้นให้เป็นรูปร่าง โดยใช้คนปั้นหรือใช้เครื่องจักร อิฐที่ปั้น เป็นรูปแล้ว ต้องผึ่งไว้ในที่ร่ม หรือให้ถูกลมอุ่นพัดผ่าน ประมาณ ๒ - ๓ วัน เพื่อกันมิให้อิฐบิดตัว หรือแตกร้าว เมื่อนำไปเผา อิฐที่แห้งแล้ว จะถูกลำเลียงเข้าไปในเตาเผาอิฐ การเผาอิฐจะต้องเพิ่มความร้อนในเตาทีละน้อยๆ จนอุณหภูมิในเตาเผาสูงประมาณ ๘๐๐-๙๐๐ องศาเซลเซียส เมื่อเผาด้วยอุณหภูมิสูงนานประมาณ ครึ่งวัน อิฐก็จะสุก อิฐที่เย็นแล้ว อาจนำมาใช้งานได้ทันที |
การทำประตูหน้าต่างและวงกบ บานประตูมักทำด้วยไม้สัก ไม้อัด หรือกระจกชนิดหนา ส่วนบานหน้าต่างมักใช้ไม้สัก ไม้เนื้อแข็งหรือกระจก วงกบ ประตูหน้าต่าง มักใช้ไม้สัก ไม้แดง ไม้ตะเคียนทอง หรือไม้เนื้อ แข็งชนิดอื่น ความหนาของประตูหน้าต่างที่ทำด้วยไม้ควร หนาไม่ต่ำกว่า ๑ ๑/๔ สุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำมักประกอบด้วยอ่างล้างหน้า อ่าง อาบน้ำ หรือที่อาบน้ำฝักบัว และที่นั่งถ่ายชนิดชักโครก นอกจากนั้น ยังมีกระจกเงาติดตั้งเหนืออ่างล้างหน้า ราวสำหรับแขวน ผ้า ที่วางสบู่ และที่ใส่กระดาษชำระ พื้นห้องน้ำเป็นคอนกรีต เสริมเหล็กปูด้วยหินขัด หรือมิฉะนั้นก็ใช้กระเบื้องโมเสกชนิดเล็ก ผนังของห้องมักนิยมปูด้วยกระเบื้องเคลือบ ขนาด ๑๐ เซนติเมตร x ๑๐ เซนติเมตร หรือ ๑๕ เซนติเมตร x ๑๕ เซนติ- เมตร และปูสูงจากพื้นระยะ ๑.๕๐ เมตร น้ำชักโครกจะพาสิ่งสกปรกไหลไปยังบ่อเกรอะ และมีท่อต่อจากบ่อเกรอะไปยังบ่อซึม น้ำอาบ น้ำล้างหน้า จะไหลไปยังท่อน้ำทิ้ง ซึ่งจะต่อเข้ากับท่อระบายน้ำ ซึ่งระบายน้ำฝนต่อออกไปยังท่อระบายน้ำของถนนหน้าบ้าน | |
พื่อความสะดวก ห้องน้ำชั้นบนมักจะถูกจัดไว้ให้ติดกับ ห้องนอน โดยมีประตูปิดระหว่างห้องทั้งสอง บ้าน ๒ ชั้นมักมี ห้องน้ำอยู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ห้องน้ำต้องมีช่องแสงสว่าง และ ช่องระบายอากาศให้อากาศถ่ายเทได้ | ห้องน้ำแบบต่างๆ ของอาคารบ้านเรือน |
บ้านตามชนบท นิยมทำห้องน้ำและห้องส้วมแบบประหยัด เสียค่าใช้จ่ายน้อย ห้องน้ำและห้องส้วมบางบ้านก็จัดไว้เป็นห้องเดียวกัน โดยมีผนังกั้นแยกส่วน บางบ้านจัดแยกไว้คนละห้อง พื้นห้องน้ำและห้องส้วมจะต้องทำให้สูงกว่าระดับดินบริเวณบ้าน ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำที่ใช้แล้ว ไหลไปยังบ่อพักหรือบ่อเกรอะได้รวดเร็ว ไม่ค้างขังอยู่ในท่อ |
ห้องน้ำแบบต่างๆ ของอาคารบ้านเรือน | เราทำพื้นห้องน้ำโดยใช้อิฐหักลงหนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร แล้วกระทุ้งให้แน่น ต่อจากนั้นก็ผสมคอนกรีตส่วนผสม ๑ : ๒ : ๔ เททับลงบนอิฐหัก ให้ความหนาของพื้น อยู่ระหว่าง ๘ - ๑๐ เซนติเมตร ในการเทคอนกรีตบางครั้งก็นิยมผูกเหล็ก เป็นตะแกรง โดยใช้เหล็กขนาดศูนย์กลาง ๖ มิลลิเมตร ผูก ระยะห่าง ๑๕ - ๒๕ เซนติเมตร ทั้งสองข้าง วางตะแกรงเหล็กให้ต่ำจากผิวบนของคอนกรีตประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร เหล็กเสริมที่ใส่นี้จะช่วยป้องกันมิให้พื้นคอนกรีตแตกร้าว เนื่องจากการขยายตัว และหดตัว ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ บางบ้านอาจทำพื้นห้องน้ำ โดยใช้ปูนทราย ส่วนผสม ๑:๓ เทหนาประมาณ ๕-๘ เซนติเมตร ก็ใช้ได้ ผนังห้องน้ำ มักจะใช้ฝาไม้ตีติดกับเคร่าฝา จะใช้ผนังกระเบื้องกระดาษก็ได้ ภายในห้องจะต้องมีก๊อกน้ำอยู่อย่างน้อย ๑ ก๊อก และบางครั้งก็ติดตั้งฝักบัวอีก ๑ ฝัก สำหรับใช้อาบน้ำ ส่วนก๊อกน้ำนั้น ใช้ประโยชน์ในการนำไปใช้ในการซักฟอกเสื้อผ้า หลังคาห้องน้ำมุงด้วยสังกะสีหรือกระเบื้องลอน |
สำหรับห้องส้วมแบบประหยัดนั้น เขาจะขุดดินลงไปลึก ประมาณ ๑.๐๐ - ๑.๕๐ เมตร ให้มีความกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ซึ่งโตพอฝังถังส้วมชนิดสี่เหลี่ยมหรือชนิดกลมได้ ตั้งแต่ ๓ - ๕ ถัง เรียงต่อกันจากก้นหลุมขึ้นมาบ่อที่กล่าวนี้ เรียกว่า บ่อเกรอะ หลังจากขุดบ่อเกรอะแล้ว ช่างจะขุดบ่อซึม ขึ้นมาอีกบ่อหนึ่ง โดยอยู่ใกล้กับบ่อเกรอะและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ช่างปูนจะก่ออิฐโปร่งขึ้นภายในบ่อซึม สำหรับให้น้ำที่ต่อมาจาก บ่อเกรอะมาถึงบ่อนี้ได้มีโอกาสซึมไปใต้ดินได้โดยทั่ว ท่อที่เชื่อมระหว่างบ่อเกรอะกับบ่อซึมนี้ อาจใช้ท่อเหล็กหรือท่อกระเบื้อง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางควรโตประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ฝังให้ ลึกจากดินประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร สำหรับบ่อซึมนั้น จะต้องทำฝาปิด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เศษดินทรายตกลงไปในบ่อได้ บ่อเกรอะนั้นก็จะเป็นส่วนที่อยู่ภายในห้องส้วม มีที่นั่งถ่ายตั้งอยู่บนฝาบ่อ ซึ่งเจาะรูโตไว้ พื้นห้องส้วมก็สูงจากพื้นดิน ประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร ส่วนที่นั่งถ่ายจะสูงจากพื้น ห้องขึ้นไปประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้การรดน้ำสิ่งปฏิกูล ในที่นั่งถ่ายเป็นไปโดยสะดวก ควรจะมีการติดตั้งท่ออากาศ โดยใช้ท่อน้ำประปาโตประมาณ ๓/๔ น้ำที่ใช้ซักฟอกเสื้อผ้า ชำระร่างกาย ล้างถ้วยล้างชาม รวมทั้งน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณบ้าน จะต้องได้รับการระบายให้ออกไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ ซึ่งอยู่ ๒ ข้างของถนนที่ตัด ผ่านหน้าบ้านของเรา เรามักสร้างบ่อพักน้ำเสียขึ้นชิดรั้วบ้านทางด้านติดถนน แล้ววางท่อระบายน้ำไว้โดยรอบบริเวณบ้าน โดย ใช้ท่อโตประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร วางให้มีความลาดชัน ประมาณ ๑ : ๒๐๐ - ๑ : ๕๐๐ และมีบ่อพักขนาดเล็กรับน้ำเป็น ช่วงๆ ช่วงหนึ่งไม่ควรยาวเกิน ๖ เมตร บ่อพักรับน้ำนี้เป็นบ่อ คอนกรีตหรือบ่อก่ออิฐโบกปูนก็ได้ ขนาดของบ่อมีขนาดวกว้าง ยาว ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร x ๔๐ เซนติเมตร ก้นบ่อลึก ประมาณ ๕๐ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปร่าง คล้ายหีบ โดยมีฝาปิดบ่อพักเป็นรูปตะแกรงเหล็กรับน้ำ ผิวบนของฝาตะแกรงเหล็กอยู่ต่ำกว่าระดับดิน ๒-๕ เซนติเมตร เมื่อท่อระบายน้ำตัน เพราะมีดินทรายเข้ามาอุด เขาก็จะเปิดฝาบ่อพัก เพื่อโกยดินทรายในบ่อพักออก แล้วใช้ลวดหรือเหล็กเส้นขนาดเล็ก ปลายข้างหนึ่งผูกเศษผ้าหรือเศษกระสอบป่านแยงไล่ดินทรายที่เข้ามาอุดในท่อ อันเป็นเหตุให้น้ำระบายไหลไม่สะดวก เมื่อดินทรายหลุดออกไปหมดแล้ว น้ำเสียในท่อ ก็จะไหลได้สะดวก น้ำใช้ทั้งหลายจะไหลมาทางท่อน้ำทิ้ง ลงไปยังบ่อพักบ่อใดบ่อหนึ่งของท่อระบายน้ำ ที่วางไว้รอบบ้าน ฝนที่ตกลงยังบริเวณบ้านก็จะไหลไปลงบ่อพักเช่นเดียวกัน แล้วจะไหลมารวมกันยังบ่อพัก ซึ่งอยู่ชิดรั้วด้านถนน จากนี้จึงต่อท่อระบายน้ำจากบ่อพักอันนี้ ไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ | |
รางรับน้ำฝนและระบบการระบายน้ำเสีย | |
ในกรณีที่ไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะฝังหน้าบ้าน เราก็ อาจจะต่อท่อน้ำทิ้งดังกล่าวให้ลงไปยังคู คลอง ที่พอจะระบายน้ำทิ้งได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย |