เล่มที่ 9
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

            ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมารดาและทารกในท้อง ถ้าได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

๑. การคลื่นไส้อาเจียนอย่างมากระหว่างตั้งครรภ์

             อาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ จะพบได้ ๑ ใน ๓ ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด มักจะเกิดระหว่างอายุครรภ์ ๖-๑๒ สัปดาห์ และจะหายไปเองภายหลังอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ แต่บางรายอาจเป็นนานกว่านั้นก็ได้

            ถ้าอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นมาก และเป็น ตลอดทั้งวัน จนกระทั่งร่างกายได้รับอาหารและน้ำไม่เพียงพอ ทำให้มีผลร้ายอื่นๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับการช่วยเหลือและดูแลไม่ทัน

            การป้องกันภาวะการแทรกซ้อนชนิดนี้ ควรกระทำโดยรีบปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างถูกวิธี รวมทั้งป้องกันอาการแทรกซ้อนอันตรายอื่นๆ ที่จะตามมา
การแท้ง
การแท้ง
๒. การแท้ง

การแท้งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ พบประมาณร้อยละ ๑๐-๑๕ ของการตั้งครรภ์


            ส่วนใหญ่อาการเมื่อเริ่มจะแท้งจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ในระยะแรกมักจะออกไม่มาก ต่อมาจะปวดท้องเป็นพักๆ คล้ายปวดประจำเดือน แต่มากกว่าอันตรายสำคัญของการแท้ง คือ การตกเลือด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในรายที่ไปทำแท้งโดยผิดกฎหมายอาจพบอาการแทรกซ้อนได้มาก เนื่องจากมีการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง เลือดเป็นพิษ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ มดลูกทะลุ เนื้อเน่าตาย และบาดทะยัก เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งสิ้น บางรายอาจทำให้ท่อนำไข่ตันทั้งสองข้าง อันเป็นสาเหตุของการเป็นหมันในภายหลัง
๓. การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

             การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ ภาวะที่รกเปลี่ยนเป็นเม็ดใสๆ คล้ายเม็ดสาคู หรือไข่ปลาอุก รวมกันเป็นพวงคล้ายพวงองุ่นอยู่ภายในโพรงมดลูก ทำให้มดลูกมีขนาดโตอย่างรวดเร็ว ไม่ได้สัดส่วนกับระยะที่ขาดประจำเดือน มักมีอาการแพ้ท้องมากกว่าธรรมดา และอาจมีอาการของพิษแห่งครรภ์ร่วมด้วย เช่น บวม ความดันเลือดสูง และมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการที่สำคัญ ได้แก่ เลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรืออาจออกครั้งละมากๆ พร้อมกับมีเม็ดคล้ายเม็ดสาคูออกมาด้วย
ครรภ์ไข่ปลาอุก
ครรภ์ไข่ปลาอุก
            โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่ครรภ์ผิดปกติชนิดนี้จะต้องแท้งออกมาเสมอ อันตรายที่สำคัญ คือ การตกเลือดขณะแท้ง ดังนั้น ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

            อันตรายที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง คือ ครรภ์ไข่ปลาอุกอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องไปรับการตรวจ เพื่อติดตามผลการรักษา และดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ในบางรายที่มีบุตรเพียงพอแล้ว แพทย์อาจพิจารณาตัดมดลูกออก ในกรณีที่ไม่ได้ตัดมดลูกออก ผู้ป่วยไม่ควรตั้งครรภ์อีกในระยะหลังแท้งอย่างน้อย ๑ ปี

๔. การตั้งครรภ์นอกมดลูก

            การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ผสมแล้วฝังตัวและเจริญเติบโตภายนอกโพรงมดลูก พบได้ประมาณร้อยละ ๐.๕-๑ ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่เกิดที่ท่อนำไข่

            สาเหตุเกิดจากเหตุต่างๆ ที่ทำให้ไข่ผสมแล้วเดินทางเข้าไปถึงโพรงมดลูกไม่ได้ หรือไปช้ากว่าธรรมดาจึงต้องฝังตัวก่อน เช่น การตีบของท่อนำไข่

            การตั้งครรภ์นอกมดลูกมักจะดำเนินไปไม่ตลอด ถึงครบกำหนด ส่วนมากจะพบว่า มีการแท้งหลุดออกมา หรือการแตกของท่อนำไข่เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกใน ช่องท้อง ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

            อาการสำคัญนำมาพบแพทย์ คือ ปวดท้องน้อย ในระยะแรกอาจปวดข้างใดข้างหนึ่ง แต่ต่อมามักปวดทั้งสองข้าง มักมีประวัติขาดประจำเดือน อาจมีเลือด ออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย

            ถ้ามีเลือดออกในช่องท้องเนื่องจากการแท้งหรือ ท่อนำไข่แตก จะมีอาการเป็นลม ซีด เหงื่อแตก ใจสั่น และหมดสติในที่สุด

การรักษา คือ การผ่าตัด
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
๕. ภาวะพิษแห่งครรภ์

            ภาวะพิษแห่งครรภ์เป็นกลุ่มอาการผิดปกติประกอบด้วยอาการบวม ความดันเลือดสูง และมีไข่ขาวในปัสสาวะ มักเกิดในระยะท้ายของการตั้งครรภ์พบในครรภ์แรกมากกว่าในครรภ์หลัง
            ภาวะนี้เป็นสาเหตุของการตายของแม่และทารก ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์ชักหลอดเลือดในสมองแตก และหัวใจวายได้
บวมหรือน้ำหนักเพิ่มมาก
บวมหรือน้ำหนักเพิ่มมาก
            สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด เป็นภาวะที่ ไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าได้ฝากครรภ์ และได้รับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถตรวจพบและให้การรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถลดอันตรายลงได้อย่างมาก ทั้งแก่แม่และทารกในท้อง
            ในบางรายการรักษาไม่ได้และผลมีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์อาจพิจารณาช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดต่อแม่ได้

๖. รกเกาะต่ำ

            รกเกาะต่ำหมายถึงการที่รกบางส่วนหรือทั้งหมด เกาะที่ตอนล่างของมดลูก ซึ่งในครรภ์ปกติแล้ว รกจะเกาะที่ผนังตอนบนของมดลูก ความผิดปกติชนิดนี้พบบ่อยขึ้นในหญิงมีครรภ์ที่มีอายุมากและมีลูกแล้วหลายคน
            หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้ มักจะมาพบแพทย์ เนื่องจาก มีเลือดออกในช่องคลอดในระยะหลังๆ ของครรภ์ โดยไม่มีสาเหตุ และไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย เลือดที่ออกอาจไม่มาก แต่ออกบ่อยๆ หรืออาจออกมากจนหมดสติเลยก็ได้รกเกาะต่ำ
รกเกาะต่ำ
            การรักษา ถ้าทารกในท้องยังเล็กมากและเลือดออกไม่มาก แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองไปก่อน จนกว่าทารกในท้องจะโตพอเลี้ยงรอด แต่ถ้าเลือดออกมากก็จำเป็นต้องเอาทารกในท้องและรกออกให้เร็ว ที่สุด เพื่อให้เลือดหยุด การคลอดจะเป็นไปโดยวิธีใดนั้น ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายๆไป แต่ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการผ่าท้องคลอด

๗. รกลอกตัวก่อนกำหนด

            ในภาวะปกติ รกจะลอกตัวจากผนังมดลูกหลัง จากทารกคลอดออกมาแล้ว แต่ถ้ารกลอกตัวก่อนทารกคลอดออกมา โดยอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ หรือขณะเจ็บท้องจะคลอดก็ได้ จะทำให้มีเลือดออกในโพรงมดลูก ทารกในท้องขาดออกซิเจนไปเลี้ยง อาจ เสียชีวิตได้
            ภาวะนี้มักพบร่วมกับผู้ที่มีภาวะพิษแห่งครรภ์ซึ่งจะมีโอกาสพบได้มากกว่าปกติ ๓ เท่า นอกจากนี้อาจเกิดในรายที่ถูกกระทบกระแทกบริเวณหน้าท้องอย่างรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้ มักเกิดในระยะท้ายของการตั้งครรภ์รกลอกตัวก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
            อาการขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของการ ลอกตัวของรก อาการที่สำคัญ คือ เลือดออกทางช่อง คลอด และปวดท้อง ซึ่งอาจจะปวดเพียงเล็กน้อยหรือปวดมากจนหมดสติไป หน้าท้องจะแข็งตึง และกดเจ็บ มดลูกมักโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเลือดขังอยู่ภายใน ทารกอาจตายในท้องได้ถ้าได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน

            การรักษา จำเป็นต้องเร่งให้การคลอดทารกและ รกนั้นสิ้นสุดโดยเร็ว เพื่อป้องกันอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ซึ่งอาจเกิดตามมา

๘. ครรภ์แฝด

            ครรภ์แฝดหมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า ๑ คนขึ้นไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อแม่และทารก เช่น โลหิตจาง ภาวะพิษแห่งครรภ์ คลอดก่อนกำหนด และคลอดผิดปกติ ครรภ์แฝดอาจเกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวหรือหลายใบก็ได้
ครรภ์แฝด
ครรภ์แฝด
แฝดคู่อาจเกิดจากการผสมของไข่ ๒ ใบ หรือ ใบเดียวก็ได้

            แฝดคู่ที่เกิดจากไข่ ๒ ใบ มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ถ้าทั้งพ่อและแม่มีประวัติทางกรรมพันธุ์ว่ามีครรภ์แฝด จะมีอัตราการเกิดครรภ์แฝดสูงขึ้น สองในสามของคู่แฝดที่คลอดจะเป็นเพศเดียวกัน
            แพทย์สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์แฝดได้จากการตรวจครรภ์ โดยคลำส่วนต่างๆ ของทารกในท้อง เช่น ศีรษะ ก้น แขนขา ได้มากกว่าปกติ และฟังเสียงหัวใจทารกในท้องได้ชัดเจนมากกว่า ๑ ตำแหน่ง โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจแตกต่างกันมากกว่า ๑๐ ครั้ง ต่อนาที ในกรณีที่ตรวจแล้วไม่แน่ใจ อาจอาศัยการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสี หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ผู้ที่ตั้งครรภ์แฝด ควรพักผ่อนให้มากในระยะ ๒ เดือนสุดท้ายของครรภ์ เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

๙. ครรภ์แฝดน้ำ

            ในการตั้งครรภ์ปกติจะพบว่ามีน้ำหล่อทารกในครรภ์ หรือน้ำคร่ำประมาณ ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้ามีจำนวนน้ำคร่ำมากกว่า ๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป ถือว่าเป็น ครรภ์แฝดน้ำ ซึ่งมักพบร่วมกับความผิดปกติบางอย่างของทารกในท้อง เช่น ความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาท หรือการตีบตันของระบบทางเดินอาหารของทารก ครรภ์แฝด การติดเชื้อซิฟิลิส (syphilis) ภาวะพิษแห่งครรภ์ และมารดาเป็นเบาหวาน เป็นต้น
ครรภ์แฝดน้ำ
ครรภ์แฝดน้ำ
            อาการของครรภ์แฝดน้ำ คือ แม่ท้องโตเร็วผิดธรรมดา ไม่ได้สัดส่วนกับระยะเวลาที่ขาดประจำเดือน มักเป็นในระยะ ๗ เดือนขึ้นไป อาจเป็นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้
            การรักษาขึ้นอยู่กับอาการของแม่ บางครั้งถ้า แน่นท้องมากจนหายใจลำบาก อาจต้องเจาะน้ำคร่ำ ออกเป็นครั้งคราว

๑๐. ครรภ์เกินกำหนด


            โดยทั่วไป หมายถึง การตั้งครรภ์เกิน ๔๒ สัปดาห์ (ต้องจำวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้แม่นยำ และประจำเดือนต้องมาสม่ำเสมอด้วย)

            สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน ภาวะนี้มีผลเสีย คือ รกทำงานเลวลง ปริมาณน้ำคร่ำลดลง ทารกจะผอมผิวหนังเหี่ยวย่น มีเล็บยาว กะโหลกศีรษะแข็งขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลให้คลอดยากและทารกมีภาวะขาดออกซิเจนได้ง่า